การตลาดเชิงสัมพันธ์ การรับรู้คุณค่าและความพึงพอใจที่มีต่อความภักดี: บทบาทภาพลักษณ์ของสมาร์ทโฟนแบรนด์จีนในสาธารณรัฐประชาชนจีน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : 0.8-67.10
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 เมษายน 2566 ถึง 31 มกราคม 2567
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การตลาดเชิงสัมพันธ์ การรับรู้คุณค่าและความพึงพอใจที่มีต่อความภักดี: บทบาทภาพลักษณ์ของสมาร์ทโฟนแบรนด์จีนในสาธารณรัฐประชาชนจีน
บทคัดย่อ :

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความสำคัญของการตลาดเชิงสัมพันธ์ การรับรู้คุณค่า ความพึงพอใจ ความภักดีและภาพลักษณ์ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการตลาดเชิงสัมพันธ์ การรับรู้คุณค่าและความพึงพอใจที่มีต่อความภักดี: บทบาทภาพลักษณ์ของสมาร์ทโฟนแบรนด์จีน และ (3) เพื่อศึกษาบทบาทภาพลักษณ์ของสมาร์ทโฟนแบรนด์จีนที่ไปกำกับเส้นทางความพึงพอใจและคุณค่าการรับรู้ไปสู่ความภักดีในแบรนด์ สาธารณรัฐประชาชนจีน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคชาวจีนที่อาศัยหรือทำงานอยู่ใน 3 เมือง คือ นครเซี่ยงไฮ ปักกิ่งและเซินเจิ้นมีประสบการณ์หรือเคยใช้แบรนด์สมาร์ทโฟนแบรนด์จีนตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป จำนวน 5 แบรนด์ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติพรรณนาหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมานวิเคราะห์ด้วยตัวแบบสมการโครงสร้าง

ผลวิจัยพบว่าทุกปัจจัยสำคัญระดับมาก โดยเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ความพึงพอใจ ความภักดีในแบรนด์ การตลาดเชิงสัมพันธ์ ภาพลักษณ์แบรนด์ และการรับรู้คุณค่า โดยการตลาดเชิงสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางตรงต่อการรับรู้คุณค่ามากที่สุด รองลงมา คือ การรับรู้คุณค่ามีความสัมพันธ์ทางตรงต่อความภักดีในแบรนด์ การตลาดเชิงสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางตรงต่อความพึงพอใจ และความพึงพอใจมีความสัมพันธ์ทางตรงต่อความภักดีในแบรนด์ ผลการวิเคราะห์บทบาทภาพลักษณ์ของสมาร์ทโฟนแบรนด์จีนที่ไปกำกับเส้นทางความพึงพอใจและคุณค่าการรับรู้ไปสู่ความภักดีในแบรนด์มีอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (?5=0.009, t=1.062) ยกเว้นการกำกับเส้นทางด้วยภาพลักษณ์แบรนด์จากความพึงพอใจไปสู่ความภักดีในแบรนด์ ไม่มีนัยสำคัญ (?6=-0.004, t=-0.696) การสร้างภาพลักษณ์ การเชื่อมโยงคุณค่าและคุณลักษณะเชิงบวกของแบรนด์สามารถเสริมสร้างความพึงพอใจและความภักดีในแบรนด์ได้ หากผู้ประกอบการได้ให้ความสำคัญและวิเคราะห์ภาพลักษณ์แบรนด์อย่างถ่องแท้ ผ่านการทำความเข้าใจและการจัดกิจกรรมทางการตลาดที่เหมาะสม

คำสำคัญ : การตลาดเชิงสัมพันธ์; การรับรู้คุณค่า; ความพึงพอใจที่มีต่อความภักดี; บทบาทภาพลักษณ์; สมาร์ทโฟน แบรนด์จีน
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Relationship Marketing, Value Perceiving and Satisfaction Towards Brand Loyalty: The Role of the Brand Image of Chinese Smartphones in The People’s Republic of China
Abstract :

The purpose of this research were to study (1) the importance of related marketing, value perceiving, satisfaction, brand loyalty, and brand image; (2) the effect of relationship marketing, value perceiving, and satisfaction toward brand loyalty; The role of the brand image of Chinese Smartphone, (3) and to study the moderating role brands image of Chinese Smartphone effect of satisfaction and value perceiving toward brand loyalty in the People’s Republic of China. The sample group was 500 Chinese consumers residing or employed in Shanghai, Beijing, and Shenzhen who have used Chinese smartphone brands for at least 3 years, including 5 famous brands. The research instrument was an online questionnaire using descriptive statistics to find percentages, mean, and standard deviation. The inferential statistics were analyzed using structural equation models.

The results of the research found that all factors are important at a high level, with satisfaction being the most important, followed by brand loyalty, relationship marketing, brand image, and value perceiving. Relationship marketing has a direct on value perceiving, followed by perceived value, which has a direct on brand loyalty, and relationship marketing has a direct on satisfaction. Lastly, satisfaction has a direct on brand loyalty. The moderating role of the brand image effect on satisfaction and value perceiving toward brand loyalty is statistically significant at 0.01 (?5=0.009, t=1.062). Accept the moderating effect of brand image on satisfaction toward brand loyalty, no statistical significance (?6=-0.004, t=-0.696). In conclusion, establishing a reliable and dependable image that aligns with a brand's positive attributes and values can improve customer satisfaction and loyalty. However, it is crucial to note that this may not always be the case. It is only possible if the entrepreneur carefully examines and analyzes the brand image. By comprehending and implementing suitable marketing strategies, they can create a favorable brand image.

Keyword : Relationship marketing; Value Perceiving; Satisfaction toward loyalty; The Role of Image; Chinese brand Smartphones
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 หลิว จิง
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ผู้วิจัยหลัก
(2566)
75 นักวิจัยรุ่นใหม่
2 นภาวรรณ เนตรประดิษฐ์
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ผู้วิจัยร่วม
15 นักวิจัยรุ่นเก่า
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัดพงศ์ อวิโรธนานนท์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
10 นักวิจัยรุ่นเก่า
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2566
1/4/2566 ถึง 31/1/2567
ประเภทแหล่งทุน : ทุนส่วนตัว ส่วนตัวของผู้วิจัย
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
1 ตุลาคม 2567
วารสารที่ตีพิมพ์ : Journal of Roi Kaensarn Academi 
ฉบับที่ : 9(10)
หน้า : 200-214
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.8
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023