22811 : โครงการแม่โจ้-ชุมพรรักษ์ป่าชายเลนประจำปี 2568
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 12/12/2567 20:16:23
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  นักศึกษาและคณาจารย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้- ชุมพร และบุคคลทั่วไปที่สนใจ จำนวน 50 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากโครงการตามแผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัย (มิติที่ 2) แผนงานการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 2568 5,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรพิมล  พิมลรัตน์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก
เป้าประสงค์ 68 MJU 1.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด 68 MJU 1.1.4 ผลการจัดอันดับ SDG Impact Ranking (Eco. University)
กลยุทธ์ 68 MJU 1.1.4.1 ผลักดันการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยและผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนที่เกี่ยวข้อง
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.4.1 ความสำเร็จของแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
กลยุทธ์ 68 MJU 2.4.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรม นศ. การเรียนการสอน และการวิจัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.68 : 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.68 : 1.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดียั่งยืน รักษ์โลก ไร้โรค (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.68 : 1.1.2 ผลการจัดอันดับ SDG Impact Ranking
กลยุทธ์ มจ.ชพ.68 : 1.1.2.1 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.68 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.68 : 2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.68 : 2.4.1 ความสำเร็จของแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
กลยุทธ์ มจ.ชพ.68 : 2.4.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา การเรียนการสอน และการวิจัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

“ป่าชายเลน” หรือชาวบ้านที่อาศัยบริเวณริมฝั่งทะเลมักเรียกกันติดปากว่า “ป่าโกงกาง” เนื่องจากมีไม้โกงกางเป็นไม้เด่นและขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ป่าชายเลนพบอยู่ทั่วไปบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณปากอ่าว ลำคลอง ทะเลสาบ และรอบเกาะแก่งต่างๆ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีน้ำทะเลท่วมถึง หรือเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าเป็นบริเวณพื้นที่น้ำกร่อยทั้งในแถบโซนร้อนและพื้นที่บางส่วนของกึ่งโซนร้อน ป่าชายเลนเปรียบเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำทางทะเลของไทยเพราะนอกจากจะเป็นแหล่งอนุบาลลูกสัตว์น้ำ และยังเป็นเกราะป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งและช่วยรักษาระบบนิเวศชายฝั่ง จึงนับเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทั้งในแง่นิเวศวิทยา สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง สำหรับภาคใต้ฝั่งทะเลตะวันตกของอ่าวไทย ตั้งแต่ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา จนถึงปัตตานี และด้านชายฝั่งทะเลอันดามัน จากระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง จนถึงสตูล มีพื้นที่มากที่สุดถึง 89.2 เปอร์เซ็นต์ของป่าชายเลนทั้งหมดของประเทศ ป่าชายเลนเป็นแหล่งรวมของสิ่งมีชีวิตนานาพันธุ์ทั้งพืชและสัตว์ พันธุ์ไม้ที่พบในป่าชายเลนของประเทศไทยประมาณ 60 ชนิด และที่สำคัญได้แก่ ไม้โกงกาง แสม ประสัก โปรง ถั่ว ลำพู ลำแพน ฝาด ตาตุ่ม เป็นต้น และยังพบพวกสาหร่ายหลายชนิดอาศัยตามลำต้น รากหายใจและรากอากาศ สำหรับสัตว์น้ำมีทั้งปลา กุ้ง หอย ปู โดยพบว่าปลามีถึง 72 ชนิด ทั้งเป็นปลาที่อาศัยอยู่ประจำ ปลาอาศัยอยู่ชั่วคราว ปลาที่มากับกระแสน้ำ และปลาที่พบในบางฤดูกาล และชนิดที่สำคัญ ได้แก่ ปลากระบอก ปลากะพง ปลานวลจันทร์ ปลากุเรา ปลากะรัง และปลาตีน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามป่าชายเลนของประเทศไทยได้ถูกตัดฟันทำลายเพื่อกิจกรรมต่างๆ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องมาโดยตลอด การทำลายป่าชายเลนไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใดก็ตาม นอกจากจะมีผลกระทบโดยตรงต่อแล้ว ยังทำให้ปริมาณและการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนบริเวณชายฝั่ง ตลอดจนสัตว์น้ำที่เลี้ยงตามชายฝั่งลดลงไปด้วย และในที่สุดจะส่งผลไปสู่การขาดความสมดุลของชายฝั่ง นั่นหมายถึงมีผลกระทบโดยตรงต่อ “อู่ข้าวอู่น้ำ” ของชุมชนชายฝั่งและเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมด้วย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่มีพื้นที่ติดกับชายฝั่งทะเล ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงปัญหาผลกระทบของการทำลายป่าชายเลนอย่างต่อเนื่องทั้งต่อการสูญเสียพื้นที่ ความอุดมสมบูรณ์ของต้นไม้ ปริมาณและการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนบริเวณชายฝั่ง ตลอดจนสัตว์น้ำที่เลี้ยงตามชายฝั่งลดลง ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนที่นับเป็นเรื่องจำเป็น และเป็นการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดแก่นักศึกษา บุคลากรและบุคคลทุกเพศทุกวัย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติประเภทป่าชายเลนให้เกิดแก่นักศึกษา บุคลากรและบุคคลทุกเพศทุกวัย
เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนที่มีความสำคัญกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและการท่องเที่ยวโดยชุมชนชายฝั่งทะเลจังหวัดชุมพร
เพื่อศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลนและวิถีชีวิตชาวบ้าน เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตโดยเรียนรู้จากสถานที่จริง
เพื่อให้นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งได้ประยุกต์องค์ความรู้ที่ได้จากการเรียน เช่น รายวิชาคุณภาพน้ำ รายวิชามีนวิทยา รายวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง รายวิชาเทคโนโลยีชีวภาพเบื้องต้นทางการประมง รายวิชาการปฏิบัติงานฟาร์มประมง 1 และ 2 รายวิชานิเวศวิทยาทางทะเล และรายวิชาโรคและการวินิจฉัยโรคสัตว์น้ำเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและนำไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : - พื้นที่ป่าชายเลนที่ได้รับการเข้าศึกษาเรียนรู้และอนุรักษ์อย่างน้อย 1 พื้นที่ และกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรหน้าหาดแม่โจ้-ชุมพร: หอยตลับและปูม้า
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนทรัพยากรท้องถิ่นหน้าหาดแม่โจ้-ชุมพร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ชนิด 2
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายตลอดทั้งโครงการ
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5000 บาท 5000
KPI 5 : ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 7 : จำนวนพื้นที่ป่าชายเลนที่ได้รับการเข้าศึกษาเรียนรู้และอนุรักษ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 พื้นที่ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : - พื้นที่ป่าชายเลนที่ได้รับการเข้าศึกษาเรียนรู้และอนุรักษ์อย่างน้อย 1 พื้นที่ และกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรหน้าหาดแม่โจ้-ชุมพร: หอยตลับและปูม้า
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม 1 : การศึกษาเรียนรู้ และปลูกป่าชายเลนคืนสมดุลชายฝั่งทะเลในพื้นที่จังหวัดชุมพรอย่างน้อย 1 พื้นที่
และกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรหน้าหาดแม่โจ้-ชุมพร: หอยตลับและปูม้า

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล  พิมลรัตน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่) จำนวน 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
งบประมาณดำเนินการน้อยเกินไป
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
สาขาวิชาหางบประมาณโครงการบริการวิชาการจากภายนอกนำมาบูรณาการร่วม
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
บูรณาการกับรายวิชา 11302191 การปฏิบัติงานฟาร์มประมง 1, พช351 โรคและการวินิจฉัยโรคสัตว์น้ำ, 11302211 คุณภาพน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง, 11302424 นวัตกรรมทางการประมงที่นำสมัย, 11302476 นวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรประมงเพื่อเศรษฐกิจ BCG รายวิชาคุณภาพน้ำ รายวิชามีนวิทยา รายวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง รายวิชาเทคโนโลยีชีวภาพเบื้องต้นทางการประมง รายวิชาการปฏิบัติงานฟาร์มประมง 1 และ 2 รายวิชานิเวศวิทยาทางทะเล และรายวิชาโรคและการวินิจฉัยโรคสัตว์น้ำเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและนำ
ช่วงเวลา : 01/10/2567 - 31/12/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล