22759 : โครงการการศึกษา metagenomic ของจุลินทรีย์ในห้อมเพื่อพัฒนาสารสำคัญกลุ่ม Tryptanthrin เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรบรรเทาอาการหวัดลดไข้
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
นางธนันธรณ์ วุฒิญาณ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 29/11/2567 11:07:02
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
04/12/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  นักศึกษา นักวิจัย และประชาชนทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณสนับสนุนโครงการ อพ.สธ.-มจ ประจำปี 2568 2568 170,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพร  จันทร์ฉาย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 4. การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 68 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 68 MJU 4.1.1 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 68 MJU 4.1.1.1 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-4.การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 68-4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 68-4.1.5 งบประมาณการพัฒนาเทคโนโลยี/นวัตกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 68-4.1.5.1 ส่งเสริมบทบาทความร่วมมือกับภาคเอกชนและอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุน และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรมของประเทศ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พืชให้สีครามท้องถิ่นของจังหวัดแพร่หลายชนิดโดยเฉพาะห้อมเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดสู่ระดับประเทศ และระดับโลกที่นำมาผลิตเป็นสินค้าผ้าหม้อห้อม นอกจากห้อมแล้วยังมีพืชให้สีครามอีก 2 ชนิด คือ คราม และเบิก ที่ปัจจุบันไม่ได้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของแพร่แต่มีแนวโน้มของการใช้ประโยชน์ในด้านอื่น รวมทั้งบางชนิดยังไม่มีผู้ศึกษาศักยภาพในการใช้ประโยชน์จริงจังเนื่องจากขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในป่า (เบิก) นอกจากสารสีครามในพืชกลุ่มนี้แล้วนั้นยังมีสารสำคัญอื่นอีกหลายชนิด เช่น สารสำคัญกลุ่ม Indole alkaloid glucosides สารกลุ่มควินาโซลิโนน แอลคาลอยด์ (Quinazolinone alkaloids) โมโนเทอร์พีน (Monoterpenes) ไตรเทอร์พีน (Triterpenes) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) สเตอรอล (Sterols) แอนทราควิโนน (Anthraquinones) เบนโซซาซิโนน (Benzoxazinones) และลิกแนน (Lignans) (Honda and Tabata, 1979; Sun et al., 2008; Gu et al., 2014) ที่พบในครามและห้อม ซึ่งสารประกอบเหล่านี้มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อไวรัสบางชนิดได้รวมถึงมีคุณสมบัติในการต้านมะเร็งได้อีกด้วย (Honda and Tabata, 1979; Merz et al., 2004; Ichimaru et al., 2015) แต่ยังไม่สามารถนำมาใช้ให้เกิดศักยภาพที่สูงสุดได้ ดังนั้น พืชเหล่านี้จะมีความเสี่ยงในการสูญหายค่อนข้างสูง เพราะการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำประโยชน์อย่างอื่น ความจำเป็นในการเก็บรักษาทรัพยากรพืชเหล่านี้จึงมีความสำคัญยิ่ง นอกจากการเก็บรักษาแล้ว ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกลุ่มพืชก็มีความจำเป็นเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพันธุ์ พันธุกรรมและความแตกต่างหรือความหลากหลาย จากพืชกลุ่มห้อมลักษณะทางสัณฐานภายนอกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ห้อมใบใหญ่ และห้อมใบเล็ก โดยเฉพาะห้อมใบใหญ่นิยมปลูกในพื้นที่ที่หลากหลายซึ่งอาจมีความหลากหลายทางชีวภาพที่แตกต่างกัน ประกอบกับจังหวัดแพร่ได้ขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “ผลิตภัณฑ์หม้อห้อม” แต่ก็ไม่สามารถระบบชนิดสายพันธุ์ได้อย่างชัดเจนทางวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ระบุว่าต้องเป็นสินค้าที่ผลิตจากห้อมของจังหวัดแพร่ ซึ่งไม่ครอบคลุมพืชให้สีครามอื่น เช่น คราม และเบิก รวมไปถึงการที่จะรักษาผลประโยชน์ของชาติโดยการจดสิทธิบัตรพันธุ์พืชในอนาคตเมื่อมีการใช้ประโยชน์อย่างจริงจังการศึกษาในระดับพันธุกรรมของพืชหรือสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ต้องอาศัยเครื่องหมายพันธุศาสตร์หรือที่เรียกว่า genetic marker เป็นตัวบ่งชี้ ส่วนการทำงานของยีนนั้นก็ต้องอาศัยการแสดงออกในรุ่นลูกรวมทั้งอาศัยความรู้ทางคณิตศาสตร์เข้ามาช่วย ทั้งนี้เนื่องจากเราไม่สามารถมองเห็นยีนที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ ได้ ดังนั้น genetic marker จึงมีความสำคัญ ในอดีตเราใช้ลักษณะสัณฐานที่แตกต่างกันเป็น genetic marker แต่ด้วยข้อจำกัดหลายประการ นักวิทยาศาสตร์จึงได้พัฒนาเครื่องหมายระดับโมเลกุลขึ้นมา ซึ่งมีข้อได้เปรียบมากเมื่อเทียบกับลักษณะสัณฐาน RAPD เป็นหนึ่งในเครื่องหมายโมเลกุลที่ถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 และมีการพิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรม การจำแนกพันธุ์ เพราะสามารถทำได้รวดเร็ว เครื่องมือและวิธีการไม่ยุงยากมากนัก รวมทั้งค่าใช้จ่ายไม่แพงมากเมื่อเทียบกับเทคนิคอื่น ๆ แต่เพื่อความแม่นยำและละเอียดยิ่งขึ้นวิธี 16S rRNA ด้วยเทคนิคทางชีวโมเลกุลร่วมกับการใช้ฐานข้อมูลทางชีวสารสนเทศ (Bioinformatics) จึงเลือกนำมาใช้ศึกษาในครั้งนี้ การอนุรักษ์พันธุ์พืชในท้องถิ่นนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้พืชท้องถิ่นบางชนิดถูกทำลายและสูญหาย ในที่สุด พืชให้สีครามของจังหวัดแพร่ และในเขตภาคเหนือก็กำลังเผชิญกับภาวะดังกล่าว หลายชนิดลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงจัดให้มีการดำเนินงานวิจัยเรื่อง “การเก็บรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมของพืชให้สีครามของภาคเหนือ” จากงานภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ศึกษารวบรวมพืชให้สีครามในจังหวัดแพร่ซึ่งการเก็บรวบรวมพันธุ์พืชกลุ่มดังกล่าว ได้ดำเนินการใกล้เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยเก็บรวบรวมพันธุ์พืชและปลูกไว้ที่ศูนย์ห้อมและชีวนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จ.แพร่ ขั้นตอนสำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการอนุรักษ์เชื้อพันธุ์พืช คือการศึกษาพันธุกรรมของพืชที่เก็บรวบรวมเพื่อเป็นฐานข้อมูลและการใช้ประโยชน์ในอนาคต การศึกษาพันธุกรรมพืชและการจำแนกกลุ่มพืช สามารถทำได้โดยอาศัยความแตกต่างของสัณฐานวิทยาที่ปรากฏ อย่างไรก็ตามการอาศัยลักษณะดังกล่าว มีข้อจำกัดมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพืชเหล่านั้นมีลักษณะใกล้เคียงกัน การใช้เทคนิคทางด้านชีวโมเลกุลจะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการศึกษาดังกล่าว เทคนิค RAPD (Random Amplified Polymorphic DNA) เป็นหนึ่งในเทคนิคทางชีวโมเลกุลที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมพืช การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มพืช รวมไปถึงการใช้เป็นข้อมูลในการทำแผนที่ยีนในพืชหลายชนิด ดังนั้นอาศัยลักษณะทางสัณฐานร่วมกับการใช้เทคนิค RAPD จะทำให้การประเมินลักษณะพันธุกรรมของพืชมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่การศึกษาครั้งนี้เลือกใช้วิธี 16S rRNA ด้วยเทคนิคทางชีวโมเลกุลร่วมกับการใช้ฐานข้อมูลทางชีวสารสนเทศ (Bioinformatics) ซึ่งวิธีการเมตาจีโนมิกส์เป็นวิธีการที่ใช้ในการศึกษาวิเคราะห์จีโนมของจุลินทรีย์ทั้งหมดที่มีในหนึ่งชุมชีพ (community) หรือในตัวอย่างธรรมชาติ โดยวิธีการสกัด ดีเอ็นเอออกมาจากตัวอย่างที่ต้องการศึกษาโดยตรง ไม่ต้องทำการเพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ ดังนั้นวิธีการเมตาจีโนมิกส์จึงครอบคลุมไปถึงการศึกษาจุลินทรีย์ที่ไม่สามารถเพาะเลี้ยงได้ (unculturable microbes) ซึ่งพบว่ามีมากถึงร้อยละ 99 ของจุลินทรีย์ทั้งหมด ในตัวอย่างธรรมชาติวิธีการทางเมตาจีโนมิกส์เริ่มตั้งแต่การสกัดดีเอ็นเอจากตัวอย่างในสิ่งแวดล้อม จากนั้นจึงวิเคราะห์ดีเอ็นเอเหล่านั้นด้วยวิธีการต่าง ๆ กันไป ซึ่งส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่การค้นหายีนที่ถอดรหัสสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและยาชนิดใหม่ ๆ โดยวิธีที่นำมาใช้ค้นหาสารชีวภาพใหม่ ๆ จากฐานข้อมูลเมตาจีโนม (metagenomic library) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีหลัก ๆ คือ การอ้างอิงจากคุณสมบัติจำเพาะที่ต้องการศึกษา (function-based screening) หรืออ้างอิงจากลำดับเบสของยีนที่ต้องการ (sequence-based screening) ที่ผ่านมามีชีวโมเลกุลมากมายที่ถูกค้นพบด้วยวิธีเมตาจีโนมิกส์ เช่น DNA polymerase, lipase, cellulase, protease หรือยีนที่สร้างสารปฏิชีวนะ โดยสรุปวิธีเมตาจีโนมิกส์นับเป็นเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นที่ใช้ในการค้นหาสารชีวโมเลกุลใหม่ ๆ และใช้วิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของจุลินทรีย์ในชุมชีพ การค้นพบยีนชนิดใหม่ ๆ ทำให้เราทราบถึงโครงสร้างและหน้าที่ของจุลินทรีย์ภายในชุมชีพ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การใช้แก้ปัญหาทั้งด้านการแพทย์ การเกษตร และอุตสาหกรรมได้ และทริปแทนทริน (Tryptanthrin) เป็นอินโดลควินาโซลีน (indole quinazoline) ที่อาจเป็นสารอัลคาลอยด์จากพืชที่มีสีคราม ทริปแทนทรินเป็นสารยับยั้งการสังเคราะห์ทางชีวภาพของเซลล์ลิวโคไตรอีน (Leukotriene, LT) ที่มีศักยภาพและออกฤทธิ์ทางปาก ทริปแทนทรินมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ทริปแทนทรินระงับระดับการแสดงออกของ NOS1, COX-2 และ NF-κB และควบคุมระดับการแสดงออกของ IL-2, IL-10 และ TNF-α Tsai et al. (2020) ทดสอบฤทธิ์ต้านไวรัสของ Tryptanthrin ที่แยกได้จากใบของ S. cusia กับโคโรนาไวรัส NL63 ในมนุษย์ แนวโน้มธุรกิจของอุตสาหกรรมยา ปี 2564-2566 มูลค่าจำหน่ายยาในประเทศปี 2564 มีแนวโน้มขยายตัว 2.5% ชะลอลงจากปี 2563 ผลจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่รุนแรงและแผ่ลามไปทั่วประเทศ ทำให้คาดว่าจำนวนผู้เข้ารับบริการในโรงพยาบาลสำหรับโรคที่ไม่รุนแรงจะลดลง ขณะที่ปี 2565-2566 คาดว่ามูลค่าจำหน่ายยาจะขยายตัวเฉลี่ย 3.5% ต่อปี เนื่องจาก 1) กระแสการใส่ใจสุขภาพของคนไทยเพิ่มขึ้นหลังการระบาดรุนแรงของไวรัส COVID-19 2) จำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้การเจ็บป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 3) การเข้าถึงช่องทางการรักษาที่ดีขึ้นภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า และ 4) ผู้ป่วยต่างชาติมีแนวโน้มกลับมาใช้บริการมากขึ้น โดยอุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนสูงในการวิจัยและพัฒนาวัตถุดิบและตัวยาใหม่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ฐานการผลิตยาและเวชภัณฑ์หลักของโลกโดยเฉพาะยาจดสิทธิบัตรหรือยาต้นแบบกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งมีศักยภาพทั้งด้านบุคลากร องค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง โดยประเทศเหล่านี้สามารถผลิตเพื่อส่งออกยาและเวชภัณฑ์ตอบสนองความต้องการในตลาดโลก ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ยังเป็นเพียงผู้นำเข้ายาต้นตำรับ/ต้นแบบซึ่งมีราคาสูง อุตสาหกรรมยาแผนปัจจุบันของไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในขั้นปลายคือการผลิตยาสำเร็จรูป ยาที่ผลิตได้ในประเทศเป็นยาชื่อสามัญ (Generic drug) ซึ่งผู้ผลิตจะนำเข้าวัตถุดิบ ตัวยาสำคัญจากต่างประเทศมาผสมและผลิตเป็นยาสำเร็จรูปในรูปแบบต่าง ๆ โดยไทยนำเข้าวัตถุดิบยาสัดส่วนสูงประมาณ 90% ของปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยาสำเร็จรูปทั้งหมด กลุ่มยาที่มีมูลค่าการผลิตสูงสุด ได้แก่ กลุ่มยาแก้ปวด/แก้ไข้ จากข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นการสนับสนุนถึงความเป็นไปได้ในการใช้สมุนไพรพืชให้สีครามในการลดอาการไข้ ประเทศไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530–2534) กล่าวถึงการส่งเสริมและพัฒนาพืชสมุนไพรเพื่อเป็นยา เนื่องจากแนวโน้มความนิยมสมุนไพรของตลาดโลกสูงขึ้นมาก จากการคาดการณ์ขององค์การอนามัยโลก ที่มีมูลค่าถึง 3,000 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2549 เพิ่มขึ้นเป็น 5,000 ล้านล้าน เหรียญสหรัฐฯในปี2593 (Vinit, 2015) นอกจาก สรรพคุณของตัวสมุนไพรที่ได้รับการสนใจศึกษามากขึ้น รูปแบบผลิตภัณฑ์เองก็เป็นสิ่งถูกพัฒนาควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ได้รูปแบบผลิตภัณฑ์ พกพาสะดวก ใช้ง่าย และมีอัตลักษณ์ด้วยรูปแบบหรือกลิ่นไอภูมิปัญญาดั้งเดิม จึงถือว่าเป็นโจทย์ ปัญหาที่น่าสนใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงอนุรักษ์ การศึกษาวิจัยนี้มุ่งพัฒนาสูตรตำรับยาสมุนไพรพืชให้สีครามและออกแบบต้นแบบผลิตภัณฑ์ สมุนไพรจากพืชให้สีครามจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนในจังหวัดแพร่ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ร่วมกับการใช้แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบสมุนไพรพืชให้สีครามลดไข้ โดยมีเป้าหมายในการกระตุ้นให้ชาวบ้านในชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของสมุนไพรภายในชุมชนของตนเอง ร่วมกันสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์เฉพาะถิ่นที่ชูความเป็นเอกลักษณ์อันเป็นภูมิปัญญา ดั้งเดิมของชุมชน พร้อมกับการส่งเสริมให้ชาวบ้านในชุมชนตระหนักถึงความมีสุขภาพที่ดี รู้จัก การดูแลสุขภาพตนเองด้วยสมุนไพร และการส่งเสริมการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพของชุมชนบนฐานทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น โดยส่งเสริมตั้งแต่กระบวนการปลูกพืชให้สีครามโดยใช้จุลินทรีย์อัดแท่งจากของเหลือทิ้งทางการเกษตรด้วยชีวนวัตกรรม และทำการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิต และหลักการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนในการปลูกพืชให้สีครามด้วยชีวนวัตกรรมจุลินทรีย์อัดแท่ง การสกัดสารพร้อมใช้ Tryptanthrin ด้วยไมโครเวฟร่วมต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรบรรเทาอาการหวัด ลดไข้ เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำหลักการและองค์ความรู้การคำนวณต้นทุนและผลตอบแทนที่ได้รับจากการผ่านทอดไปประยุกต์ใช้การผลิตจุลินทรีย์อัดแท่งต่อการปลูกพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่ทั่ง 5 ชนิด และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เองได้ ต้นทุนการสกัดสารพร้อมใช้ Tryptanthrin ด้วยไมโครเวฟร่วมต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรบรรเทาอาการหวัด ลดไข้รวมถึงสามารถนำข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทนมาวางแผน บริหารงาน และติดตามควบคุมให้สามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้มีความยั่งยืนต่อไป และทำการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้การประเมินผลตอบแทนทางสังคมของการถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตพืชให้สีครามด้วยชีวนวัตกรรมการสกัดสารพร้อมใช้ Tryptanthrin ด้วยไมโครเวฟร่วมต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรบรรเทาอาการหวัด ลดไข้ เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรที่ทำฟาร์มปลูกพืชพืชให้สีครามใน จ.แพร่ สามารถวางแผนคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับแผนธุรกิจ (BMC) ได้ และมีความสามารถในการยืดหยุ่นแผนธุรกิจได้อย่างเหมาะสม จากนั้นประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการผลิตพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่ด้วยชีวนวัตกรรมจุลินทรีย์อัดแท่งร่วมอินทรีย์วัตถุเหลือทิ้งทางการเกษตรและการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรบรรเทาอาการหวัด ลดไข้ ของสารสกัดพร้อมใช้ Tryptanthrin จากพืชให้สีคราม เพื่อหาแนวทางในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตพืชให้มีครามของจังหวัดแพร่ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรบรรเทาอาการหวัด ลดไข้ ของสารสกัดพร้อมใช้ Tryptanthrin จากพืชให้สีคราม และยังเป็นการส่งเสริมการปลูกพืชให้สีครามท้องถิ่นของจังหวัดแพร่ จนทำให้มีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้อย่างเพียงพอ ตลอดจนเพิ่มแนวทางในการผลิตที่มีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การสร้างคุณภาพชีวิตและความ เป็นอยู่ที่ยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1.เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2.เพื่อศึกษาเมทาจีโนมิก (Metagenomic) จุลินทรีย์ในห้อมเพื่อพัฒนาจากสาระสำคัญและใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
3.เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลจีโนมของจุลินทรีย์ในห้อม และสารชีวภัณฑ์ที่คัดเลือกได้จากฐานข้อมูล
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการการศึกษา metagenomic ของจุลินทรีย์ในห้อมเพื่อพัฒนาสารสำคัญกลุ่ม Tryptanthrin เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรบรรเทาอาการหวัดลดไข้
KPI 1 : ฐานข้อมูลจีโนมจากจุลินทรีย์ในห้อม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ระบบ 1
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการดำเนินงานเป็นไปตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
170000 บาท 170000
KPI 5 : สิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 6 : นักศึกษา นักวิจัย และประชาชนทั่วไปที่ร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 7 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 8 : ต้นแบบผลิตภัณฑ์ สารชีวภัณฑ์ที่มีประโยชน์เชิงพาณิชย์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ต้นแบบ 1
KPI 9 : ต้นฉบับบทความวิจัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการการศึกษา metagenomic ของจุลินทรีย์ในห้อมเพื่อพัฒนาสารสำคัญกลุ่ม Tryptanthrin เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรบรรเทาอาการหวัดลดไข้
ชื่อกิจกรรม :
1 ลงพื้นที่สำรวจและเก็บรวบรวมตัวอย่างพืช (ห้อม) เพื่อนำไปวิเคราะห์เมทาจีโนมิก

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/12/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประดุง  สวนพุฒ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาผู้ประสานงานโครงการ จำนวน 1 คน ๆ ละ 15,000 บาท จำนวน 4 เดือน เป็นเงิน 60,000 บาท
- ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,800 บาท จำนวน 5 วัน เป็นเงิน 14,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 74,000.00 บาท 74,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ กรรไกร กาว ปากกา เป็นต้น เป็นเงิน 3,300 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,300.00 บาท 3,300.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 77300.00
ชื่อกิจกรรม :
2 การวิเคราะห์เมทาเจโนมิกของจุลินทรีย์ในใบพืชให้สีครามโดยใช้กรดนิวคลีอิกที่สามารถผลิต Tryptanthrin

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/12/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประดุง  สวนพุฒ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจำแนกสายพันธุ์ห้อมและพืชให้สีคราม จำนวน 1 งาน เป็นเงิน 60,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท 60,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น ไนโตรเจนเหลว จานเลี้ยงเชื้อ สเตอไรด์ ขวดดูแรน เคซีน เปปโตน เป็นต้น เป็นเงิน 32,700 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 32,700.00 บาท 32,700.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 92700.00
ชื่อกิจกรรม :
3 จัดทำระบบฐานข้อมูลจีโนมจากจุลินทรีย์ของห้อม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/12/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประดุง  สวนพุฒ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่มีค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย002โครงการการศึกษาmetagenomic
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
นำไปบูรณาการในการเรียนการสอนวิชา 11214373 การใช้ประโยชน์จากของเสียและการบำบัดมลพิษทางชีวภาพ จำนวน 4 คน
ช่วงเวลา : 04/12/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล