ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย และวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนในหมู่บ้านประชาธิปไตยดีเด่น

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : ชพ.67-นศ.-002
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2567
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย และวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนในหมู่บ้านประชาธิปไตยดีเด่น
บทคัดย่อ :

กระทรวงมหาดไทยมีแผนปฏิบัติราชการ พ.ศ. 2566 ด้านการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย นำมาสู่การจัดกิจกรรมเพื่อคัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบประชาธิปไตยดีเด่นระดับจังหวัด พื้นที่ที่ทำการศึกษาอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย และที่ได้รับรางวัลหมูบ้านต้นแบบประชาธิปไตยดีเด่นของจังหวัดใน พ.ศ. 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในหมู่บ้านประชาธิปไตยดีเด่น 2) ศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนในหมู่บ้านประชาธิปไตยดีเด่น ใช้วิธีการเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มวัยรุ่น รวม 15 คน ร่วมกับการจดบันทึกการสังเกต ตรวจสอบข้อมูลสามเส้าด้านบุคคลและแหล่งข้อมูล จากนั้นใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญแต่ละกลุ่มมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยแตกต่างกัน ดังนี้ กลุ่มผู้นำชุมชนมีความเข้าใจในระดับการสังเคราะห์ กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มคนทำงานมีความรู้ความเข้าใจในระดับความเข้าใจ ส่วนกลุ่มวัยรุ่นมีความรู้ความเข้าใจในระดับความจำ แสดงให้เห็นว่าบุคคลมีความรู้ความเข้าใจแตกต่างกันตามแต่ระดับการนำความรู้ความเข้าใจไปใช้งาน การประกอบอาชีพ และการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน 2) กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มวัยทำงาน มีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม ส่วนกลุ่มวัยรุ่นมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้าคือมีความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยแต่ไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมเกี่ยวกับประชาธิปไตย แสดงให้เห็นว่าคนในแต่ละชุมชนอาจมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่แตกต่างกันได้ แต่เมื่อกลุ่มวัยรุ่นเป็นอนาคตของชุมชนและประเทศจึงควรมีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับประชาธิปไตยในช่วงเวลาที่กลุ่มวัยรุ่นเข้าร่วมได้ เพื่อปรับเปลี่ยนให้มีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมมากขึ้นเพราะเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองที่ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย

คำสำคัญ : ความรู้ความเข้าใจ ประชาธิปไตย วัฒนธรรมทางการเมือง
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : KLOWLEDGE AND UNDERSTANDING OF DEMOCRACY GOVERNANCE AND POLITICAL CULTURE AMONG CITIZENS IN OUTSTANDING DEMOCRATIC VILLAGES
Abstract :

The Ministry of Interior has a plan for the fiscal year 2023 to promote governance in a democratic system, leading to activities for selecting outstanding democratic model villages at the provincial level. The studies on the southern region of Thailand. This area received the outstanding democratic model village award at the provincial level in 2023. The objectives are to 1) study the knowledge and understanding of democratic governance among the citizens in outstanding democratic villages and 2) study the political culture of the citizens in outstanding democratic villages. A qualitative method was used, including in-depth interviews with key informants from four groups: community leaders, the elderly, the working-age group, and teenagers, totaling 15 people, combined with recording unstructured observation, data triangulation of people and information sources, and content analysis.

The analysis revealed that 1) each informant group has different knowledge and understanding of democratic governance: community leaders have a synthesis level of understanding, and the elderly and the working group have a comprehension level. In contrast, the teenage group has a memory level of understanding. This indicates that individuals' knowledge and understanding differ according to their level of applying knowledge, occupational activities, and participation in community activities. 2) The community leaders, the elderly, and the working-age group have a participatory political culture. In contrast, the teenage group has a subject political culture, indicating knowledge about democracy but lacking participation in democratic activities. This suggests that communities may have different political cultures, but since teenagers are the future of the community and country, activities related to democracy should be organized when teenagers can participate to shift towards a more participatory political culture as it promotes democratic governance.

Keyword : Knowledge and Understanding Democracy Political Culture
รูปแบบงานวิจัย : งานวิจัยเชิงคุณภาพ
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยประยุกต์
สาขางานวิจัย : สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : กิจกรรมวิชาการ
Road map : Eco
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 อารยา อุดมรัตน์
ประเภทบุคคล : นักศึกษา
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร การเมืองและการปกครองท้องถิ่น
ผู้วิจัยหลัก
(2566)
50 ไม่ระบุ
2 อาจารย์ ดร.ภาวิดา รังษี
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ผู้วิจัยร่วม
40 นักวิจัยรุ่นเก่า
3 น.ส.สายทอง สุจริยาพงศ์พร
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : งานบริการวิชาการและวิจัย สำนักงานคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ผู้วิจัยร่วม
10 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2566
1/2/2566 ถึง 15/2/2567
ประเภทแหล่งทุน : ทุนส่วนตัว ส่วนตัวของผู้วิจัย
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
30 ธันวาคม 2567
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 
ฉบับที่ : 6 ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 (2567): พฤศจิกายน-ธันวาคม 2567
หน้า : 119-134
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.6
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023