23018 : โครงการ : เสริมสร้างการเป็นนักการตลาดดิจิทัลในสถานประกอบการ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 22/1/2568 11:16:46
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
29/01/2568  ถึง  29/01/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  11  คน
รายละเอียด  นักศึกษาการตลาดดิจิทัล จำนวน 6 คน และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 5 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ที่จัดสสรให้สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 2568 2,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ  กันบุตร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 4. การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 68 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 68 MJU 4.1.1 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 68 MJU 4.1.1.1 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-4.การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 68-4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 68-4.1.1 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 68-4.1.1.1 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การพัฒนาขีดความสามารถในการเรียนรู้ และการปฏิบัติงานของนักศึกษาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ การศึกษาดูงานในสถานประกอบการ จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์และจุดประกายความคิดในการเรียนรู้ของนักศึกษา ในรายวิชา 11206103 การจัดการร่วมสมัยและการพลิกผันในทางดิจิทัล และ 11206201 การตลาดดิจิทัล อันเป็นการตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัย ในการสนับสนุนให้นักศึกษามีโอกาสได้ศึกษาดูงานจากสถานประกอบการ เพื่อเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อรายวิชาเรียนของนักศึกษา การจัดการพัฒนาการเรียน ในปัจจุบันนั้นมุ่งเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องส่งเสริมผู้เรียนเกิดทักษะ เกิดประสบการณ์ และเป็นการส่งเสริมพัฒนาด้านสติปัญญา เจตคติ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนกล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ เพื่อให้ผู้เรียนรู้ข่าวสารสารสนเทศ เป็นคนหูตากว้างไกล มีวิสัยทัศน์ ก้าวทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ ต่อไปในอนาคตข้างหน้า ดังนั้นการศึกษาจากสถานที่จริง จึงเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมในกระบวนการพัฒนานักศึกษา ที่จะช่วยเพิ่มพูนความรู้ทักษะประสบการณ์ ให้กับตัวนักศึกษา อีกทั้งเป็นการเปิดมุมมองที่จะรับกับการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ สร้างความพร้อมให้แก่นักศึกษา ด้านความรู้ความเข้าใจ ความคิด ความสัมพันธ์ ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มุมมองความคิดเห็นต่างๆ ทำให้ได้เห็นถึงเทคนิควิธีการในการนำมาปรับใช้หรือการแก้ไขปัญหาในการจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชาการตลาดดิจิทัล มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้จัดให้มี การเรียนการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี เพื่อให้การเรียนการสอนดังกล่าว เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การเปิดโอกาสให้ นักศึกษาไปศึกษาดูงาน นอกสถานที่ เพื่อประกอบการเรียนการสอนนั้น จะเป็นประโยชน์แก่ นักศึกษาอย่างยิ่ง เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์ ให้นักศึกษาโดยตรง อีกทั้ง เป็นการมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้หาประสบการณ์จากสถานที่จริง

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นถึงการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ
2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ให้เข้าการทำงานจริงในอนาคต
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ทักษะการนักการตลาดดิจิทัล
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
11 คน 11
KPI 2 : ร้อยละความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์การตลาดดิจิทัล และการเป็นผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ทักษะการนักการตลาดดิจิทัล
ชื่อกิจกรรม :
รับฟังการบรรยายให้ความรู้จากผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ "ชาผักหวานป่า คุกกี้ บราวนี่ ผงโรยข้าวจากผักหวานป่า และผู้ประกอบการโกโก้อินทรีย์"

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 29/01/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ  กันบุตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.ฑีฆา  โยธาภักดี (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำฝน  รักประยูร (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลักขณา  พันธุ์แสนศรี (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.วิลาสินี  บุญธรรม (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 11 คนๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 660 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 11 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 110 บาท
3. ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
3.1 ค่าพาหนะเดินทางรถยนต์ส่วนตัว (ไป-กลับ) จำนวน 2 คัน ๆ ละ 78.75 กิโลเมตรละ ๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 630 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย จำนวน 2 คน ๆ ละ 1 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 2000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
รายวิชา 11206103 การจัดการร่วมสมัยและการพลิกผันในทางดิจิทัล และ 11206201 การตลาดดิจิทัล
ช่วงเวลา : 29/01/2568 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล