22770 : โครงการ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
นางดวงใจ ไพพงค์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2/12/2567 14:39:50
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  ผู้ให้ข้อมูลไม่น้อยกว่า จำนวน 10 คน ประกอบด้วย ปราชญ์ชาวบ้านในแต่ละสาขา โดยมีเป้าหมายผู้รับบริการเป็น นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ จำนวน 100 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะพัฒนาการท่องเที่ยว หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน แผนงานพื้นฐาน แผนงานรอง แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผลผลิต ผลงานการให้บริการวิชาการ กิจกรรมหลัก เผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์ แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป เงินอุดหนุนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (อพ.สธ.) 2568 63,300.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. เชษฐ์  ใจเพชร
อาจารย์ อุทัยวรรณ  ศรีวิชัย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.2 สร้างผลงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีการบูรณาการศาสตร์ โดยใช้เกษตรเป็นรากฐาน และได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.2.2 จำนวนเงินวิจัยด้านสังคมศาสตร์
กลยุทธ์ 68 MJU 2.2.1.2 แสวงหางบประมาณการวิจัยทั้งงบภายในและภายนอก(ครอบคลุมแหล่งทุนอื่นนอกจาก PMU เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 TDS 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 TDS 2.2 มีผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ใช้เกษตรเป็นรากฐานและได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 TDS 2.2.1 จำนวนเงินวิจัยด้านสังคมศาสตร์
กลยุทธ์ 67-70 TDS ส่งเสริมให้คณาจารย์ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจากภายนอกโดยการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแหล่งทุนต่างๆ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ภูมิปัญญาท้องถิ่นถือเป็นความรู้ที่เป็นองค์รวม ซึ่งรวบรวมความรู้ต่าง ๆ ให้มาสัมพันธ์กันจนเกิดมิติรอบด้าน สะท้อนความคิด ความเชื่อ ความใฝ่ฝัน ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว คนในชุมชนท้องถิ่นและจารีตประเพณีต่าง ๆ ซึ่งเป็นรากฐานการดำรงชีวิตของคนในสังคมนั้น เป็นสรรพวิชาความรู้ทั้งหมดที่ชุมชนท้องถิ่นใช้แก้ปัญหาหรือจรรโลงชีวิต ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเลี้ยงชีพหรือประโยชน์ด้านอื่น ๆ ในการดำรงชีวิตของชุมชนท้องถิ่นและปัจเจกชน ซึ่งความสำคัญดังกล่าวได้รับความสนใจจากองค์กรต่าง ๆเช่น องค์กรภาครัฐ องค์กรเอกชนและองค์กรชุมชนท้องถิ่น หรือองค์กรชาวบ้าน เพื่อให้คนไทยได้หันมาทำความเข้าใจภูมิหลังและรากเหง้าทางวัฒนธรรมของตนเองมากขึ้น หาใช่จะทวนกระแสความเจริญหันกลับไปหลงใหลได้ปลื้มกับชีวิตในอดีตก็หาไม่ แต่เป็นปฏิกิริยาเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้คนไทย สังคมไทย ดำรงอยู่และก้าวหน้าต่อไปอย่างมีดุลยภาพให้ทันโลก (Orburn, F. William, 1963, p. 81)ขณะเดียวกันก็เป็นตัวของตัวเองอย่างมีศักดิ์ศรี มีความเชื่อมั่นและความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของเราเอง ในการพัฒนาคนหรือให้การศึกษากับคนเพื่อก้าวไปในอนาคต ไม่เพียงแต่เราจะต้องรอบรู้วิทยาการใหม่ ๆ เท่านั้น เราจำเป็นต้องรู้จักตนเอง เข้าใจภูมิปัญญาของเราเอง มีฐานรากพื้นเพทางวัฒนธรรม อันได้สั่งสม สืบสานกันมาช้านาน และบัดนี้ก็ยังงอกเงยไม่รู้จบ เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนและพัฒนาอย่างมีศักดิ์ศรีบนแนวทางผสมผสาน “ของดี” ที่เรามีอยู่เป็นทุน กับ “ของใหม่” ที่เราเลือกแล้วว่าเหมาะแก่เรา (สุวัฒน์ วัฒนวงศ์, 2551, น.51) ดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ความว่า “สภาพภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่กำหนดลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ ประเทศไทยประกอบด้วยภูมิภาคต่างๆ การปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันทำให้คนไทยมีวิถีชีวิตที่หลากหลาย” กล่าวได้ว่าภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยกำหนดวิถีชีวิตของมนุษย์ ทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันมีรูปแบบและแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ต่างกันด้วย และผลจากการที่มนุษย์ปรับตัวให้สามารถดำรงชีวิตอยู่รอด สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเหล่านี้ ได้ส่งผลให้เกิดเป็นภูมิปัญญาแสดงถึงลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นตน (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2545), ชุมชนออนใต้ เป็นชุมชนตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนได้เป็นอย่างดี และในฐานะหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) จากสานักพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยประสานในการจัดกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการสร้างสรรค์อุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม โดยตำบลออนใต้ (ชุมชนออนใต้) นั้น เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ถือเป็นเมืองเก่าที่มีตำนานเล่าขานมาอย่างยาวนาน ในลักษณะ “ร้อยเรื่องเล่า” และเป็นชุมชนที่ยังรักษาวิถีชีวิตพื้นบ้านแบบดั้งเดิม โดยใช้แนวคิดวิถีชีวิตแบบ “บ้านจุ้ม เมืองเย็น” (บ้านที่อุดมสมบูรณ์ เมืองที่สงบร่มเย็น) และด้วยคำว่าประวัติยาวนาน เนื่องจากในชุมชนมีการค้นพบศิลาจารึกในวัดเชียงแสน เป็นหลักฐานที่บอกว่าชาวบ้านที่นี่ อพยพมาจากพันนาพูเลา แขวงเมืองเชียงแสน (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดเชียงราย) มาตั้งอยู่ริมน้ำแม่ออน ก่อตั้งหมู่บ้านที่ผลิตเครื่องถ้วยชามเครื่องถ้วยศิลาดล และตำบลออนใต้มีความโดดเด่นในเรื่องของประเพณี ศิลปวัฒนธรรมไทย อีกทั้งภูมิปัญญาในด้านต่าง ๆ และในชุมชนแห่งนี้ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้จากในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมเยือนในพื้นที่จำนวน 9 ครั้ง ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งในด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนในชุมชน และการเรียนรู้ในระยะยาวการส่งต่อองค์ความรู้ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาต้องอาศัยองค์ความรู้ที่เรียกว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สะสมมาเป็นเวลาช้านาน เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลข้อมูล เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผสมผสานกับคนในชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม และการอนุรักษ์เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อศึกษาและสำรวจองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ที่เผยแพร่ผ่านระบบออนไลน์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ระบบฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น เครือข่ายความร่วมมือ (Network) และบทความวิจัย
KPI 1 : จำนวนเครือข่ายความร่วมมือ (Network)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เครือข่าย 1
KPI 2 : จำนวนต้นฉบับบทความวิจัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 3 : จำนวนระบบฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ระบบ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ระบบฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น เครือข่ายความร่วมมือ (Network) และบทความวิจัย
ชื่อกิจกรรม :
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.เชษฐ์  ใจเพชร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูล
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
18,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำเล่มรายงาน จำนวน 500 บาท x 5 เล่ม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
เงินสนับสนุนการตีพิมพ์บทความวิชาการ/บทความวิจัย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
วัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น จำนวน 4 บาท x 74 กม. (ไป-กลับ) x 20 ครั้ง) เป็นเงิน 5,920 บาท แต่ขอเบิกเพียง 5,900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
5,900.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 200 บาท x 20 วัน x 3 คน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
12,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลา จำนวน 30 บาท x 8 ชั่วโมง x 20 วัน x 2 คน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
9,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
5,300.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 63300.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล