23137 : โครงการหม้อห้อมไทยโทนลายอินทนิลโขงนาคต่อการพัฒนาสินค้าเสื้อหม้อห้อมตามอัตลักษณ์ท้องถิ่นจังหวัดแพร่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 18/2/2568 14:04:23
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา (เบิกจ่ายจากงบพัฒนากิจกรรมนักศึกษา)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
28/02/2568  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ ต.ห้วยอ้อ อ.ลอง จ.แพร่ นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ จำนวน 30 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบพัฒนานักศึกษาของกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 2568 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพร  จันทร์ฉาย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.4.1 ความสำเร็จของแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
กลยุทธ์ 68 MJU 2.4.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรม นศ. การเรียนการสอน และการวิจัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68-2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด 68-2.4.7 จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการต่อยอดและสร้างสรรค์จากทุนวัฒนธรรม
กลยุทธ์ 68-2.4.7.1 ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากองค์ความรู้ งานวิจัย และทุนทางวัฒนธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ต้นห้อมมีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น โดยที่จังหวัดแพร่ ลำปาง เชียงใหม่ และเชียงราย เรียกห้อมน้อย แม่ฮ่องสอนเรียกครามดอย ส่วนจังหวัดน่านเรียกห้อมเมือง และห้อมหลวง จากฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ต้นห้อมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Strobilanthes cusia (Nees) Kuntze. วงศ์ ACANTHACEAE จากการสำรวจพื้นที่เบื้องต้นบ้านนาคูหาและบ้านแม่ลัว ตำบลสวนเขื่อน และบ้านนาตอง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พบห้อม 2 สายพันธุ์ คือ 1) สายพันธุ์ Strobilanthes cusia เป็นห้อมสายพันธุ์ใบใหญ่ พบที่บ้านแม่ลัวเป็น 2) สายพันธุ์ Strobilanthes auriculata voucher เป็นห้อมสายพันธุ์ ใบเล็ก พบที่บ้านนาตอง (ณัฐพร, 2562) พื้นที่ดังกล่าวพบต้นห้อมขึ้นตามธรรมชาติในหมู่บ้านบริเวณสวนหลังบ้านที่ชื้นแฉะโดยเฉพาะข้างลำห้วย บ้านนาตองปลูกห้อม 21 ครัวเรือน บ้านนาคูหา 23 ครัวเรือน และบ้านแม่ลัว 31 ครัวเรือน (ซึ่งแต่ละครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกที่ไม่ชัดเจนเนื่องจากส่วนใหญ่จะปลูกริมห้วยในป่า และปลูกแซมกับพืชอื่น) ทั้ง 3 หมู่บ้านตั้งอยู่บนพื้นที่สูงมีสภาพป่าธรรมชาติล้อมรอบ ทำให้มีอากาศเย็นเกือบตลอดทั้งปี ในปัจจุบันต้นห้อมในธรรมชาติมีเหลือไม่มากนัก เนื่องจากมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการสวมใส่ผ้าหม้อห้อม ทำให้การผลิตและค้าขายเสื้อผ้าหม้อห้อมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ต้นห้อมที่นำมาย้อมสีเจริญเติบโตไม่ทันตามความต้องการจากการสำรวจพบว่า ห้อมแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มห้อมใบใหญ่ ได้แก่ สายต้นแพร่ 1 เชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา 1 2) กลุ่มห้อมใบเล็ก ได้แก่ สายต้นแพร่ 2 และพะเยา 2 การเจริญเติบโตของห้อมทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน รวมทั้งการให้คุณภาพของสีก็ไม่แตกต่างกันมากนัก กลุ่มห้อมใบใหญ่ให้ผลผลิตห้อมสด 1,407-1,933 กิโลกรัมต่อไร่ ทำเป็นเนื้อห้อมได้ 110-180 กิโลกรัมต่อไร่ และสารอินดิโก 7.06-9.56 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มห้อมใบเล็กให้ผลผลิตห้อมสด 1,600-1,687 กิโลกรัมต่อไร่ ทำเป็นเนื้อห้อมได้ 122-169 กิโลกรัมต่อไร่ และสารอินดิโก 3.46-5.03 เปอร์เซ็นต์ (ประนอม, 2556) ซึ่งราคาห้อมสดจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 15-20 บาท ราคาห้อมเปียกจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 300-400 บาท สายพันธุ์ห้อมที่นิยมปลูกในประเทศไทย คือ Strobilanthes cusia (Nees.) Kuntze. หรือห้อมใบใหญ่และยังมีสายพันธุ์ห้อมใบเล็ก Strobilanthes sp.ซึ่งชาวบ้านในชุมชนบ้านนาตองเชื่อว่าสายพันธุ์ใบเล็กให้ปริมาณเนื้อและสีที่ดีกว่าสายพันธุ์ใบใหญ่ แต่ก็ต้องทำการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ต่อไป ในส่วนของจังหวัดลำพูน และจังหวัดพะเยา ก็มีการนำต้นห้อมมาย้อมผ้าเช่นกัน และยังมีการนำสีจากธรรมชาติอื่น ๆ มาใช้ในการย้อมผ้าด้วย ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีการทำผ้าที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะของตัวเอง แต่ก็ยังพบปัญหาเกี่ยวกับการย้อมโดยเฉพาะสีพื้น เนื่องจากคุณภาพของสีไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และต้องใช้ห้อมเปียกปริมาณมากขึ้นหรือย้อมมากครั้งขึ้นเมื่อต้องการให้ได้สีเข้ม และกลุ่มทอผ้าจังหวัดพะเยาก็ยังรับซื้อห้อมเปียกจากที่อื่นเพื่อนำมาย้อมผ้าด้วย ดังนั้นจึงสนใจที่จะปลูกห้อมเพื่อทำห้อมเปียกและใช้ในการย้อมผ้าเอง เพื่อให้ได้ห้อมที่เป็นอินทรีย์ และสามารถนำมาทำห้อมเปียกหรือห้อมผงที่มีคุณภาพสูงจึงอยากพัฒนาตั้งแต่กระบวนการปลูกห้อมด้วยชีวนวัตกรรม กระบวนการย้อมผ้าด้วยชีวนวัตกรรมเพื่อให้ได้ผ้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่ดีขึ้น รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้มีความน่าสนใจมากขึ้น ปัจจุบันกระแสการเติบโตของตลาดสีเขียว (Green Market) ส่งผลให้ตลาดผ้าย้อมสีธรรมชาติมีการเติบโตทั้งภายในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง การได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้สามารถผลักดันตลาดสู่สากลและสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งราคาขายจะเริ่มต้นตัวละประมาณ 200-1,000 บาท ขึ้นไป แล้วแต่แบบ แต่ปัจจุบันผู้ย้อมผ้าธรรมชาติหลงเหลืออยู่ไม่มากนักและประเทศไทยในปัจจุบันยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับการอนุรักษ์สายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์ห้อมมีไม่มาก ดังนั้น การศึกษาด้านพันธุกรรมของห้อมเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องแน่นอนสำหรับใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ต่อไป ในอนาคต (สุรินทร์, 2543) ซึ่งการที่สามารถทราบถึงสายพันธุ์ของห้อมจะช่วยในเรื่องการปรับปรุงพันธุ์แล้ว ยังสามารถนำข้อมูลมาศึกษาในด้านความหลากหลายทางชีวภาพของสายพันธุ์ที่ใช้ห้อมเป็นพืชเศรษฐกิจในการย้อมผ้า หรือประโยชน์อื่น ๆ ได้ ชีวนวัตกรรม คือ ความก้าวล้ำของเทคโนโลยีที่สามารถพลิกฟื้นการเกษตรที่เป็นรากฐานของสังคมไทยให้ก้าวไกลทัดเทียมกับอารยะประเทศ จากการบูรณาการเทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ เข้ากับเกษตรแบบดั้งเดิม เพื่อให้เกิดเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เพิ่มผลผลิต และเพิ่มคุณภาพผลผลิตด้วยสารชีวภัณฑ์ (Bio product) ที่มีความปลอดภัย เพื่อลดการใช้สารเคมี และยาปฏิชีวนะที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในระยะยาว อีกทั้ง ยังช่วยในการลดต้นทุน และสามารถควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้ ความสำคัญของชีวนวัตกรรม คือ เป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อความมั่นคงที่ยั่งยืนของเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สามารถช่วยในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจในระยะยาวได้ เนื่องจากชีวนวัตกรรม ถือเป็นโมเดลพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการยกระดับสินค้าเพื่อให้ออกสู่ตลาดสากล และลดต้นทุนในกระบวนการผลิตในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร เป็นต้น โดยการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสินค้า และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (Growth engine) อีกทั้งสามารถผลักดัน และพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศให้มีประสิทธิภาพ และใช้ปัจจัยการผลิตได้อย่างคุ้มค่า โดยการพัฒนานวัตกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้จะส่งต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศมีเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่มั่นคง ซึ่งผู้วิจัยมีองค์ความรู้ในด้าน ชีวนวัตกรรมในการปลูกห้อมให้ทนต่อโรค เพิ่มการเจริญเติบโต เพิ่มคุณภาพสี ทั้งยังทำให้ได้ห้อมอินทรีย์ จากงานวิจัยที่ผ่านมาการใช้เอนโดไฟติกแบคที่เรียที่คัดแยกได้จากรากห้อม และคัดแยกจุลินทรีย์ในน้ำหมักห้อม (หม้อย้อม) ที่มีคุณภาพสูงต่อการย้อมห้อมและได้จดสิทธิบัตรงานดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เช่น สิทธิบัตรจุลินทรีย์อัดแท่งเพื่อใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ สิทธิบัตรการใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ผงต่อการก่อหม้อ สิทธิบัตรการใช้ห้อมผงเพื่อใช้ในการย้อม รวมทั้งได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากห้อมโดยการใช้ห้อมผง หัวเชื้อจุลินทรีย์ผงเป็นชุด Kit พร้อมย้อมให้กับชุมชนจากทุนสนับสนุนของ BEDO ทั้งสิ้น 5 ผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ณัฐพร (2563) ได้ทำการจดทะเบียนสิทธิบัตรเกี่ยวกับหม้อห้อมทั้งสิ้น 3 เรื่อง คือ 1) กระบวนการสร้างสีลิวโคอินดิโกแบบแห้ง เลขที่สิทธิบัตร 2001001405 2) การก่อหม้อและกรรมวิธีการผลิตสิ่งนั้น เลขที่สิทธิบัตร 2003000405 และ 3) ผลิตภัณฑ์ห้อมผงและกรรมวิธีการผลิต เลขที่สิทธิบัตร 2001001102 ซึ่งเป็นชีวนวัตกรรมที่จะนำไปใช้ในกระบวนการผลิตผ้าหม้อห้อม และได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ห้อมผงนาตอง หัวเชื้อจุลินทรีย์ในการสร้างสี Leuco indigo แบบแห้งเพื่อใช้ในการก่อหม้อในการย้อมผ้าหม้อห้อม ผลิตภัณฑ์ชุด Kit สีน้ำระบายสี และผลิตภัณฑ์ห้อมเปียกนาคูหา รวมทั้งสิ้น 5 ผลิตภัณฑ์จากการสนับสนุนงบประมาณจาก BEDO และกำลังทำการวิจัยทดลองปลูกห้อมโดยใช้ชีวนวัตกรรมเข้ามาช่วย เรื่องผลของเอนโดไฟติกแบคที่เรีย Psenaloxanthomoras spadix MJUP08 ต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพสีของห้อมในจังหวัดแพร่ อีกด้วย กระแสการตื่นตัวในการอนุรักษ์และส่งเสริมใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมากขึ้น ซึ่งการย้อมผ้าจากสีที่ได้จากธรรมชาติถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่า แต่กลับไม่ได้รับความสนใจหรือได้รับการส่งเสริมเท่าที่ควร การใช้สีย้อม จากธรรมชาติยังมีการใช้อยู่เพียงบางท้องถิ่น และนับวันยิ่งน้อยลงไปเรื่อย ๆ ทั้งผู้บริโภค และผู้ผลิต เนื่องจากหันมาใช้สารเคมีซึ่งใช้ได้ง่าย และสะดวกกว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิปัญญาในการย้อมสีธรรมชาติอาจเกิดการสูญหายได้ การย้อมผ้าดังกล่าวต้องใช้เวลาในการย้อมหลายครั้งและหลายวันกว่าจะได้สีที่ติดทน สวยงามตามจินตนาการ และยังต้องใช้ประสบการณ์ของผู้ย้อมอีกด้วย แต่ปัจจุบันความต้องการมีเพิ่มมากขึ้นกรรมวิธีดังกล่าวล่าช้าและไม่ทันต่อความต้องการของผู้ประกอบการหลาย ๆ รายได้หันมาใช้สารเคมีในการย้อมซึ่งทั้งถูกกว่าและสีติดดีกว่า รวมทั้งยังใช้เวลาน้อยกว่าหลายเท่าตัว แต่ผลเสีย คือ สีที่ใช้เป็นสีเคมีย่อมมีพิษต่อสิ่งแวดล้อม และไม่เป็นธรรมชาติ และสุดท้ายภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษสั่งสมมาอาจสูญหาย หรือลางเลือนไป น้ำหมักของห้อมน่าจะมีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถช่วยกระบวนการย้อมผ้าหม้อห้อม ในน้ำย้อมห้อมแบบธรรมชาติมีเชื้อจุลินทรีย์เกี่ยวข้องกับกระบวนการเปลี่ยนสีอินดิโกบลูไปเป็นลิวโคอินดิโก โดยส่วนใหญ่เป็น Bacillus sp. และแม้ว่าปัจจุบันจะมีการคัดแยกแบคทีเรียที่มีความสามารถในการเปลี่ยนสีอินดิโกบลูมากขึ้นแต่กระบวนการศึกษาถึงกลไก การทำงานของแบคทีเรีย ดังกล่าวยังมีไม่มากนัก เช่น Compton et al. (2005) รายงานว่า Clostridium isatidis สามารถเปลี่ยนสีอินดิโกบลูไปเป็นลิวโคอินดิโกได้จากการเข้าไปจับกับอนุภาคของอินดิโกบลูแล้วทำการย่อยไปเป็นลิวโคอินดิโก ในทางกลับกัน Takahara and Tanabe (1960) กล่าวว่าปฏิกิริยารีดักชั่นที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการส่งถ่ายอิเล็กตรอนในระบบ ดังนั้น การศึกษาการคัดแยก การคัดเลือกแบคทีเรียที่มีความสามารถในการเปลี่ยนสีอินดิโกบลูไปเป็นลิวโคอินดิโก จึงยังเป็นที่สนใจ สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรม (Sarethy et al., 2011) เนื่องจากปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีร่วมกับกระบวนการย้อมสีผ้าประกอบกับ ปัจจุบันความนิยมทางด้านผ้าย้อมธรรมชาติมีมากขึ้น จึงทำให้อุตสาหกรรมการย้อมสีห้อมแบบธรรมชาติได้รับความนิยมมากขึ้นตามลำดับ และจุลินทรีย์ดังกล่าวสามารถนำไปผลิตเป็นหัวเชื้อสำหรับประยุกต์ใช้ ในกระบวนการย้อมสีห้อมแบบธรรมชาติทดแทนการใช้สารเคมีในอนาคต ซึ่งอาจช่วยลดระยะเวลาของการหมักน้ำย้อม อาจช่วยให้กระบวนการย้อมผ้าให้สั้นลง สามารถควบคุมคุณภาพของสีย้อมที่ได้อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของผ้าหม้อห้อมได้ และช่วยดำรงรักษาภูมิปัญญาการย้อมผ้าหม้อห้อมของชาวทุ่งโฮ้งให้ยั่งยืนสืบไป ณัฐพร (2562) กล่าวว่าปัจจุบันใช้ผงครามหรือครามเกล็ดที่ได้จากกระบวนการทางเคมี (สารเคมี) มาก่อหม้อเพื่อใช้ในการย้อมผ้าแต่เทคโนโลยีที่ใช้ในครั้งนี้จะเป็นการใช้ห้อมผงที่ได้จากธรรมชาติ มาทำให้เป็นผงด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยศึกษาคุณภาพของการให้สีและการติดสีในผ้าด้วยวิธีการทางชีวเคมีร่วมกับจุลินทรีย์ที่คัดแยกได้จากน้ำก่อหม้อที่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีอินดิโก (Indigo) เป็นลิวโคอินดิโก (Leuco-indigo) ที่ดีที่สุด พร้อมส่งไปจำแนกสายพันทางชีวโมเลกุลด้วยเทคนิค 16S rRNA คือ สายพันธุ์ Bacillus cereus MJUP09 ที่มีความเหมือนกับ Bacillus cereus 99% โดยมีปริมาณ Leuco-indigo ที่สร้างขึ้นเท่ากับ 9.5688 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร มาพัฒนาให้อยู่ในรูปของเชื้อแห้งในกระดาษกรองพร้อมใช้งาน ประกอบกับในปี 2562 จังหวัดแพร่ได้ขอขึ้นทะเบียนสินค้าที่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ในชื่อสินค้า “ผ้าหม้อห้อมแพร่” เป็นเครื่องมือในการพัฒนาท้องถิ่นและเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพให้สามารถยกระดับจากท้องถิ่นออกสู่ระดับประเทศและต่างประเทศ ผ้าหม้อห้อมในจังหวัดแพร่ได้รับการสืบทอดกันมานานกว่า 100 ปี จากกลุ่มชนชาติไท-ลาว ที่อพยพเข้ามาอยู่อาศัยหลายช่วงจากประวัติศาสตร์ของพ่อขุนพญาพล ได้พาผู้คนมาจากเชียงแสนมาสร้างเมืองแพร่ก็คือพันกว่าปีก่อน และในช่วงสมัยกรุงธนบุรีจนมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เจ้าเมืองแพร่ได้มีการนำไพร่พลมาจากสิบสองปันนา เชียงแสน และแขวงเชียงขวาง ของประเทศลาวเข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดแพร่เพิ่มอีก ด้วยภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวนล้วนมีความรู้ด้านหม้อห้อม บวกกับชาวไทยพื้นเพเดิมต่างก็ผลิตเสื้อผ้าใช้เองโดยการปลูกฝ้าย ปั่นฝ้าย ทอผ้า และตัดเย็บในรูปแบบของเสื้อห้าดูก “เสื้อคอเฮงหรือเสื้อกุยเฮง” เป็นเสื้อแบบจีนคอกลม ผ่าหน้าติดกระดุมหรือผูกด้วยเชือกตลอดแนว (คนแพร่เรียกว่าเสื้อมะถั่ว) ด้านล่างมีกระเป๋าสองข้าง กับการใส่กางเกง “เตี่ยวสะดอขาก๊วย” สีครามอมดำที่ย้อมสีจากต้นห้อมด้วยภูมิปัญญาการก่อหม้อห้อม สภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่เป็นหุบเขาของจังหวัดแพร่ เป็นพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำยม และมีความหลากหลายของป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง สลับซับซ้อนบนเทือกเขาผีปันน้ำ และเทือกเขาแดนลาว ส่งผลให้ต้นห้อมมีขึ้นเป็นจำนวนมากในธรรมชาติ ด้วยปัจจัยในดินอุ้มน้ำมีอินทรียวัตถุสูง แสงแดดปานกลาง ส่งผลให้ต้นห้อมซึ่งเป็นพืชที่ล้มลุกที่คนไทยรู้จักนำมาใช้ประโยชน์อย่างยาวนานที่มีความสำคัญกับวิถีชีวิต ความเชื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนในชุมชน ทั้งด้านการผลิต เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค คนจังหวัดแพร่ได้ใช้ห้อมเป็นวัตถุดิบในการย้อมผ้าหม้อห้อมที่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตในการประกอบอาชีพที่มีการผลิต-จำหน่ายผ้าหม้อห้อม แพร่มีเงินหมุนเวียนจากการผลิตผ้าหม้อห้อมมากกว่า 80 ล้านบาทต่อปี ตามที่กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมกับศูนย์ภูมิภาคศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดทำโครงการสร้างอัตลักษณ์บนผืนผ้าลายแม่โจ้ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมลายผ้าแม่โจ้ จากทุนทางวัฒนธรรม โดยประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้และศิษย์เก่าแม่โจ้ทุกท่านร่วมโหวตแสดงความคิดเห็น สร้างลายผ้าอัตลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อวันที่ 27 เมษายน – 7 พฤษภาคม 2567 จากผลการโหวตพบว่าลายดอกอินทนิล (ในโขงนาศ) ได้รับคะแนนโหวตสูงสุด ลายอินทนิลโขงนาค เกิดจากแนวคิดการนำรูปแบบดอกอินทนิล ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้มาออกแบบรวมกับพญานาค สัตว์ในวรรณกรรมไทยที่เป็นผู้ให้น้ำตามความเชื่อของสังคมเกษตร อยู่ทั้งสองข้างของลายดอก พร้อมทั้งพญานาคหันหน้าออกในลักษณะของผู้ปกป้อง โดยใช้หางรองรับช่อดอก แสดงถึงน้ำที่คอยหล่อเลี้ยงพรรณพฤกษานานา ต่อด้วยดวงดอกและยอดไม้ที่พุ่งช่อออกมาจากโขงนาค เพื่อเป็นตัวแทนของดอกผลที่เจริญงอกงาม ดังนั้นสัญลักษณ์ลายอินทนิลโขงนาค จึงเป็นการออกแบบให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างน้ำกับพรรณไม้ในสังคมเกษตรที่ต้องเกื้อกูลกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งความเจริญงอกงาม ออกดอกผล อีกนัยยะหนึ่ง คือ ดอกอินทนิลอันเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่สร้างองค์ความรู้ด้านการเกษตรให้กับสังคมไทย เพื่อความผลิตดอกออกผลขององค์ความรู้ นำไปต่อยอดและพัฒนาสังคมเกษตรกรไทยได้คณะดำเนินงาน โดยกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และศูนย์ภูมิภาคศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ดังนั้น รศ.ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย จึงมีความประสงค์จะจัดทำโครงการหม้อห้อมไทยโทนลายอินทนิลโขงนาคต่อการพัฒนาสินค้าเสื้อหม้อห้อมตามอัตลักษณ์ท้องถิ่นจังหวัดแพร่ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มี คือ ชีวนวัตกรรมการย้อมผ้าหม้อห้อมจากผลิตภัณฑ์ห้อมผงร่วมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์บริสุทธิ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากนั้นทำถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ชุมชนและผู้ประกอบการ โดยการใช้ชีวนวัตกรรมการย้อมผ้าหม้อห้อมไทยโทนจากผลิตภัณฑ์ห้อมผงร่วมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์บริสุทธิ์ ซึ่งสามารถควบคุมคุณภาพของน้ำย้อมห้อมได้อีกด้วย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดให้ชุมชน และพัฒนาและออกแบบลวดลายของกี่ทอให้มีลวดลายอินทนิลโขงนาคที่เป็นเอกลักษณ์ร่วมกับผู้ประกอบการ สร้างสรรค์สินค้าจากห้อมให้มีรูปแบบที่ทันสมัย สวยงาม เป็นจุดขายที่แตกต่าง มีความโดดเด่น สู่การเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอนาคตพร้อมกับการพัฒนาศักยภาพในเชิงธุรกิจ และทำเป็นของที่ระลึกของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ในงาน อพ.สธ. 68 อีกด้วย และสามารถสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พัฒนาและเติบโตสู่การเป็นผู้ประกอบการในผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เข้มแข็ง มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าทำให้รายได้เพิ่มขึ้น ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และมีความเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และศูนย์ภูมิภาคศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมในด้านองค์ความรู้ บุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือการวิจัยและต่าง ๆ และได้เล็งเห็นความสำคัญในการสร้างความมั่นคงและการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของท้องถิ่น ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถขายได้จริงทางการตลาด สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน เกิดภูมิปัญญาและนวัตกรรมเพื่อชุมชน รวมทั้งเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาการย้อมผ้าหม้อห้อมไทยโทนด้วยชีวนวัตกรรมอย่างยั่งยืนสืบไปด้วย “หม้อห้อมไทยโทนลายอินทนิลโขงนาคต่อการพัฒนาสินค้าเสื้อหม้อห้อมตามอัตลักษณ์ท้องถิ่นจังหวัดแพร่”

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาการย้อมผ้าหม้อห้อมไทยโทนลายอินทนิลโขงนาคด้วยชีวนวัตกรรม
2 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมด้วยชีวนวัตกรรมให้มีลวดลายอินทนิลโขงนาคที่เป็นเอกลักษณ์มากขึ้น
3 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การย้อมผ้าหม้อห้อมไทยโทนอินทนิลโขงนาคด้วยชีวนวัตกรรม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ทักษะความรู้การย้อมผ้าหม้อห้อมไทยโทนอินทนิลโขงนาคด้วยชีวนวัตกรรม
KPI 1 : องค์ความรู้ที่ได้บูรณาการกับการเรียนการสอน การวิจัย และบริการวิชาการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 องค์ความรู้ 1
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาด้วยชีวนวัตกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 4 : สื่อวีดีทัศน์ภูมิปัญญาการผลิตผ้าหม้อห้อมไทยโทนอินทนิลโขงนาค
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 5 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ทักษะความรู้การย้อมผ้าหม้อห้อมไทยโทนอินทนิลโขงนาคด้วยชีวนวัตกรรม
ชื่อกิจกรรม :
1) อบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ชีวนวัตกรรม การย้อมผ้าหม้อห้อมไทยโทนอินทนิลโขงนาค

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ธีราพัฒน์  จักรเงิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายภาคภูมิ  บุญมาภิ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางอุไรภัสร์  ชัยเรืองวุฒิ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,900.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย จำนวน 1 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เป็นเงิน 17,400 บาท
2. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เป็นเงิน 9,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 27,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 27,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 34500.00
ชื่อกิจกรรม :
2) พัฒนาและออกแบบลวดลายของกี่ทออินทนิลโขงนาค

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ธีราพัฒน์  จักรเงิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายภาคภูมิ  บุญมาภิ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางอุไรภัสร์  ชัยเรืองวุฒิ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาพัฒนาและออกแบบลวดลายของกี่ทอ จำนวน 1 งาน เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5000.00
ชื่อกิจกรรม :
3) อบรมถ่ายทอดองค์ความรู้การออกแบบและตัดเย็บเสื้อหม้อห้อมไบโอเทค

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ธีราพัฒน์  จักรเงิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายภาคภูมิ  บุญมาภิ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางอุไรภัสร์  ชัยเรืองวุฒิ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,900.00 บาท 0.00 บาท 3,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย จำนวน 1 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 7500.00
ชื่อกิจกรรม :
4) ผลิตสื่อวีดีทัศน์ภูมิปัญญาการผลิตผ้าหม้อห้อมไทยโทนอินทนิลโขงนาค

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/02/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ธีราพัฒน์  จักรเงิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายภาคภูมิ  บุญมาภิ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางอุไรภัสร์  ชัยเรืองวุฒิ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาผลิตสื่อวีดีทัศน์ จำนวน 1 งาน เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 3000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
สอนวิชา 11214373 การใช้ประโยชน์จากของเสียและการบำบัดมลพิษทางชีวภาพ
ช่วงเวลา : 28/02/2568 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล