ผลของน้ำหมักชีวภาพที่มีส่วนประกอบของน้ำมันปลาทะเลต่อการเจริญเติบโตของผักเรดโอ๊คในระบบไฮโดรโปนิกส์

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : ชพ.60-นศ.-001
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 กุมภาพันธ์ 2561 ถึง 30 มิถุนายน 2561
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ผลของน้ำหมักชีวภาพที่มีส่วนประกอบของน้ำมันปลาทะเลต่อการเจริญเติบโตของผักเรดโอ๊คในระบบไฮโดรโปนิกส์
บทคัดย่อ :

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของน้ำหมักชีวภาพที่มีส่วนประกอบของน้ำมันปลาทะเลที่มีต่อการเติบโตของผักกาดเรดโอ๊คในระบบไฮโดรโปนิกส์ วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 4 สิ่งทดลองๆ 10 ซ้ำๆละ 1 ต้น ดังนี้ สิ่งทดลองที่ 1 สารละลายธาตุอาหารสูตรมาตรฐาน AB ปลูกเลี้ยง 30 วัน สิ่งทดลองที่ 2 สารละลายธาตุอาหารสูตรมาตรฐาน ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพสูตร MJU-ชุมพร1 ปลูกเลี้ยง 30 วัน สิ่งทดลองที่ 3 การใช้น้ำหมักชีวภาพฯ ปลูกเลี้ยง 30 วัน และสิ่งทดลองที่ 4 การใช้สารละลายธาตุอาหารสูตรมาตรฐาน ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพฯ ปลูกเลี้ยง 45 วัน พบว่า การใช้สารละลายธาตุอาหารมาตรฐาน ที่เลี้ยงนาน 30 วัน และการใช้น้ำหมักชีวภาพฯ สูตร MJU-ชุมพร1 ที่ปลูกเลี้ยงนาน 45 วัน ทำให้มีจำนวนใบมากที่สุด เท่ากับ 10.9 และ 10.8 ใบ ตามลำดับ ซึ่งทั้งสองสิ่งทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% แต่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับสิ่งทดลองอื่นๆ การใช้สารละลายธาตุอาหารสูตรมาตรฐาน เมื่อปลูกเลี้ยงนาน 30 วัน ทำให้มีค่าเฉลี่ยความสูงลำต้นมากที่สุด เท่ากับ 25.7 ซม. ซึ่งมีความแตกต่างกันทางสถิติกับสารละลายสูตรอื่นๆ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ส าหรับการใช้สารละลายธาตุอาหารมาตรฐาน เมื่อปลูกเลี้ยงนาน 30 วัน ทำให้มีค่าเฉลี่ยความยาวรากมากที่สุด เท่ากับ 29.8 เซนติเมตร ซึ่งมีความแตกต่างกันทางสถิติกับสารละลายในสูตรอื่นๆ ที่ใช้ปลูกเลี้ยง

คำสำคัญ : ผักกาดเรดโอ๊ค , น้ำหมักชีวภาพ , น้ำมันปลาทะเล , ระบบไฮโดรโปนิกส์
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Effect of Sea Fish Oil-Bioextract on Growth of Red oak Lettuce in Hydroponic System
Abstract :
Keyword :
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงปริมาณ
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยพื้นฐาน
สาขางานวิจัย : สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : กิจกรรมวิชาการ
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 สิทธิชัย สิมมาลา
ประเภทบุคคล : นักศึกษา
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เทคโนโลยีการผลิตพืช
ผู้วิจัยหลัก
(2560)
50 ไม่ระบุ
2 อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ผู้วิจัยร่วม
50 นักวิจัยรุ่นเก่า
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2561
1/2/2561 ถึง 30/6/2561
ประเภทแหล่งทุน : ทุนส่วนตัว ส่วนตัวของผู้วิจัย
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
วันที่ดำเนินการรายละเอียด
1 เมษายน 2565
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ : เชิงพาณิชย์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023