23009 : โครงการ Agri Market Season 6 “การเป็นผู้ประกอบการการผลิตพืชให้ทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลก”
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 21/1/2568 14:37:31
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
29/01/2568  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  150  คน
รายละเอียด  นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช และผู้เข้าร่วมดำเนินการจัดกิจกรรมแสดงนิทรรศการ สวนเกษตรมีชีวิต การผลิตพืชให้ทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลก ภายในจังหวัดแพร่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ที่จัดสรรให้สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ ฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 2568 15,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ละออทิพย์  นะโลกา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านการสื่อสารองค์กร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก
เป้าประสงค์ 68 MJU 1.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด 68 MJU 1.1.3 ผลการจัดอันดับ QS ด้านเกษตรและป่าไม้
กลยุทธ์ 68 MJU 1.1.3.1 ผลักดัน ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยด้านการเกษตรและป่าไม้เพื่อให้ได้รับการจัดอันดับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-1.การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก
เป้าประสงค์ 68-1.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด 68-1.1.3 ผลการจัดอันดับ QS ด้านเกษตรและป่าไม้
กลยุทธ์ 68-1.1.3.1 ผลักดัน ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยด้านการเกษตรและป่าไม้เพื่อให้ได้รับการจัดอันดับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้มีปรัชญาการศึกษา ที่จะมุ่งพัฒนาบัณฑิตที่อุดมไปปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อสร้างความรุ่งเรืองวัฒนาให้สังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยยังมีวิสัยทัศน์ที่ต้องพัฒนาขีดความของตัวเองให้มีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการเกษตร เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงบูรณาการ และถ่ายทอดนวัตกรรมด้านการเกษตรสู่ชุมชน สาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มีพื้นที่สำหรับการเรียนการสอน และการใช้ประโยชน์ในการใช้ในการประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาของสาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช โดยพื้นที่ดังกล่าวสามารถใช้เป็นสถานที่ ที่ฝึกทักษะและพื้นฐานการทำการเกษตรของนักศึกษาได้ เช่น พื้นที่ปฏิบัติ แปลงผลิตพืชผักเศรษฐกิจ แปลงปลูกไม้ดอกไม้ประดับ และการอนุบาลต้นกล้าโรงเรือนเพาะชำ ตามระบบมาตรฐานการผลิตพืช รวมถึงการบริการด้านการเกษตร เช่น การจัดการระบบการทำฟาร์มเชิงการค้า ตลอดจนการเรียนรู้เพื่อการเป็นผู้ประกอบการด้านธุรกิจเกษตร ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในรุ่นต่อไปทางสาขาจึงมีเป้าหมายที่จะดำเนินกิจกรรมการนำเสนอผลการเรียนรู้ในระดับรายวิชาของสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ซึ่งเป็นการบูรณาการของรายวิชาที่เปิดสอนของสาขาวิชา โดยนำเสนอทั้งเชิงวิชาและและเชิงความรู้สู่รูปแบบการนำเสนอแบบการแสดงนิทรรศการมีชีวิตในพื้นที่สวนเกษตรภายในฟาร์มพืช อันประกอบไปด้วยกิจกรรมการแสดงพืชผักเศรษฐกิจ ไม้ดอกไม้ประดับเศรฐกิจ และการจัดภูมิทัศน์สวนเกษตรในอุดมคติของนักศึกษา โดยจะเป็นการจัดทำโครงการเพื่อให้นักศึกษาใช้องค์ความรู้ในรายวิชาที่ได้เรียนมาในการปฏิบัติจริง เพื่อการนำเสนอผลการผลิตพืชให้เป็นสินค้าเกษตรที่มีความปลอดภัยและหันมาใส่ใจสุขภาพ และ เห็นถึงคุณค่าทางโภชนาการจึงส่งผลให้แนวโน้มทางด้านการตลาดของการผลิตอาหารที่ปลอดภัยในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ กระบวนการผลิตที่ตามระบบมาตรฐาน มีความน่าเชื่อถือ อีกทั้งยังมีการใช้ผลผลิตทางการเกษตรที่มีความเป็นเกษตรอินทรีย์ ลดการใช้ยาฆ่าแมลง สารเคมีในการปลูก รวมไปถึงการใส่ใจต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและโลกอีกทางหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการเกษตร และการบูรณาการร่วมกันระหว่างสาขาวิชาต่างๆ เช่น สาขาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ สาขาวิชาเกษตรป่าไม้ สาขาวิชาอุตสาหกรรมการเกษตร เป็นต้น อันจะนำมาซึ่งการเกิดกิจกรรมการนำเสนอตลาดนัดสวนเกษตรเพื่อการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการเกิดขึ้น จากเหตุผลและความสำคัญดังกล่าว สาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงจัดโครงการโครงการ Agri Market การผลิตพืชให้ทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์การเป็นศูนย์การเรียนรู้และการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ในด้านการเกษตร และสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในชุมชน จังหวัดแพร่ และเกิดการสร้างรายได้เข้ามหาวิทยาลัย อันจะตอบสนองกับประเด็นยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ที่เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ให้บริการวิชาการอันเป็นที่ยอมรับในสังคม

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อเป็นการเสนอผลงานการออกแบบสวนเกษตรต้นแบบเพื่อการผลิตพืชให้ทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลก ในวิถีผลิตพืชปลอดภัยใส่ใจสิ่งแวดล้อม
2 เพื่อยกระดับศักยภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาให้สามารถพัฒนาตนเองในการเรียนรู้ด้านการเกษตรและต่อยอดอาชีพได้ในอนาคต
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : แปลงเกษตรสาธิต ภายใต้โครงการ Agri Market การเป็นผู้ประกอบการการผลิตพืชให้ทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลก
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
150 คน 150
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : แปลงเกษตรสาธิต ภายใต้โครงการ Agri Market การเป็นผู้ประกอบการการผลิตพืชให้ทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลก
ชื่อกิจกรรม :
1) เตรียมพื้นที่ ออกแบบ ดำเนินการจัดสวนเกษตรมีชีวิต ภายใต้โครงการ Agri Market การเป็นผู้ประกอบการการผลิตพืชให้ทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลก

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 29/01/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ละออทิพย์  นะโลกา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ศรายุทธ  ตรีรัตน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ประกิตต์  โกะสูงเนิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.อนุวัฒน์  จรัสรัตนไพบูลย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ศิริโสภา อินขะ  วรรณวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ธัญญรัตน์  เชื้อสะอาด (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่มีค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ชื่อกิจกรรม :
2) กิจกรรมแสดงแปลงเกษตรสาธิต ภายใต้โครงการ Agri Market การเป็นผู้ประกอบการการผลิตพืชให้ทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลก ประจำปี 2568 ของสาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้ แพร่ – เฉลิมพระเกียรติ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 29/01/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ละออทิพย์  นะโลกา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ศรายุทธ  ตรีรัตน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ศิริโสภา อินขะ  วรรณวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ประกิตต์  โกะสูงเนิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.อนุวัฒน์  จรัสรัตนไพบูลย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุเกษตร เป็นเงิน 12,000 บาท
2. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 15000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย.002 โครงการ Agri market.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
รายวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืชผักเศรษฐกิจ (11202303) รายวิชาเทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ (ทพ 302/ 11202302) รายวิชาระบบการทำฟาร์มและการจัดการฟาร์มเชิงการค้า / การทำฟาร์มและธุรกิจสมัยใหม่ (ทพ 331/11020331) รายวิชาธุรกิจเกษตร (ทพ 333) และการนำงานวิจัยในชั้นเรียนของ รายวิชาเทคโนโลยีหลักการเก็บเกี่ยว (ทพ 350)
ช่วงเวลา : 29/01/2568 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล