22969 : โครงการคนหาธรรม
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 10/1/2568 10:42:56
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
10/01/2568  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ บุคลากร หรือผู้ที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ที่จัดสรรให้สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 2568 5,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพร  จันทร์ฉาย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านการสื่อสารองค์กร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.4.1 ความสำเร็จของแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
กลยุทธ์ 68 MJU 2.4.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรม นศ. การเรียนการสอน และการวิจัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68-2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด 68-2.4.2 จำนวนรายวิชาในหลักสูตรการเรียนการสอนที่บูรณาการเข้ากับศิลปวัฒนธรรม วัฒนธรรมเกษตรและภูมิปัญญาท้องถิ่น
กลยุทธ์ 68-2.4.2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม วัฒนธรรมเกษตร และภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้มีการบูรณาการกับ การเรียนการสอนในรายวิชาของหลักสูตร
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มีภารกิจหลัก 5 ด้าน คือ 1) การเรียรการสอน 2) วิจัย 3) บริการวิชาการ 4) ทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม 5) บริหารจัดการ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของส่วนงานที่ได้ดำเนินงานครอบคลุมขอบข่ายของงานที่หลากหลาย และมีนโยบายพัฒนาตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ด้านทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม คือ 1) ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาและบุคลากรรักษาไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี อันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนและประเทศชาติ 2) ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาและบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมตามประเพณีสำคัญ ๆ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ 3) สร้างความตระหนักในคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีวัฒนธรรมไทยให้กับสังคม โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชน 4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างกิจกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน วิจัย บริการวิชาการ และยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ในการพัฒนามหาวิทยาลัยและส่วนงาน “ประเพณีตากธัมม์” เป็นประเพณีโบราณ ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ มีอายุไม่ต่ำกว่า 200 ปี ที่ไม่ค่อยปรากฏเห็นมากนักในสังคมไทยหรือแทบไม่ปรากฏในท้องถิ่นอื่น ๆ นอกจากภาคเหนือของประเทศไทย และอาจมีเพียงหนึ่งเดียว คือ ที่วัดสูงเม่น จังหวัดแพร่ โดย ครูบากัญจนอรัญญวาสี หรือ ครูบามหาเถร แห่งวัดสูงเม่น เป็นประเพณีที่มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อให้คนเข้าถึงหลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนาโดยผ่านพิธีกรรม และ 2) เพื่อให้มีการจัดเก็บ ดูแล รักษาสภาพคัมภีร์ธรรมให้มีอายุการใช้งานที่ยั่งยืน โดยมีฐานคิดที่สำคัญ คือ แนวคิดความเชื่อในเรื่องอานิสงส์การสร้างคัมภีร์ธรรมถวายวัด โดยเชื่อว่า การฟังธรรมและสร้างคัมภีร์ธรรมถวายวัดว่า เป็นกุศลที่ยิ่งใหญ่ มีอานิสงส์มาก ซึ่งเป็นผลให้พุทธศาสนิกชนชาวล้านนาและชาวสูงเม่น มีความเชื่อและพร้อมใจกันสร้างคัมภีร์ธรรมถวายธรรมให้กับวัด และก็มีการจัดเก็บรักษาโดยใช้ประเพณีตากธัมม์ ซึ่งถือว่าเป็นกุศโลบายสำคัญที่ต้องการน้อมนำผู้คนให้เข้าถึงหลักธรรมคำสอน และผลที่ตามมาก็คือทำให้วัดสูงเม่นกลายเป็นวัดที่มีคัมภีร์ธรรมทางพระพุทธศาสนามากที่สุดในล้านนาจนถึงปัจจุบัน พระครูปัญญาสารนิวิฐ เจ้าอาวาสวัดสูงเม่น เจริญพรว่า เนื่องด้วยวัดสูงเม่น ได้จัดงาน “ประเพณีตากธัมม์ ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า” ขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อสืบสานงานประเพณีและอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานตามแบบฉบับของหลวงปู่ครูบามหาเถรทุกปี ซึ่งประเพณี “ตากธัมม์ ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า” เป็นประเพณีที่ชาวตำบลสูงเม่น จังหวัดแพร่ ได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน เพื่อย้อนรำลึกถึงคุณงามความดีของอดีตเจ้าอาวาสวัดสูงเม่น (ครูบากัณจนะ อรัญญวาสีมหาเถร หรือ ครูบามหาเถร) และฟื้นฟูประเพณีอันดีงาม สืบสานวัฒนธรรมทางศาสนา เปิดโอกาสให้คณะศรัทธาพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการทำบุญตามประเพณี ซึ่งครูบากัณจนะอรัญญวาสีมหาเถร หรือ ครูบามหาเถร นับเป็นปฐมครูบาเจ้าแห่งล้านนา สันนิษฐานว่าท่านเกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2332 มีอายุยาวนานถึง 4 รัชกาล (มรณะในปี 2421 รัชกาลที่ 4) พื้นเพดั้งเดิมเป็นคนแพร่หรือจังหวัดแพร่ หลังจากอุปสมบทท่านได้ศึกษาพระไตรปิฎกมูลกัจจายนะ ปรมัตถุ์ สัททาทั้ง 80 มัด สมัญญาภิธาน เป็นต้น จนแตกฉานในธรรมทั้งหมด และเป็นผู้สร้างคุณงามความดีไว้จำนวนมาก อาทิ จัดสร้างและรวบรวมเขียนธรรมใบลาน เป็นภาษาบาลี บรรจุไว้ในพระไตรปิฎกวัดสูงเม่น มีจำนวน 2,567 มัด นับเป็นผูกได้จำนวน 8,845 ผูก และยังได้นำไปบรรจุไว้ที่หลวงพระบางอีกจำนวนมาก“การหิงไฟพระเจ้า” เป็นการนำไม้ขนาดกว้าง 1 นิ้ว ยาวประมาณ 40-50 นิ้ว มาเหลาปอกเปลือกแล้วทาสีเหลือง พอถึงวันพระก็นำไม้ไปประเคนพระประธานในโบสถ์ แล้วนำไม้เหล่านั้นมารวมกันทำเป็นกระโจมไว้หน้าโบสถ์ ทำพิธีจุดไฟ ซึ่งในอดีตพิธีนี้ปฏิบัติกันเพื่อให้ความอบอุ่นในฤดูหนาวแก่พระสงฆ์และผู้มาทำพิธีในวัดนั่งเอง ดังนั้น โครงการคนหาธรรมนี้จึงเป็นโครงการที่เกี่ยวกับกิจกรรมตามประเพณีสำคัญ ๆ ทั้งในระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาและบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมตามประเพณีสำคัญ ๆ สร้างความตระหนักในคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีวัฒนธรรมไทยให้กับสังคม โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชน ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างกิจกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนในรายวิชา 11214373 การใช้ประโยชน์จากของเสียและการบำบัดมลพิษทางชีวภาพ และรายวิชา ผส 461 การจัดการของเสียปศุสัตว์ และวิจัย โดยจะดำเนินกิจกรรม คือ การผลิตถุงดูดซับความชื้นจากซังข้าวโพดด้วยชีวนวัตกรรม และนำไปใส่ในตู้จัดเก็บรักษาสภาพคัมภีร์ธรรม และร่วมกิจกรรมงานตากธัมม์ อ.สูงเม่น จ.แพร่ การนำคำภีย์ใบลานจากตู้มาตาก ทำความสะอาด เพื่อทำนุบำรุงรักษาให้คงอยู่ยาวนานสืบไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนาและประเพณีสำคัญของท้องถิ่นในจังหวัดแพร่
2. เพื่อทำนุบำรุงศาสนา ประเพณีสำคัญ และวัฒนธรรมของจังหวัดแพร่
3. เพื่อนำองค์ความรู้ด้านชีวนวัตกรรมมานำใช้ประโยชน์ร่วมกับศิลปวัฒนธรรม วัฒนธรรมเกษตร และภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. เพื่อบูรณาการรายวิชาในหลักสูตรการเรียนการสอนกับศิลปวัฒนธรรม วัฒนธรรมเกษตร และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : บูรณาการรายวิชาในหลักสูตรการเรียนการสอนกับศิลปวัฒนธรรม วัฒนธรรมเกษตร และภูมิปัญญาท้องถิ่น
KPI 1 : จำนวนรายวิชาในหลักสูตรการเรียนการสอนที่บูรณาการกับศิลปวัฒนธรรม วัฒนธรรมเกษตร และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 รายวิชา 2
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : บูรณาการรายวิชาในหลักสูตรการเรียนการสอนกับศิลปวัฒนธรรม วัฒนธรรมเกษตร และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชื่อกิจกรรม :
อบรมเชิงปฏิบัติการ "การผลิตถุงดูดซับความชื้นจากซังข้าวโพดด้วยชีวนวัตกรรม" เพื่อนำถวายวัดช่วยในการดูดซับความชื้นของคำภีย์ใบลาน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 10/01/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกอาทิตย์  ฤทธิเดชยิ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.วีรนันท์  ไชยมณี (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรดี  เสียงสืบชาติ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ศุกรี  อยู่สุข (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เช่น ซิลิก้าเจล เป็นต้น เป็นเงิน 2,000 บาท
2. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ผ้ามุ้ง เชือก เป็นต้น เป็นเงิน 500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย.002โครงการคนหาธรรม.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
วิชา 11214373 การใช้ประโยชน์จากของเสียและการบำบัดมลพิษทางชีวภาพ วิชา ผส 461 การจัดการของเสียปศุสัตว์
ช่วงเวลา : 10/01/2568 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล