22513 : SAS-68 โครงการสิงห์ไพรฮ๋วมใจ๋ต๋ามผางปะตี๊ด ต๋ามโกม ส่องฟ้าฮักษาเมือง ประจำปีการศึกษา 2567
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
นางสาวสุไรรัตน์ มั่นคง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 1/11/2567 9:59:52
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
13/11/2567  ถึง  13/11/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  อาจารย์และบุคลากร จำนวน 5 คน นักศึกษาวิทยาลัยบริหารศาสตร์ 35 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรายได้วิทยาลัยบริหารศาสตร์ 2568 4,500.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. รุจาดล  นันทชารักษ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.4.1 จำนวนโครงการ/กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมที่บูรณาการกับพันธกิจอื่น
กลยุทธ์ 68 MJU 2.4.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรม นศ. การเรียนการสอน และการวิจัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ SAS 64-68 (1) จัดการศึกษาด้านการเมืองการปกครอง กฎหมาย การระหว่างประเทศ การบริหารรัฐกิจ และการบริหารกิจการสังคม
เป้าประสงค์ SAS 68 (1.6) บูรณาการศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับการเรียนการสอนเรียนการสอน
ตัวชี้วัด SAS 68 จำนวนโครงการ/กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมที่บูรณาการกับพันธกิจอื่น และสอดคล้องหรือตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ SAS บูรณาการโครงการและกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กับการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการวิจัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ด้านการเมืองการปกครองและการบริหารกิจการสังคม มีจัดการเรียนการเรียนในหลักสูตรรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ที่มุ่งสร้างบัณฑิตที่มีความรู้มีความสามารถด้านการเมืองการปกครอง การบริหารองค์กร และมีการส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้และมีประสบการณ์จริงจากตัวอย่างหรือกรณีศึกษาต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และพัฒนาความรู้และทักษะเพิ่มขึ้น ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและการประกอบอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษาได้ การเรียนรู้จากการปฏิบัติ ถือเป็นการสร้างประสบการณ์ให้กับนักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่ง ฉะนั้นการเรียนรู้ด้านการเมืองการปกครอง การบริหารองค์กร โดยเฉพาะประเด็นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม และการพัฒนานโยบายสาธารณะ ที่เป็นส่วนหนึ่งของความรู้ด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสตร์ สามารถเรียนรู้ผ่านมิติวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ ยิ่งไปกว่านั้น ประเพณียี่เป็ง เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวล้านนา ซึ่งจัดขึ้นในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง (เดือนยี่ล้านนา) ของทุกปี โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียง ที่นิยมจุดประทีบเพื่อแสดงความเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญทั้งในด้านวัฒนธรรม ศาสนา และสังคม ที่ช่วยเชื่อมโยงคนในชุมชนเข้าด้วยกัน การจุดประทีป หรือ ต๋ามผางปะตี๊ด ของจังหวัดเชียงใหม่เป็นการอนุรักษ์ประเพณีที่ดีของล้านนาไว้ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนั้น นักศึกษาสามารถเรียนรู้การสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ในท้องถิ่น ซึ่งจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการมีส่วนร่วม บทบาทของภาคประชาชนในระบบการเมือง และการบริหารจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม ในประเด็นการวางแผน การพัฒนา และการดูแลรักษาวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน รวมไปถึงความรู้เกี่ยวกับการพัฒนานโยบายที่สนับสนุนการอนุรักษ์วัฒนธรรม เช่น การส่งเสริมการจัดงานวัฒนธรรม การสนับสนุนงบประมาณ หรือการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดกิจกรรมวัฒนธรรม การวิเคราะห์นโยบายในด้านนี้จะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจถึงความสำคัญของการมีนโยบายที่เหมาะสมต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรม ตลอดจนความรู้ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนผ่านกิจกรรมการอนุรักษ์ประเพณี ดังนั้น วิทยาลัยบริหารศาสตร์จึงได้กำหนดจัดโครงการสิงห์ไพรฮ๋วมใจ๋ต๋ามผางปะตี๊ด ต๋ามโกม ส่องฟ้าฮักษาเมือง ประจำปีการศึกษา 2567 ขึ้นในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 ณ แจ่งกู่เฮือนด้านใน เพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างคนในชุมชนและนักศึกษาวิทยาลัยบริหารศาสตร์ในการส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวล้านนา และเพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานประเพณีจุดประทีปของชาวล้านนา อันเป็นการสร้างประสบการณ์ให้กับนักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้การสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม และการพัฒนานโยบายสาธารณะ ที่เป็นส่วนหนึ่งของความรู้ด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมจุดผางประทีบของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการการอนุรักษ์สืบสานประเพณีจุดประทีปของชาวล้านนาให้เป็นที่รู้จักแก่ประชาชนและคงอยู่สืบไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างคนในชุมชนและนักศึกษาวิทยาลัยบริหารศาสตร์ในการส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวล้านนา
เพื่ออนุรักษ์สืบสานประเพณีจุดประทีปของชาวล้านนา
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการได้อนุรักษ์สืบสานประเพณีจุดประทีปของชาวล้านนา
KPI 1 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้อนุรักษ์สืบสานประเพณีจุดประทีปของชาวล้านนา
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการได้อนุรักษ์สืบสานประเพณีจุดประทีปของชาวล้านนา
ชื่อกิจกรรม :
-จุดประทีปบูชาเมือง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 13/11/2567 - 13/11/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.รุจาดล  นันทชารักษ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
-รถตู้วิทยาลัย 1 คัน ๆ ละ 500
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหาร
-จำนวน 40คน ๆ ละ 70 บาท x 1 มื้อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
- จำนวน 40 คน ๆ ละ 30 บาท x 1 มื้อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 4500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
กำหนดการ 2567.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล