22977 : โครงการ การพัฒนาและยกระดับความเป็นผู้ประกอบการ Street Food ด้วยภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น (Season 3)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 13/1/2568 14:09:50
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา (เบิกจ่ายจากงบพัฒนากิจกรรมนักศึกษา)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
22/01/2568  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  นักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินพัฒนานักศึกษา) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ ฯ ประจำปีปงบประมาณ พ.ศ.2568 2568 7,400.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กรรณิการ์  กาญจันดา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 4. การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 68 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 68 MJU 4.1.1 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 68 MJU 4.1.1.1 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-4.การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 68-4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 68-4.1.1 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 68-4.1.1.1 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การดำเนินการส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการในประเทศไทยสอดคล้องกับรัฐบาลมีนโยบายเกี่ยวกับ “โมเดลประเทศไทย 4.0” ที่ให้ความสำคัญในการสร้างผู้ประกอบการ เช่น โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการ ใหม่ (New Entrepreneur Creation: NEC) การทำหลักสูตรการศึกษาสาขาผู้ประกอบในมหาวิทยาลัยทั้ง ภาครัฐและเอกชน เป็นต้น ยิ่งทำให้เห็นการหาแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะของผู้เรียนให้มีความเป็นผู้ประกอบการยิ่งมีความสำคัญและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ความเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneurship) เป็นทักษะสำคัญและเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การผลักดันกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมทักษะความเป็นผู้ประกอบการแก่ผู้เรียนจึงมีความสำคัญ เพราะจะทำให้ประเทศมีกำลังคนที่มีส่วนช่วยผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโต นอกจากประโยชน์ที่เกิดกับเศรษฐกิจและสังคมแล้ว คุณลักษณะและสมรรถนะของความเป็นผู้ประกอบการยังช่วยสร้างความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และความมั่นใจให้เกิดขึ้นในบุคคล กระแสความนิยมในอาหารไทยมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากจะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยแล้ว ยังสามารถส่งเสริมให้ผู้ประกอบการร้านค้าขยายโอกาสทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยว ขณะเดียวกันก็สามารถใช้เป็น “Soft Power” ในการผลักดันให้ Street Food ไทยสู่เวทีโลกซึ่งสอดรับกับนโยบายของภาครัฐ ประเทศไทยมีชื่อเสียงด้าน Street Food ที่มีความหลาหลายและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นที่นิยมของคนในประเทศและต่างประเทศ ปัจจุบัน Street Food มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและเป็นแหล่งเรียนรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมการกินและวิถีชีวิตของคนในสังคม เพราะเป็นสิ่งใกล้ตัวและผูกพันกับคนในท้องถิ่นมากที่สุด การขายอาหาร Street Food เปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นอาชีพของคนต้นทุนน้อยเพื่อรอวันขยับขยายใหญ่ขึ้นเป็นผู้ประกอบการเต็มตัว ถึงแม้ว่าไม่ได้สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจเท่ากับอุตสาหกรรมใหญ่ แต่การเป็น self-employed (นายจ้างตัวเอง) ถือเป็นการพึ่งตนเองและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐที่ต้องการสร้างผู้ประกอบการ ทั้งนี้ เพื่อสะท้อนวัฒนธรรมไทยและยกระดับความเป็นผู้ประกอบการ Street Food จึงควรนำภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นเข้ามาผสมผสาน เนื่องจากอาหารท้องถิ่นไทยมีเสน่ห์ของวัตถุดิบและรสชาติที่มีเอกลักษณ์ในตัวเองแสดงถึงอัตลักษณ์ชุมชนโดยที่วัฒนธรรมอาหารร้อยเรียงเรื่องราววิถีชีวิต ความเชื่อและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจทั้งรูปแบบ วิธีการปรุงแต่ง รสชาติ และคุณค่าทางโภชนาการ โครงการ “การพัฒนาและยกระดับความเป็นผู้ประกอบการ Street Food ด้วยภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น (Season 3)” เป็นโครงการที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งพัฒนางานเดิมที่การดำเนินงานประสบความสำเร็จและผู้เข้าร่วมโครงการเห็นว่าควรจัดโครงการนี้อีก เนื่องจากโครงการส่งเสริมความรู้ความสามารถและทักษะความเป็นผู้ประกอบการแก่นักศึกษาซึ่งเป็นประโยชน์ในด้านประสบการณ์ทำงาน ด้านวิชาการและวิชาชีพที่สอดแทรกแนวคิด BCG ในการประกอบธุรกิจด้านอาหารอย่างยั่งยืน อีกทั้งสามารถนำความรู้ไปต่อยอดสร้างอาชีพหรือหารายได้เสริม ตลอดจนเชื่อมโยงและบูรณาการกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิตและอาชีพ รวมทั้งการเรียนรู้ภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อส่งเสริมความรู้ ความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการ และเสริมสร้างประสบการณ์ทำงาน ด้านวิชาการและวิชาชีพแก่นักศึกษา
2 เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะความเป็นผู้ประกอบการแก่นักศึกษา และยกระดับอาหาร Street Food ด้วยภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น
3 เพื่อบูรณาการโครงการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิตและอาชีพ รวมทั้งภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ทักษะความเป็นผู้ประกอบการ Street Food ด้วยภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนนักศึกษาที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ทักษะความเป็นผู้ประกอบการ Street Food ด้วยภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น
ชื่อกิจกรรม :
การพัฒนาและยกระดับความเป็นผู้ประกอบการ Street Food ด้วยภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น (Season 3)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 22/01/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรณิการ์  กาญจันดา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เป็นเงิน 7,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 7400.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย.002โครงการ Street food 3.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล