22957 : การแลกเปลี่ยนเรียนรู้: การดูแลสุขภาพในวัยเจริญพันธ์กับความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Learning Exchange: Reproductive Health Care and Cultural Diversity)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.ศกุนตลา จินดา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 7/1/2568 15:18:24
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
08/01/2568  ถึง  08/01/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  45  คน
รายละเอียด  1. คณบดี คณาจารย์และบุคลากร จำนวน 10 คน 2. นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2 จำนวน 10 คน 3. นักศึกษา CSL เกาหลีและแม่โจ้ จำนวน 25 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะพยาบาลศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน คณะพยาบาลศาสตร์ แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานรอง : แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ผลผลิต : ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ กิจกรรมหลัก จัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ แผนงานการเรียนการสอน งานจัดการศึกษาสาขาพยาบาล กองทุนเพื่อการศึกษา งบเงินอุดหนุน โครงการตามแผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัย (มิติที่ 3) โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การดูแลสุขภาพในวัยเจริญพันธ์กับความหลากหลายทางวัฒนธรรม 2568 2,250.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จริยาพร  ศรีสว่าง
อาจารย์ อัณณ์ณิชา  วุฒิกุล
น.ส. ศกุนตลา  จินดา
นาง รัตนา  กันตีโรจน์
นาย ศักดิ์นรินทร์  แก่นกล้า
น.ส. สาวิตรี  ทิพนี
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
นาง มาลี  ล้วนแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะพยาบาลศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่ก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการพัฒนาพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 68 MJU 2.1.9.5 ส่งเสริมกิจกรรมพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรและปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัย
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 3. การขับเคลื่อนความเป็นนานาชาติ (International)
เป้าประสงค์ 68 MJU 3.1 ความสำเร็จในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 68 MJU 3.1.4 จำนวนนักศึกษาแลกเปลี่ยนทุกระดับ ทุกหลักสูตร หรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมชาวต่างชาติ (Inbound/ Outbound)
กลยุทธ์ 68 MJU 3.1.4.1 เพิ่มจำนวนนักศึกษาต่างชาติ และนักศึกษาแลกเปลี่ยนทั้ง Inbound และ Outbound
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก MOC
เป้าประสงค์ พยบ68-2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่ก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ
ตัวชี้วัด พยบ68-2.1.5 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการพัฒนาพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21  (mju 2.1.9)
กลยุทธ์ พยบ68-2.1.5.4 ส่งเสริมกิจกรรมพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรและปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัย
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3 การขับเคลื่อนความเป็นนานาชาติ (International)
เป้าประสงค์ พยบ68-3.1 ความสำเร็จในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย/คณะ ในระดับชุมชน/นานาชาติ
ตัวชี้วัด พยบ68-3.1.3 จำนวนนักศึกษาแลกเปลี่ยนทุกระดับ ทุกหลักสูตร หรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมชาวต่างชาติ (Inbound/ Outbound) (mju 3.1.4)
กลยุทธ์ พยบ68-3.1.3 เพิ่มจำนวนนักศึกษาต่างชาติ และนักศึกษาแลกเปลี่ยนทั้ง Inbound และ Outbound
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ พยบ68-1.1 เป็นมหาวิทยาลัย/คณะ ที่มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดี ยั่งยืน รักษ์โลก ไร้โรค (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด พยบ68-1.1.4 ผลการจัดอันดับ SDG Impact Ranking (Eco. University) (mju 1.1.4)
กลยุทธ์ พยบ68-1.1.4 สนับสนุนและขับเคลื่อนการดำเนินงานคณะและผลงานการให้บริการวิชาการของคณะเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

อนามัยการเจริญพันธุ์เป็นภาวะความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่เป็นผลอันเกิดจากกระบวนการทำหน้าที่ของระบบสุขภาพทางเพศและการเจริญพันธุ์ตลอดช่วงชีวิต ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งปัจจุบันปัญหาของอนามัยการเจริญพันธุ์มักเกิดในกลุ่มวัยรุ่นรวมถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ได้แก่ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การติดเชื้อและเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงการติดเชื้อเอชพีวี (human papilloma virus) หรือโรค HPV ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก มะเร็งช่องปากและลำคอได้ ซึ่งมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับสองในหญิงไทยรองจากมะเร็งเต้านม สาเหตุหลักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ที่เนื้อเยื่อบุผิวปากมดลูก ทำให้เซลล์บริเวณปากมดลูกเจริญผิดปกติ และก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกในที่สุด ทั้งนี้สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน HPV ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกในผู้ที่ยังไม่พบติดเชื้อมาก่อน กระทรวงสาธารณสุขประเทศไทยได้มีนโยบายเสริมสร้างภูมิคุ้มกันประชาชนให้มีภูมิคุ้มกันเพียงพอต่อการป้องกันมะเร็งปากมดลูก และได้กำหนดให้ “มะเร็งปากมดลูก” เป็น 1 ใน 5 มะเร็งสำคัญ ภายใต้นโยบายการดำเนินงาน “มะเร็งครบวงจร” โดยวางเป้าหมายการดำเนินงานฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV Vaccine) ในหญิงไทยอายุ 11 - 20 ปี ทั้งในและนอกระบบการศึกษา ทั้งนี้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะได้บริการฉีดวัคซีน HPV ให้ที่หน่วยพยาบาล ศูนย์กิจการนักศึกษา อาคารอำนวย ยศสุข มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยฉีดเข็มที่ 1 ระหว่างวันที่ 7-10 มกราคม 2568 และเข็มที่ 2 ในเดือนตุลาคม 2568 ประเทศไทยมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๗๙) ที่ต้องการให้ประเทศบรรลุวิสัยทัศน์คือ “มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”เพื่อความสุขของคนไทยทุกคน โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 เกี่ยวกับการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ เพื่อคนไทยในอนาคตจะต้องมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา มีพัฒนาการดีรอบด้าน รวมถึงการมีสุขภาวะที่ดีทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะรับผิดขอบต่อสังคมและผู้อื่น และเป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ซึ่งมีความจำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ มีนิสัยรักการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการยุคใหม่โดยสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง มีการกําหนดนโยบายด้านการศึกษา ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน สร้างปฏิสัมพันธ์ ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก สร้างแรงบันดาลใจ ให้คำปรึกษาดูแลเป็นโค้ชและพี่เลี้ยง แสวงหาเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เรียนรู้อย่างมีความหมาย เกิดความรู้ความข้าใจในตนเอง ใช้สติปัญญาคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงานวัตกรรม ที่บ่งบอกถึงการมีสมรรถนะสำคัญในศตวรรษที่ ๒๑ มีทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะวิชาชีพ ที่บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ตามระดับช่วงวัย ทั้งนี้การดูแลให้นักศึกษาซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก มะเร็งช่องปากและลำคอได้ เป็นส่วนหนึ่งของการมีสุขภาวะที่ดีทุกช่วงวัย ตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ภายใต้การดำเนินตามปรัชญา วิสัยทัศน์และพันธกิจ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการศึกษาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ หรือสมรรถนะบุคลากรตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ในมิติที่ 3 ด้านการขับเคลื่อนความเป็นนานาชาติตามกรอบทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้และคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อการพัฒนาด้านวิชาการ และการวิจัย สร้างผลงานสู่ระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษา สู่บัณฑิตที่พึงประสงค์ตามต้องการของตลาดแรงงานสากล การสอดรับกับพันธกิจและอัตลักษณ์ด้านการพยาบาล ซึ่งในระหว่างนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับนักศึกษาแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมจากประเทศเกาหลี ซึ่งเป็นนักศึกษาพยาบาล นักศึกษาแพทย์ และนักศึกษาเภสัชศาสตร์ รวมจำนวน 23 คน (CSL Maejo) จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะได้และเปลี่ยนความรู้ทางสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับนักศึกษาพยาบาล ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงเกิดโครงการ “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้: การดูแลสุขภาพในวัยเจริญพันธ์กับความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Learning Exchange: Reproductive Health Care and Cultural Diversity) ขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักศึกษา สถาบัน องค์กรวิชาชีพ และประเทศโดยมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) แผนการปฏิรูปประเทศ นโยบายรัฐบาล แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งบริบทการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ ที่มีผลต่อการส่งเสริมสุขภาพของประเทศไทย ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1.เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างนักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างประเทศ
2. เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศแก่นักศึกษา/บุคลากร
3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และได้แนวคิดด้านการดูแลสุขภาพในวัยเจริญพันธ์กับความหลากหลายทางวัฒนธรรม
4. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการทราบแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อการไปแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม หรือการทำงานระดับนานาชาติด้านการพยาบาล
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้: การดูแลสุขภาพในวัยเจริญพันธ์กับความหลากหลายทางวัฒนธรรม หรือการทำงานระดับนานาชาติด้านการพยาบาล
KPI 1 : ร้อยละผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนทางเรียนรู้กับนักศึกษา CSL เกาหลีและแม่โจ้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการในภาพรวม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการได้ฝึกทักษะการฟังภาษาต่างประเทศ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละผู้เข้าร่วมโครงการตามเป้าหมายไม่น้อยกว่า
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจหลักการดูแลสุขภาพในวัยเจริญพันธ์กับความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้: การดูแลสุขภาพในวัยเจริญพันธ์กับความหลากหลายทางวัฒนธรรม หรือการทำงานระดับนานาชาติด้านการพยาบาล
ชื่อกิจกรรม :
จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้: การดูแลสุขภาพในวัยเจริญพันธ์กับความหลากหลายทางวัฒนธรรม หรือการทำงานระดับนานาชาติด้านการพยาบาล (Learning Exchange: Reproductive Health Care and Cultural Diversity)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 08/01/2568 - 08/01/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จริยาพร  ศรีสว่าง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์อัณณ์ณิชา  วุฒิกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.ศกุนตลา  จินดา (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางรัตนา  กันตีโรจน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายศักดิ์นรินทร์  แก่นกล้า (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.สาวิตรี  ทิพนี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 45 คน 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,250.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,250.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 2250.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล