23029 : SAS-68 โครงการฝึกอบรมผู้นำนักศึกษาเพื่อการพัฒนาสังคม
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
นายนัฐพล ภาคภูมิ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 24/1/2568 9:43:28
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
24/01/2568  ถึง  14/02/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  90  คน
รายละเอียด  1. นักศึกษาวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 40 คน 2. นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 40 คน 3. อาจารย์ เจ้าหน้าที่ จำนวน 10 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 2568 58,300.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ศิริโสภา  สันติทฤษฎีกร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่ก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการพัฒนาพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 68 MJU 2.1.9.1 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ SAS 64-68 (1) จัดการศึกษาด้านการเมืองการปกครอง กฎหมาย การระหว่างประเทศ การบริหารรัฐกิจ และการบริหารกิจการสังคม
เป้าประสงค์ SAS 68 (1.2) ส่งเสริมและพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณลักษณะตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ตัวชี้วัด SAS-65-68 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ SAS ส่งเสริมการจัดกิจกรรมแก่นักศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันสังคมมีปัญหาที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความยากจน ความไม่เท่าเทียมทางสังคม ความไม่เป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม หรือแม้แต่ปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ล้วนเป็นประเด็นที่ต้องการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคม ฉะนั้นคนในสังคมต้องชีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น สถาบันอุดมศึกษา มีหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคม และเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชารัฐศาสตร์ และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ โดยนักศึกษาที่ศึกษาด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ถือเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาสังคมในหลายมิติ ตั้งแต่การเมือง การบริหารภาครัฐ ไปจนถึงการประยุกต์ใช้กฎหมายในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน กลุ่มนักศึกษาเหล่านี้ไม่เพียงแต่ต้องเรียนรู้ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง การบริหารจัดการภาครัฐ หรือการใช้กฎหมายในการแก้ไขปัญหาสังคมเท่านั้น แต่ยังต้องมีทักษะในการคิดเชิงวิพากษ์ การวิเคราะห์ปัญหาและการเสนอแนวทางแก้ไขที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในสังคม อีกทั้งการเรียนในห้องเรียนที่การถ่ายทอดความรู้ในเชิงทฤษฎีเป็นหลัก อาจนักศึกษาขาดโอกาสในการนำความรู้เหล่านั้นไปใช้ในบริบทของการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคมในโลกความเป็นจริง การฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะความเป็นผู้นำเพื่อการพัฒนาสังคมที่จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ในการวิเคราะห์ปัญหา การตัดสินใจ และการบริหารจัดการโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ทักษะการบริหารโครงการเพื่อสังคม เป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญที่ผู้นำนักศึกษาต้องพัฒนา เพราะการพัฒนาโครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาสังคมต้องอาศัยการวางแผน การจัดสรรทรัพยากร การจัดการทีมงาน และการประเมินผลโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ การฝึกปฏิบัติจริงในกระบวนการออกแบบและดำเนินการโครงการเหล่านี้ จะช่วยให้นักศึกษามีความเข้าใจในกระบวนการการทำงานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานจริง อย่างไรก็ตาม ทักษะการสื่อสาร การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา ก็มีจำเป็นในการบริหารโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคม ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้ผู้นำนักศึกษาสามารถสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างทีมงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อีกทั้งยังสามารถตัดสินใจในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนและมีข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การฝึกฝนทักษะเหล่านี้จะช่วยให้นักศึกษามีความมั่นใจในการทำงานจริงและสามารถพัฒนาโครงการให้ประสบความสำเร็จได้ นอกจากนี้ การศึกษาในระดับชุมชนและสังคม จะทำให้เห็นสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากกรณีศึกษาจริง จากการดูงานชุมชน โดยการฝึกปฏิบัติจริงในสถานการณ์จริงจะช่วยเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการทำงานในอนาคต โดยเฉพาะการบริหารจัดการโครงการที่สามารถตอบโจทย์การพัฒนาสังคมได้ รวมไปถึง การสร้างเครือข่ายผู้นำนักศึกษาเพื่อการพัฒนาสังคมระหว่างสถาบัน ก็มีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการทำงานจริง ช่วยให้ผู้นำนักศึกษาได้เรียนรู้จากความสำเร็จและความล้มเหลวจากมุมมองของผู้อื่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือกันในระดับที่สูงขึ้น การมีเครือข่ายนี้จะช่วยให้การดำเนินงานพัฒนาสังคมสามารถขยายผลได้ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น ในการนี้เครือข่ายทางวิชาการมหาวิทยาลัยบูรพา โดยคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ก็เป็นอีกสถาบันหนึ่งที่มีความร่วมมือทางด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการพัฒนานักศึกษา ซึ่งคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มีเป้าหมายในการพัฒนาผู้นำนักศึกษาให้เพื่อการพัฒนาสังคม ทั้งนี้การร่วมกันผลักดันให้นักศึกษาได้เรียนรู้การพัฒนาสังคมร่วมกัน จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายในการพัฒนามิติทางสังคมที่มีความแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น ดังนั้น วิทยาลัยบริหารศาสตร์ จึงกำหนดจัดโครงการโครงการฝึกอบรมผู้นำนักศึกษาเพื่อการพัฒนาสังคม ระหว่างวันที่ 31 มกราคม 2568 – 1 กุมภาพันธ์ 2568 ณ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการเสริมสร้างกระบวนทัศน์และทักษะความเป็นผู้นำเพื่อการพัฒนาสังคม พัฒนาศักยภาพในการบริหารโครงการเพื่อพัฒนาสังคม และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้นำนักศึกษาในการพัฒนาชุมชนและสังคม ตลอดจนสร้างเครือข่ายผู้นำนักศึกษาเพื่อการพัฒนาสังคมระหว่างสถาบัน อันเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมและประเทศให้ยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเสริมสร้างกระบวนทัศน์และทักษะความเป็นผู้นำเพื่อการพัฒนาสังคม
เพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหารโครงการเพื่อพัฒนาสังคม
เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้นำนักศึกษาในการพัฒนาชุมชนและสังคม
เพื่อสร้างเครือข่ายผู้นำนักศึกษาเพื่อการพัฒนาสังคมระหว่างสถาบัน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้นำนักศึกษาได้รับการความรู้และทักษะเกี่ยวกับภาวะผู้นำและทักษะการบริหารโครงการ เพื่อพัฒนาสังคม
KPI 1 : นักศึกษาได้รับความรู้ประวัติศาสตร์การพัฒนาทางสังคมและการเมืองล้านนา
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : นักศึกษาได้รับความรู้และทักษะการสื่อสาร การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ สำหรับผู้นำเพื่อการพัฒนาสังคม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : นักศึกษาได้รับความรู้และทักษะการบริหารโครงการเพื่อการพัฒนาสังคม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : นักศึกษาได้รับความรู้ในกระบวนทัศน์ความเป็นผู้นำเพื่อการพัฒนาสังคม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : นักศึกษาได้รับความรู้การพัฒนาชุมชนด้วยทุนทางสังคมและวัฒนธรรม กรณีศึกษา ชุมชนชาวยองบ้านป่าตาล
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้นำนักศึกษาได้รับการความรู้และทักษะเกี่ยวกับภาวะผู้นำและทักษะการบริหารโครงการ เพื่อพัฒนาสังคม
ชื่อกิจกรรม :
อบรมให้ความรู้การเป็นผู้นำเพื่อการพัฒนาสังคม, ศึกษาดูงานการพัฒนาชุมชนและสังคม, ฝึกปฏิบัติการเป็นผู้นำเพื่อการพัฒนาสังคม, นำเสนอโครงการต้นแบบด้านการพัฒนาสังคม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 31/01/2568 - 01/02/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ศิริโสภา  สันติทฤษฎีกร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.รุจาดล  นันทชารักษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าอาหารเย็น (31 ม.ค. 68) จำนวน 90 คน x 100 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 9,000 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน (1 ก.พ. 68) จำนวน 90 คน x 100 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 9,000 บาท
-ค่าอาหารเย็น (1 ก.พ. 68) จำนวน 90 คน x 100 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 9,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 27,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 27,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (31 ม.ค. 68) จำนวน 90 คน x 30 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,700 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (1 ก.พ. 68) จำนวน 90 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 5,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 8,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 4 คัน x 1,600 บาท เป็นเงิน 6,400 บาท (หมายเหตุ เฉพาะนักศึกษาวิทยาลัยบริหารศาสตร์ จำนวน 40 คน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
-ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน จำนวน 6 คน x 600 บาท x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 10,800 บาท
-ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน จำนวน 3 คน x 600 บาท x 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
-ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน จำนวน 1 คน x 1,200 บาท x 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 16,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 58300.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล