22806 : โครงการการพัฒนาศักยภาพยุวมัคคุเทศก์สู่สากลผ่านการศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวนชาเมี่ยง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
นางธนันธรณ์ วุฒิญาณ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 11/12/2567 16:18:59
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
16/12/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  กลุ่มเยาวชน นักเรียนระดับชั้นประถมตอนปลาย มัธยมศึกษาตอนต้นและคณาจารย์ องค์การบริหารส่วนตำบล
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณสนับสนุนโครงการ อพ.สธ.-มจ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 2568 170,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ อลิษา  อินจันทร์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก
เป้าประสงค์ 68 MJU 1.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด 68 MJU 1.1.4 ผลการจัดอันดับ SDG Impact Ranking (Eco. University)
กลยุทธ์ 68 MJU 1.1.4.1 ผลักดันการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยและผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68-2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68-2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68-2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การทำสวนชาเมี่ยงได้ลดลงมากในพื้นที่ภาคเหนือปัจจุบัน ทั้งๆที่ชามีคุณสมบัติทางยา (pharmacological properties) หลายประการ เช่น มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตสูง (anti-hypertensive) (Henry J.P. and Stephens-Larson P., 1984) หรือ มีฤทธิ์เปนสารตานการเกิดมะเร็ง (anti-carcinogenic compounds) (Sadzuka et al., 2000) เป็นต้น สอดคล้องกับ ผศ.ดร.ชาติชาย โขนงนุช (2562) กล่าวว่า เมี่ยงเป็นชาป่าที่มีสารแทนนินต้านการอักเสบและไม่พบจุลินทรีย์ก่อโรคที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ อีกทั้งเป็นสมุนไพรที่ไม่ทำลายป่าเพราะต้องปลูกใต้ร่มไม้ใหญ่ ต่างจากไร่ชาทั่วไปที่ต้องโค่นป่าก่อนปลูก ผู้วิจัยจึงเห็นพ้องในการส่งเสริมมรดกภูมิปัญญาจากต้นเมี่ยง สืบเนื่องจากธนากรและคณะ (2563) ได้ศึกษาหากลไกและกระบวนการเพิ่มมูลค่าในพื้นที่สวนชาเมี่ยงโดยนำร่องในพื้นที่ จ.น่าน และ จ.แพร่ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและรายได้ให้แก่เกษตรกร ประกอบกับ อลิษา อินจันทร์ (2566) ได้สร้างเส้นทางเรียนรู้สวนชาเมี่ยงผ่านป้ายสื่อความหมายบนเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ต.เรือง อ.เมือง จ.น่าน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกร ปราชญ์ชาวบ้านและสมาชิกในชุมชนร่วมกันสร้างเส้นทางท่องเที่ยวเรียนรู้ชาเมี่ยง ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความจำเป็นในการพัฒนากำลังคนท้องถิ่นนอกเหนือจากบุคคลทั่วไป โดยเน้นส่งเสริม ผลักดันและสร้างจิตสำนึกให้แก่เด็กและเยาวชน ผู้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นในอนาคต เพื่อเป็นการปลูกฝังให้เห็นความสำคัญของพืชท้องถิ่น อันมีความความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของต้นเมี่ยงอันเป็นมรดกภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สืบทอดมาช้านานให้มีความยั่งยืนสืบไป ประสานเข้ากับแนวคิดการพัฒนายุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่มีจิตบริการและความชำนาญในพื้นที่ของตน นอกจากเล็งเห็นถึงคุณค่าทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ในท้องถิ่นตนเองยังสามารถเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวท้องถิ่นสู่สากล สร้างสรรค์ให้ชุมชนเรือง อ.เมือง จ.น่าน เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีคุณค่า เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้ สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals ในมิติด้านเศรษฐกิจและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ด้านเศรษฐกิจมูลค่าสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (High Value-added Economy) หมุดหมายการท่องเที่ยว ที่เน้นคุณค่าและความยั่งยืน เป็นต้นแบบให้กับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆเพื่อปลูกจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์พันธุกรรมชาเมี่ยงและสืบสานมรดกภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยไม่ให้หล่นหายไปตามกาลเวลา ทั้งยังเป็นการวางพื้นฐานที่สามารถสานต่อการพัฒนาในประเด็นสำคัญของประเทศในระยะต่อไปที่สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยใช้หลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำทาง แนวคิดการพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (Self-reliance)

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาต้นเมี่ยงผ่านเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวนชาเมี่ยง
3. เพื่อพัฒนา ทดสอบและประเมินผลการใช้คู่มือการสื่อสาร 2 ภาษา (ไทย-อังกฤษ) ของยุวมัคคุเทศก์ ต.เรือง อ.เมือง จ.น่าน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการ การพัฒนาศักยภาพ ยุวมัคคุเทศก์สู่สากลผ่านการศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวน ชาเมี่ยง
KPI 1 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้น จากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : บทความภายใต้ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพยุวมัคคุเทศก์สู่สากลผ่านการศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวนชาเมี่ยง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 บทความ 1
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
170000 บาท 170000
KPI 5 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
40 คน 40
KPI 6 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : คู่มือการสื่อสารภาษาอังกฤษของยุวมัคคุเทศก์เพื่อแนะนำชาเมี่ยงบนเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตร (ต้นแบบ)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 คู่มือ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการ การพัฒนาศักยภาพ ยุวมัคคุเทศก์สู่สากลผ่านการศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวน ชาเมี่ยง
ชื่อกิจกรรม :
1 การส่งเสริมเยาวชนศึกษาวิถีชาเมี่ยงบนเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตร ร่วมเรียนรู้ผ่านป้ายสื่อความหมาย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 16/12/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์อลิษา  อินจันทร์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 40 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,800 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 40 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล/ป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1 x 2 เมตร จำนวน 1 ผืน ๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
4. ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ข้อมูล จำนวน 40 ชุด ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
5. ค่าจ้างเหมาจัดทำแบบสอบถาม จำนวน 40 ชุด ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 800 บาท
6. ค่าจ้างเหมาจัดทำแผ่นพับ แผ่นพับสื่อความหมายชาเมี่ยงจำนวน 50 แผ่น แผ่นละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
7. ค่าเบี้ยเลี้ยงในการลงพื้นที่เพื่อประสานงานโครงการ จำนวน 1 คน ๆ ละ 16 วัน ๆ ละ 240 บาท เป็นเงิน 3,840 บาท
8. ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (ค่าพาหนะ) ลงพื้นที่เพื่อประสานงานโครงการ ระยะทางไป-กลับ 272 กิโลเมตรๆละ 4 บาท จำนวน 1 คัน 10 ครั้ง เป็นเงิน 10,880 บาท
9. ค่าที่พักแบบเหมาจ่าย จำนวน 1 ห้อง 10 วัน วันละ 800 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
10. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน 2 วัน ๆ ละ 2,400 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
11. ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 4,870 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 47,690.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 47,690.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรอภิปรายเสวนา จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 2 คน 2 วัน เป็นเงิน 14,400 บาท
2. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 2 คน ๆ ละ 200 บาท 15 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 20,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4 ปากกาเคมี ปากกาลูกลื่น แฟ้มฯลฯ เป็นเงิน 9,000 บาท
2. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ เครื่องอ่านข้อมูลแบบ CD-ROM ฯลฯ เป็นเงิน 9,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 18,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 18,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 86590.00
ชื่อกิจกรรม :
2 การพัฒนายุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและการนำเสนอชาเมี่ยงสู่สังคมโลก

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 16/12/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์อลิษา  อินจันทร์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 20 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 1,400 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 20 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล/ป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1 x 2 เมตร จำนวน 1 ผืน ๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
4. ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่ม รายงานความก้าวหน้าและรายงานฉบับสมบูรณ์ จำนวน 5 เล่ม เล่มละ 300 บาท 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,000 บาท
5. ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ข้อมูล จำนวน 40 ชุด ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
6. ค่าจ้างเหมาจัดทำแบบสอบถาม จำนวน 40 ชุด ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 800 บาท
7. ค่าเช่าห้องประชุม จำนวน 1 ครั้ง ๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
8. ค่าจ้างเหมาผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องของภาษา จำนวน 1 ครั้ง ๆ ละ 4,990 บาท เป็นเงิน 4,990 บาท
9. ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือการสื่อสารยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่นฯ 2 ภาษา จำนวน 36 เล่ม ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท
10. ค่าเบี้ยเลี้ยงในการลงพื้นที่เพื่อประสานงานโครงการ จำนวน 1 คน ๆ ละ 24 วัน ๆ ละ 240 บาท เป็นเงิน 5,760 บาท
11. ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (ค่าพาหนะ) ลงพื้นที่เพื่อประสานงานโครงการ ระยะทางไป-กลับ 272 กิโลเมตรๆละ 4 บาท จำนวน 1 คัน 10 ครั้ง เป็นเงิน 10,880 บาท
12. ค่าที่พัก แบบเหมาจ่าย จำนวน 1 ห้อง 10 วัน วันละ 800 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
13. ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 51,430.00 บาท 0.00 บาท 51,430.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรอภิปรายเสวนา จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 3 คน 1 วัน เป็นเงิน 10,800 บาท
2. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 2 คน ๆ ละ 200 บาท 15 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 16,800.00 บาท 0.00 บาท 16,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4 ปากกาเคมี ปากกาลูกลื่น แฟ้มฯลฯ เป็นเงิน 4,000 บาท
2. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ เครื่องอ่านข้อมูลแบบ CD-ROM ฯลฯ เป็นเงิน 7,000 บาท
3. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถุงดำ ไม้กวาด ถุงมือยาง ฯลฯ เป็นเงิน 4,180 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,180.00 บาท 0.00 บาท 15,180.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 83410.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
1) ขั้นตอนการเบิกจ่ายล่าช้า
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1) เตรียมเอกสารเพื่อการเบิกจ่ายให้ทันเวลา
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล