การออกแบบ-วางผังแม่บทอาคารและสิ่งปลูกสร้าง จากอิทธิพลการแผ่รังสีความร้อน ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศภายนอก เพื่อความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.1-63-03-001.2
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 30 เมษายน 2563 ถึง 1 ตุลาคม 2563
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การออกแบบ-วางผังแม่บทอาคารและสิ่งปลูกสร้าง จากอิทธิพลการแผ่รังสีความร้อน ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศภายนอก เพื่อความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ :

การพัฒนาด้านกายภาพของมหาวิทยาลัย ตามแนวทางการก้าวสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวและ แม่โจ้ 100 ปี มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต แปรผกผันกับปริมาณการใช้พลังงานในภาพรวมของมหาวิทยาลัยและอุณหภูมิอากาศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และสภาวะน่าสบายของบุคลากรและนักศึกษา งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งเป้าสู่การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศขนาดจุลภาคภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย เพื่อค้นหาปัจจัยสภาพแวดล้อมโดยรอบพื้นที่ ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และสร้างแนวทางการควบคุมระดับอุณหภูมิอากาศไม่ให้แตกต่างจากเขตสภาพของมนุษย์มากจนเกินไป โดยทาการเก็บข้อมูลสภาพอากาศทุกพื้นที่ 200 ตร.ม. ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในช่วงเวลาทำการ (8:00 17:00 น.) และค้นหาปัจจัยที่ส่งผลทำให้อุณหภูมิอากาศแตกต่างกัน วิเคราะห์และออกแบบเพื่อลดความแตกต่างของสภาพอากาศที่ส่งผลต่อสภาวะน่าสบายของมนุษย์

จากการเก็บข้อมูลอุณหภูมิอากาศ พบว่า ร้อยละ 92 ของพื้นที่ มีระดับอุณหภูมิอากาศสูงกว่าอุณหภูมิอากาศทั่วไป และร้อยล่ะ 97 ของพื้นที่ มีระดับอุณหภูมิอากาศสูงเกินเขตสบายของมนุษย์ ระดับปริมาณความชื้นสัมพันธ์อยู่ในเขตสบายของมนุษย์ มีความแตกต่างของอุณหภูมิอากาศสูงถึง 23oC (ช่วงเวลา 12:00 13:00น.) ลักษณะดังกล่าว เกิดจากอิทธิพลการถ่ายเทความร้อนของวัสดุทางกายภาพโดยรอบพื้นที่ ในสภาพแวดล้อมที่เป็นวัสดุดาดแข็งจะมีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิอากาศสูงกว่าสภาพแวดล้อมที่เป็นวัสดุดาดอ่อนจากค่าความจุความร้อนของวัสดุที่แตกต่างกัน และสภาพแวดล้อมที่เป็นวัสดุดาดแข็งในพื้นที่โล่งแจ้งจะมีปริมาณการถ่ายเทความร้อนจากผิววัสดุสู่สภาพอากาศสูงสุด ทั้งนี้แนวทางการลดอุณหภูมิอากาศในสภาพแวดล้อมจึงต้องลดการถ่ายเทปริมาณความร้อนของวัสดุดาดแข็งโดยเฉพาะอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่มีพื้นที่ผิววัสดุดาดแข็งสูงสุด สามารถทำได้โดย (1)ให้ร่มเงาแก่วัสดุดาดแข็งระดับล่างและระดับบนจากอิทธิพลต้นไม้ใหญ่และสวนแนวตั้ง ตามลำดับ (2)ลดการก่อสร้างด้วยวัสดุดาดแข็งที่มีค่าความจุความร้อนต่ำ และ(3) เพิ่มพื้นที่แหล่งน้ำในสภาพแวดล้อมโล่งแจ้ง เพื่อเพิ่มปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ส่งผลต่อการลดลงของอุณหภูมิอากาศ เป็นต้น

คำสำคัญ : การแผ่รังสีความร้อน , พลังงาน , อาคาร
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :

University physical development According to the approach to green university and Mae Jo 100 years University of life. Affect the development of quality of life, well-being and comfortable conditions of staff and students. This research is aimed at studying micro-climate change within university areas. To search for environmental factors surrounding the area Influencing climate change and create guidelines for controlling air temperature levels not too different from the human zone. The collecting weather data in all areas of 200 sq m. And find out the factors that affect the air temperature difference Analyzed and designed to reduce the difference in climatic conditions that affect human comfort.

From collecting air temperature data, it was found that 92% of the area had an air temperature higher than the general air temperature. 97% has air temperature levels above human comfort zone. The relative humidity levels are in the human comfort zone. The relative humidity levels are in the human comfort zone. There is a difference in air temperature as high as 23oC. (time 12:00 13:00). Such characteristics It is caused by the influence of heat transfer of the physical material surrounding the area. The environment in which the hard-scape material has average air temperature higher than the environment in which soft-scape material from the thermal capacity of different materials. The guidelines for reducing the air temperature in the environment. Therefore, it has to reduce the heat transfer of hard-scape materials, especially buildings and structures. By (1) Provide shade to lower and upper deck materials from the large trees and vertical gardens. (2) Reduce construction with hard-scape materials with low heat capacity. (3) Increase the water bodies area in an open environment. To increase the amount of relative humidity in the air Affect the air temperature drop.

Keyword : Radiation, Energy, Building
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : Eco
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ ภักดี
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ผู้วิจัยหลัก
(2563)
50 ไม่ระบุ
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิกานต์ ปุระพรหม
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ผู้วิจัยร่วม
(2563)
50 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2563
1/10/2562 ถึง 30/9/2563
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งบประมาณแผ่นดินแม่โจ้
350,070.00
   รวมจำนวนเงิน : 350,070.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023