ผลของกากน้ำตาลต่อปริมาณแพลงก์ตอนในบ่อเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมยระบบเรสเวย์

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : ชพ.63-นศ.-010
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 2 มิถุนายน 2563 ถึง 24 กันยายน 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ผลของกากน้ำตาลต่อปริมาณแพลงก์ตอนในบ่อเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมยระบบเรสเวย์
บทคัดย่อ :

การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมยด้วยระบบเรสเวย์ (Raceway system) นับเป็นระบบการเลี้ยงแบบหมุนเวียนน้ำประเภทหนึ่งที่มีการนำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงกุ้งแบบหนาแน่นของบริษัท ซีเฟรชอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) โดยระบบนี้จะมีการที่ใช้บ่อเลี้ยงแบบทางยาวมีน้ำไหลผ่านตลอด เพื่อให้สารแขวนลอยหรือสารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำถูกรวมไว้ตรงกลางบ่อสามารถระบายออกได้จำนวนมากและเร็วที่สุด ในระหว่างการเลี้ยงกุ้งด้วยระบบนี้จะมีการเติมกากน้ำตาลลงในบ่อเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพการทำงานของจุลินทรีย์ภายในบ่อ ขณะเดียวกันปริมาณของกากน้ำตาลที่เติมลงไปยังส่งผลต่อปริมาณของแพลงก์ตอนภายในบ่อซึ่งจำเป็นจะต้องมีการศึกษาปริมาณของกากน้ำตาลที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถควบคุมปริมาณแพลงก์ตอนให้เหมาะสมกับการเลี้ยงกุ้ง โดยเบื้องต้นพบว่า ในบ่อเรสเวย์ที่เลี้ยงกุ้ง พบชนิดของแพลงก์ตอนในระบบ 4 ชนิด มากที่สุด คือ Cyclotella sp. (AARL-PP score=2) รองลงมา คือ Gymnodinium sp. (AARL-PP score=6) Nitzschia sp. (AARL-PP score=9) และ Peridinium sp. (AARL-PP score=6) ตามลำดับ ซึ่งมีคะแนน AARL-PP Score เท่ากับ 5.75 จัดได้ว่าน้ำในบ่อเรสเวย์อยู่ในระดับ Mesotrophic สารอาหารปานกลาง มีคุณภาพน้ำ ปานกลาง ดังนั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณการใช้กากน้ำตาลต่อการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมยในระบบเรสเวย์ แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ศึกษาปริมาณการใช้กากน้ำตาลที่ระดับความเข้มข้น 30, 40 และ 50 ppm. ต่อการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมยขนาด 0.05-0.5 กรัม พบว่า ชุดการทดลองที่ใช้กากน้ำตาล 30 ppm. ที่มีปริมาณแพลงก์ตอนน้อยสุด 27.33?2.31x104 เซลล์ต่อมิลลิลิตร การทดลองที่ 2 ศึกษาปริมาณการใช้กากน้ำตาลที่ระดับความเข้มข้น 30, 40 และ 50 ppm. ต่อการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมยขนาด 0.6-1.0 กรัม พบว่า กากน้ำตาลในประมาณที่ 30 ppm. ในช่วงเวลาชั่วโมงที่ 4 ถึง ชั่วโมงที่ 8 เป็นช่วงเวลาที่แพลงก์ตอนน้อยสุด (92.76?3.41x104 เซลล์ต่อมิลลิลิตร ) ขณะที่คุณภาพน้ำไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ในแต่ละชุดการทดลอง ดังนั้น ปริมาณกากน้ำตาลที่ 30 ppm. เหมาะสมต่อการนำมาใช้ควบคุมสีน้ำในเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมยระบบเรสเวย์ ข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการสีน้ำด้วยการปรับปริมาณการใช้กากน้ำตาลในระบบการเลี้ยงกุ้งขาวแบบเรสเวย์ต่อไป

คำสำคัญ : กุ้งขาวแวนนาไมย
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Effects molasses on density of plankton in Penaeus vannamei Raceway system
Abstract :
Keyword :
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงปริมาณ
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยพื้นฐาน
สาขางานวิจัย : สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : กิจกรรมวิชาการ
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 นางสาวศิลินทรา คุ้มเดช
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
50 ไม่ระบุ
2 อาจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
50 นักวิจัยรุ่นเก่า
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : ทุนส่วนตัว ส่วนตัวของผู้วิจัย
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023