ประเทศไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530–2534) กล่าวถึงการส่งเสริมและพัฒนาพืชสมุนไพรเพื่อเป็นยา เนื่องจากแนวโน้มความนิยมสมุนไพรของตลาดโลกสูงขึ้นมาก จากการคาดการณ์ขององค์การอนามัยโลก ที่มีมูลค่าถึง 3,000 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2549 เพิ่มขึ้นเป็น 5,000 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2593 (Vinit, 2015) นอกจากสรรพคุณของตัวสมุนไพรที่ได้รับการสนใจศึกษามากขึ้น รูปแบบผลิตภัณฑ์เองก็เป็นสิ่งถูกพัฒนาควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ได้รูปแบบผลิตภัณฑ์ พกพาสะดวก ใช้ง่าย และมีอัตลักษณ์ด้วยรูปแบบหรือกลิ่นไอภูมิปัญญาดั้งเดิม จึงถือว่าเป็นโจทย์ปัญหาที่น่าสนใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงอนุรัก
การใช้ประโยชน์จากพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่ (ห้อม คราม และเบิก) ในปัจจุบันนิยมใช้ในการย้อมสีผ้า แต่ในสมัยโบราณยังพบว่ามีการนำห้อมมาใช้เป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านในการรักษาอาการไข้ โดยการนำส่วนใบมาต้มและดื่มกินเพื่อใช้ในการรักษาไข้ หรือใช้ส่วนรากและใบต้มน้ำดื่มใช้แก้ไข้ ลดอาการปวดศีรษะเนื่องจากหวัด บรรเทาอาการเจ็บคอ หลอดลมอักเสบ ต่อมทอน-ซิลอักเสบหรืออาการตาอักเสบ (Ashli and Peter, 2012; ณัฐพร, 2564) หรือใช้ภายนอกโดยการนำส่วนใบมาตำ ให้ละเอียดประคบหรือหมกไว้บริเวณอุ้มฝ่าเท้าค้างคืนเพื่อบรรเทาอาการไข้ (ณัฐพร, 2564) ในตำราแพทย์แผนไทยได้ยกตัวอย่างกลุ่มสารที่ส่งผลต่อระบบประสาท ได้แก่ สารกลุ่มอัลคาลอยด์ (alkaloids) และกลุ่มเทอร์-ปีนส์ (terpenoids)รวมถึงกลุ่มกลัยโคไซด์ (glycoside) และ ฟลาโวนอยด์ (flavonoids)โดยสารเหล่านี้มีรสขม สมุนไพรรสขมมีฤทธิ์เย็นช่วยลดไข้ บำรุงโลหิตและน้ำดี ช่วยในการเจริญอาหารและย่อยอาหาร ช่วยให้นอนหลับและขับถ่ายได้ดี (Chayan, 2013) เครื่องยาจีนบางขนานก็มีการใช้รากของต้นฮ่อมเป็นส่วนประกอบ โดยเครื่องยาจีนขนานนี้มีผลในการรักษาไข้หวัดใหญ่ (Tanaka, 2004) เมื่อศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับสารประกอบเคมีจากต้นห้อม พบว่า สารส่วนใหญ่เป็นสารให้สี สารกลุ่มอัลคาลอยด์และ สารกลุ่มเทอร์ปีนหลายชนิด เช่น อินดิรูบิน (indirubin) อินดิโก (indigo) (Hou, 2006; Liau, 2007) อินดิกอยด์ (indigoid) อินโดแอลคาลอยด์ (indole alkaloids) ควินาโซลินอนแอลคาลอยด์ (quinazolinone alkaloids) ไตรเทอร์ปีน(triterpenes) ได้แก่ ลูพีออล (lupeol) บีทูลิน (botulin) และลูพินอน (lupenone) และซิโตสเตอรอล (sitosterols) (Honda, 1979; Li, 1993) และมีการนําสารสกัดจากห้อมไปทดสอบในสัตว์ทดลอง พบว่า สารสกัดจากห้อมแสดงฤทธิ์ต้านอาการอักเสบและลดไข้ในหนูทดลอง (Ho, 2003) ทริปแทนทริน (Tryptanthrin) เป็นอินโดลควินาโซลีน (indole quinazoline) ที่อาจเป็นสารอัลคาลอยด์จากพืชที่มีสีคราม ทริปแทนทรินเป็นสารยับยั้งการสังเคราะห์ทางชีวภาพของเซลล์ลิวโคไตรอีน (Leukotriene, LT) ที่มีศักยภาพและออกฤทธิ์ทางปาก ทริปแทนทรินมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ทริปแทนทรินระงับระดับการแสดงออกของ NOS1, COX-2 และ NF-κB และควบคุมระดับการแสดงออกของ IL-2, IL-10 และ TNF-α Tsai et al. (2020) ทดสอบฤทธิ์ต้านไวรัสของ Tryptanthrin ที่แยกได้จากใบของ S. cusia กับโคโรนาไวรัส NL63 ในมนุษย์ ทริปแทนทรินถูกคัดแยกได้จากแหล่งธรรมชาติมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งพบในพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบสีย้อมพื้นบ้าน ได้แก่ Chinese woad (Isatis tinctoria), ครามญี่ปุ่น (Polygonum tinctorium), Assam indigo (Strobilanthes cusia), Indigo naturalis (Strobilanthes formosanus) และdyer's oleander (Wrightia tinctoria) นอกจากนี้ ทริปแทนทรินยังแยกได้จากผลของต้น Cannonball tree (Couroupita guaianensis), กล้วยไม้ Paius mishmensis และ Calanthe discolor จากจุลินทรีย์กลุ่มเชื้อรา Schizophyllum commune และ Leucopaxillus cerealis และแบคทีเรียสายพันธุ์ Cytophaga genus นอกจากนี้ยังพบทริปแทนทรินในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยเฉพาะในปัสสาวะ ของช้างเอเชีย (Elephas maximus) และของเหลวในถุงปีกของค้างคาว Saccopteryx bilineata (Ashli and Peter, 2012) จากข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นการสนับสนุนถึงความเป็นไปได้ในการใช้สมุนไพรห้อมในการลดอาการไข้
เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการเตรียมตำรับยาสมุนไพรจากสารสกัดพร้อมใช้ Tryptanthrin ที่ได้จากพืชให้ครามของจังหวัดแพร่ ห้อม คราม (5 ชนิด ประกอบด้วย ห้อม 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย Strobilanthes cusia, Baphicacanthus cusia voucher และ Strobilanthes auriculata voucher คราม 1 สายพันธุ์ คือ Indigofera tinctoria L. และเบิก 1 สายพันธุ์ Marsdenia tinctoria จากศูนย์ห้อมและชีวนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ) ที่ได้จากการทำให้กลายพันธุ์และคัดเลือกด้วยการวิเคราะห์เมทาเจโนมิกของชุมชนจุลินทรีย์ในใบพืชให้สีครามโดยใช้กรดนิวคลีอิกที่สามารถผลิต Tryptanthrin เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์บรรเทาหวัด ลดไข้ เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์จากสารสกัดพร้อมใช้ Tryptanthrin และเพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยสารสกัดจากสมุนไพร ด้วยการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบสมุนไพรลดไข้จากสารสกัดพร้อมใช้ Tryptanthrin ในห้องปฏิบัติการร่วมกับการวิจัยแบบมีส่วนร่วมในชุมชน ผลการศึกษาตำรับ ยาสมุนไพรประกอบด้วยสารสกัดพร้อมใช้ Tryptanthrin เป็นตัวยาหลัก เมนทอลเป็นตัวยาเสริม และสารเติมแต่งอื่น ๆ ได้แก่ สารก่อเจล เอทานอล (ethanol) และกลีเซอรีน (glycerin) ได้ศึกษาชนิดของสารก่อเจลและอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมของสูตรตำรับยาเพื่อให้ได้ลักษณะเนื้อเจล นุ่มลื่นและเป็นเนื้อเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ต้นแบบเจลสมุนไพรเตรียมจากเนื้อเจลพื้นชนิดคาร์โบพอล (carbopol) ความเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักต่อปริมาตร ผสมสารสกัดพร้อมใช้ Tryptanthrin และสารเติมแต่งในอัตราส่วนร้อยละ 60:25:15 โดยน้ำหนัก ทดสอบผลการประเมินความพึงพอใจต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์แผ่นเจลลดไข้จากสารสกัดสมุนไพรพร้อมใช้ Tryptanthrin ทางด้านลักษณะ ทางกายภาพ ได้แก่ ด้านสี ด้านประสาทสัมผัส ได้แก่ ด้านกลิ่น ด้านรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ บรรจุหีบห่อพร้อมใช้ด้วยวัสดุทางการแพทย์ (หน้ากากอนามัยซีลขอบข้าง) และเนื้อเจลบรรจุถุงตาข่ายใส่ช่องแผ่นรัดฝ่าเท้า และด้านรูปแบบที่ต้องการให้พัฒนา ได้แก่ แบบหลอดบีบ
แนวโน้มธุรกิจของอุตสาหกรรมยา ปี 2564-2566 มูลค่าจำหน่ายยาในประเทศปี 2564 มีแนวโน้มขยายตัว 2.5% ชะลอลงจากปี 2563 ผลจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่รุนแรงและแผ่ลามไปทั่วประเทศ ทำให้คาดว่าจำนวนผู้เข้ารับบริการในโรงพยาบาลสำหรับโรคที่ไม่รุนแรงจะลดลง ขณะที่ปี 2565-2566 คาดว่ามูลค่าจำหน่ายยาจะขยายตัวเฉลี่ย 3.5% ต่อปี เนื่องจาก 1) กระแสการใส่ใจสุขภาพของคนไทยเพิ่มขึ้นหลังการระบาดรุนแรงของไวรัส COVID-19 2) จำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้การเจ็บป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 3) การเข้าถึงช่องทางการรักษาที่ดีขึ้นภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า และ 4) ผู้ป่วยต่างชาติมีแนวโน้มกลับมาใช้บริการมากขึ้น โดยอุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนสูงในการวิจัยและพัฒนาวัตถุดิบและตัวยาใหม่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ฐานการผลิตยาและเวชภัณฑ์หลักของโลกโดยเฉพาะยาจดสิทธิบัตรหรือยาต้นแบบกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งมีศักยภาพทั้งด้านบุคลากร องค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง โดยประเทศเหล่านี้สามารถผลิตเพื่อส่งออกยาและเวชภัณฑ์ตอบสนองความต้องการในตลาดโลก ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ยังเป็นเพียงผู้นำเข้ายาต้นตำรับ/ต้นแบบซึ่งมีราคาสูง อุตสาหกรรมยาแผนปัจจุบันของไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในขั้นปลายคือการผลิตยาสำเร็จรูป ยาที่ผลิตได้ในประเทศเป็นยาชื่อสามัญ (Generic drug) ซึ่งผู้ผลิตจะนำเข้าวัตถุดิบ ตัวยาสำคัญจากต่างประเทศมาผสมและผลิตเป็นยาสำเร็จรูปในรูปแบบต่าง ๆ โดยไทยนำเข้าวัตถุดิบยาสัดส่วนสูงประมาณ 90% ของปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยาสำเร็จรูปทั้งหมด กลุ่มยาที่มีมูลค่าการผลิตสูงสุด ได้แก่ กลุ่มยาแก้ปวด/แก้ไข้ จากข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นการสนับสนุนถึงความเป็นไปได้ในการใช้สมุนไพรพืชให้สีครามในการลดอาการไข้ ประเทศไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530–2534) กล่าวถึงการส่งเสริมและพัฒนาพืชสมุนไพรเพื่อเป็นยา เนื่องจากแนวโน้มความนิยมสมุนไพรของตลาดโลกสูงขึ้นมาก จากการคาดการณ์ขององค์การอนามัยโลก ที่มีมูลค่าถึง 3,000 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2549 เพิ่มขึ้นเป็น 5,000 ล้านล้าน เหรียญสหรัฐฯในปี 2593 (Vinit, 2015) นอกจาก สรรพคุณของตัวสมุนไพรที่ได้รับการสนใจศึกษามากขึ้น รูปแบบผลิตภัณฑ์เองก็เป็นสิ่งถูกพัฒนาควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ได้รูปแบบผลิตภัณฑ์ พกพาสะดวก ใช้ง่าย และมีอัตลักษณ์ด้วยรูปแบบหรือกลิ่นไอภูมิปัญญาดั้งเดิม จึงถือว่าเป็นโจทย์ ปัญหาที่น่าสนใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงอนุรักษ์ การศึกษาวิจัยนี้มุ่งพัฒนาสูตรตำรับยาสมุนไพรพืชให้สีครามและออกแบบต้นแบบผลิตภัณฑ์ สมุนไพรจากห้อมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนในจังหวัดแพร่ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ร่วมกับการใช้แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบสมุนไพรพืชให้สีครามลดไข้ โดยมีเป้าหมายในการกระตุ้นให้ชาวบ้านในชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของสมุนไพรภายในชุมชนของตนเอง ร่วมกันสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์เฉพาะถิ่นที่ชูความเป็นเอกลักษณ์อันเป็นภูมิปัญญา ดั้งเดิมของชุมชน พร้อมกับการส่งเสริมให้ชาวบ้านในชุมชนตระหนักถึงความมีสุขภาพที่ดี รู้จัก การดูแลสุขภาพตนเองด้วยสมุนไพร และการส่งเสริมการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพของชุมชนบนฐานทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น โดยส่งเสริมตั้งแต่กระบวนการปลูกพืชให้สีครามโดยใช้จุลินทรีย์อัดแท่งจากของเหลือทิ้งทางการเกษตรด้วยชีวนวัตกรรม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรบรรเทาอาการหวัด ลดไข้ ของสารสกัดพร้อมใช้ Tryptanthrin จากห้อม และยังเป็นการส่งเสริมการปลูกห้อมของจังหวัดแพร่ จนทำให้มีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้อย่างเพียงพอ ตลอดจนเพิ่มแนวทางในการผลิตที่มีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การสร้างคุณภาพชีวิตและความ เป็นอยู่ที่ยั่งยืนต่อไป
|