23112 : โครงการพัฒนากระบวนการผลิตกล้วยตาก
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.อภิญญา ชุ่มอินถา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 13/2/2568 15:01:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
24/02/2568  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  5  คน
รายละเอียด  วิสาหกิจชุมชนเกษตรทฤษฎีใหม่ธัญญะผล
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน ไม่มีค่าใช้จ่าย 2568 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ขวัญจรัส  เชิงปัญญา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 4. การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 68 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 68 MJU 4.1.1 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 68 MJU 4.1.1.1 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-4.การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 68-4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 68-4.1.1 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 68-4.1.1.1 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีแผนแม่บทโครงการบริการวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565-2569) จำนวน 5 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนายกระดับขีดความรู้ ความสามารถด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ ให้แก่ท้องถิ่น ชุมชน สังคม สู่ความยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารจัดการองค์ความรู้ ฐานเรียนรู้ และสินทรัพย์ของมหาวิทยาลัยให้เกิดรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบูรณาการองค์ความรู้ ผลการวิจัย ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยไปต่อยอดสู่การสร้างนวัตกรรม เทคโนโลยี และการสร้างผู้ประกอบการ เพื่อตอบสนองนโยบายของประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเผยแพร่องค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีไปสู่ความเป็นนานาชาติ และ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ตระหนักถึงบทบาทสำคัญในการพัฒนาขีดความรู้และความสามารถในด้านการเกษตร อาหาร และสุขภาพ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน และสังคมอย่างยั่งยืน จึงสนับสนุนให้มีโครงการสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ของมหาวิทยาลัย มุ่งเน้นการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ควบคู่ไปกับการพัฒนานักศึกษาและบัณฑิตให้เป็นผู้ประกอบการผ่านกระบวนการสร้างศักยภาพผู้เรียนให้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้องค์ความรู้สู่การสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนและสังคม ดังนั้น เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โครงการบริการวิชาการ เรื่อง “โครงการพัฒนากระบวนการผลิตกล้วยตาก” จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตกล้วยตากให้ได้มาตรฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ โดยเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปกล้วย โครงการนี้มุ่งหวังที่จะช่วยยกระดับศักยภาพของเกษตรกรและชุมชนผู้ผลิตกล้วยตากให้สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง พร้อมทั้งสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้เชิงปฏิบัติจริงสำหรับนักศึกษา โดยเชื่อมโยงการเรียนการสอนเข้ากับการบริการวิชาการและการแก้ไขปัญหาของชุมชน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปกล้วยให้เป็นผลิตภัณฑ์กล้วยตากแบบแท่ง (กล้วยสติ๊ก) ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
2 เพื่อพัฒนากระบวนการแปรรูปกล้วยตากแบบแท่งให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด
3 เพื่อสร้างแผ่นเทียบสีมาตรฐานสำหรับประเมินความสุกของกล้วยเพื่อสนับสนุนการแปรรูปที่เหมาะสม
4. เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยการบูรณาการองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน และส่งเสริมความร่วมมือกับชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ทักษะการแปรรูปกล้วยให้เป็นผลิตภัณฑ์กล้วยตากแบบแท่ง (กล้วยสติ๊ก) ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 คน 5
KPI 2 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนองค์ความรู้ที่นำไปถ่ายทอด
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 องค์ความรู้ 1
KPI 4 : แผ่นเทียบสีสำหรับใช้ประเมินความสุกแก่ของกล้วย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ชิ้น 1
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ทักษะการแปรรูปกล้วยให้เป็นผลิตภัณฑ์กล้วยตากแบบแท่ง (กล้วยสติ๊ก) ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
ชื่อกิจกรรม :
การอบรมเชิงปฏิบัติการ "การแปรรูปกล้วยสติ๊ก" "ติดตามให้คำแนะนำ" และ "สรุปผลโครงการ"

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 24/02/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจรัส  เชิงปัญญา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษดา  พงษ์การัณยภาส (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรดี  เสียงสืบชาติ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ประเจต  อำนาจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.วิลาสินี  บุญธรรม (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.วันวสา  วิโรจนารมย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.สุภารัตน์  อำนาจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางสุรัลชนา  มะโนเนือง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่มีค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ไม่ได้ดำเนินโครงการ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติงานให้ชัดเจน
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การบูรณาการกับการเรียนการสอน/วิจัย/บริการวิชาการ/ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยและส่วนงาน : มีการบูรณาการองค์ความรู้และนำนักศึกษาจากรายวิชา 11400110 เศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ รายวิชา10125406 ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากรป่าไม้ หรือ 11203362 เทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ในระบบเกษตรป่าไม้ ร่วมบริการวิชาการและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 การเป็นผู้ประกอบการ
ช่วงเวลา : 01/10/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล