ความหลากหลายทางชีวภาพบริเวณบ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.ชพ.60-001
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ความหลากหลายทางชีวภาพบริเวณบ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
บทคัดย่อ :

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความหลากหลายด้านพันธุ์พืชและสัตว์ป่าของแหล่งท่องเที่ยวบ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู และเสนอแนวทางในการเฝ้าระวังผลกระทบแหล่งท่องเที่ยวบ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ภายใต้กรอบแนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจการพบเห็นของสัตว์ป่า และแบบสำรวจพันธุ์พืช ผลการศึกษา พันธุ์ไม้ที่สำรวจพบบอกถึงสภาพป่าในบริเวณบ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู ได้ถึง 2 ชนิดป่าด้วยกัน คือ ป่าดิบชื้นและป่าพรุ มีจำนวน 51 วงศ์ 116 ชนิด ไม้ยืนต้น 56 ชนิด ไม้พุ่ม 19 ชนิดไม้เถาว์ 23 ชนิด ไม้ล้มลุก 8 ชนิด ปาล์ม 7 ชนิด และเฟิร์น 3 ชนิด โดยป่าดิบชื้นมีพันธุ์ไม้เด่นที่พบ เช่น ตะเคียนทอง เหรียง ดำดง เป็นต้น ขณะที่ป่าพรุมีพันธุ์ไม้เด่นที่พบ เช่น เตย ระกำ ตีนนก หว้าหิน เต่าร้าง เป็นต้น ด้านสัตว์ป่า พบว่า มีค้างคาว ลิง กระรอกและนกอาศัยอยู่มีจำนวน 22 วงศ์ 39 ชนิด เป็นนกประจำถิ่นทั้งหมด แบ่งเป็นนกที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่พัฒนาแล้ว ช34 ชนิด อาศัยอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรม 36 ชนิด และอาศัยอยู่พื้นที่ป่าธรรมชาติ 33 ชนิด โดยเป็นนกที่พบบ่อยมาก 7 ชนิด พบได้บ่อย 13 ชนิด พบได้ปานกลาง 12 ชนิด และพบได้น้อย 7 ชนิด ดังนั้น บ่อนำ้ร้อนถ้ำเขาพลูควรศึกษาผลกระทบด้านทรัพยากร ก่อนการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อนันทนาการและการท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยเฉพาะแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และพันธุ์พืช

คำสำคัญ : ความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ป่า พันธุ์พืช บ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Biodiversity at Tham Khao Phlu Hot Spring, Lamae District, Chumphon Province
Abstract :

The research aims to investigate the flora and fauna diversity of Khao Plu Cave Hot Spring and to propose guidelines for the impact surveillance of Khao Plu Cave Hot Spring, Lamae district, Chumphon province, under the concept of sustainable tourism. Wildlife sighting surveys and plant species surveys were used to collect darra. According to the findings, plant species found at Khao Plu Cave Hot Spring indicate two types of forest: evergreen and swamp. There were 51 families, 116 species, 56 species of woody plants, 19 species of shrubs, 23 species of vines, 8 species of herbaceous plants, 7 types of palms and 3 types of ferns. There were several notable plants in the evergreen forest, including Hopea odorata Roxb., Parkia timariana Merr., Diospyros pubicalyx Bakh. Besides, there were also many prominent plants in the swamp forest, such as Pandanus kaida Kurz., Salacca wallichiana C.Msrt., Vitex pinnata Linn., Eugenia claviflora Roxb., and Caryota bacsonensis Magalon. There were 22 bat families and 39 species of bats, monkeys, squirrels, and birds, all of which were endemic. There were 34 bird species in urban areas, 36 in agricultural areas, and 33 in natural forests. However, out of 39 species, 7 were found the most frequently, 13 were found frequently, 12 were found moderately, and 7 were found rarely. As a result, before developing recreational and tourism facilities in the area, Khao Plu Cave Hot Springs should investigate the potential impacts on resources, particularly wildlife and plant species habitats.

Keyword : biodiversity, wildlife, plants, Tham Khao Phlu Hot Spring
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงคุณภาพ
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยพื้นฐาน
สาขางานวิจัย : สาขาสังคมวิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : กิจกรรมด้านการวิจัย
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ผู้วิจัยหลัก
(2560)
50 นักวิจัยรุ่นเก่า
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ ณ ทองแก้ว
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ผู้วิจัยร่วม
50 นักวิจัยรุ่นเก่า
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2560
1/10/2559 ถึง 30/9/2560
ประเภทแหล่งทุน : ทุนส่วนตัว ส่วนตัวของผู้วิจัย
ทุนส่วนตัว
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
20 กรกฎาคม 2565
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ฉบับที่ :
หน้า : 55-64
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.2
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023