22353 : การเพิ่มมูลค่าเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อเป็นบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา วงศ์แสนใหม่ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 16/10/2567 10:43:03
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
16/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  ผู้ว่างงาน ผู้สูงอายุหรือตัวแทนจากชุมชน ในพื้นที่เทศบาลตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ แหล่งงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 (เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี) 2568 300,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุพัตรา  วงศ์แสนใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธวัฒน์  สร้อยทอง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง
อาจารย์ ดร. เนตราพร  ด้วงสง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปราณรวีร์  สุขันธ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4. การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพานิชย์ และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ 4.1 สร้างกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านบริการวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.19 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ 4.1.3) ผลักดัน ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานวิจัยตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามแผนแม่บทการวิจัยที่สอดคล้องกับทิศทางมหาวิทยาลัยและของชาติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาขยะพลาสติกเป็นหนึ่งในปัญหาที่ผู้คนทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ สำหรับประเทศไทยได้มีหน่วยงานภาครัฐและจากภาคเอกชนแสดงความกระตือรือร้นที่จะเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับทางภาคผู้ผลิตเริ่มมีกระแสที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์ให้เป็นวัสดุรีไซเคิล 100% และล่าสุดทางหน่วยงานภาครัฐก็เริ่มให้ความสำคัญกับขยะพลาสติกอีกครั้งจนนำไปสู่แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก 20 ปี และกำหนดการลดและเลิกใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกอีก 7 ประเภท จึงนำไปสู่กระแสรักษ์โลก ลดใช้ถุงพลาสติก ประชาชาชนทั่วไปและผู้ประกอบการกำลังปรับตัว รวมทั้งจังหวัดเชียงใหม่ก็เช่นเดียวกัน ปัญหาปริมาณขยะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นเมืองท่องเที่ยว ทำให้มีการใช้สินค้าอุปโภคบริโภคมากขึ้น โดยปัจจุบันมีขยะมูลฝอยประมาณ 1,750 ตันต่อวัน ดังนั้นในปี พ.ศ. 2563 หน่วยงานของรัฐเริ่มดำเนินการ ขอความร่วมมือทั้งประชาชนและผู้ประกอบการห้างฯ ร้านต่างๆ ลดการใช้ถุงพลาสติก ภาชนะจากโฟม สนับสนุนให้ใช้บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ เช่น กระทงใบตอง หลอดจากไม้ไผ่ เป็นต้น ในตลาดหรือถนนคนเดินในชุมชน ดังนั้นความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับในจังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ทำการเกษตรมากกว่า 1,800,000 ไร่ จำนวนครัวเรือนเกษตรกรมากกว่า 169,000 ครัวเรือน โครงสร้างทางการเกษตรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย มีพื้นที่ถือครองขนาดเล็กและเป็นการผลิตในลักษณะต่างคนต่างทำ มีการเพาะปลูกที่หลากหลาย เช่น ข้าว ลำไย ลิ้นจี่ ซึ่งมีจำนวนมากเป็นอันดับแรกๆ และมีการปลูกพืชอื่นๆ เช่น กล้วยหอม กาแฟ ถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งผลผลิตที่ได้จากการทำเกษตรกรรมไม่เพียงแต่นำมาใช้เป็นอาหารเพื่อบริโภคทั้งภายในและนอกประเทศ แต่ปัจจุบันยังมีการนำไปแปลงเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ อีกมากมาย หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรดังกล่าวแล้วทำให้เหลือวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจำนวนมาก การจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรตามแนวทางการผลิตทางการเกษตรให้ปลอดเศษวัสดุเหลือใช้ (zero waste agriculture) เพื่อลดการเผาในที่โล่งทางการเกษตรนั้น มีหลายหน่วยงานได้ดำเนินการในหลายพื้นที่ในภาคเหนือแล้ว ทั้งการนำมาแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์ อาหารสัตว์ วัสดุเพาะเห็ด เชื้อเพลิงชีวมวล แต่อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์เหล่านี้ มีผู้นำไปใช้ประโยชน์ในวงแคบในบางกลุ่มอาชีพเท่านั้น จากข้อมูลเบื้องต้น เพื่อการลดปัญหาขยะพลาสติกและโฟม โดยมุ่งเน้นไปในกลุ่มภาชนะบรรจุอาหารที่มีการใช้กันเป็นประจำโดยเฉพาะภาชนะแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ประกอบกับกระแสการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นที่นิยมและการผลิตจานใบไม้ซึ่งมีการใช้กันอย่างแพร่หลายนั้น ผู้วิจัยจึงมีแนวความคิดสนับสนุนการลดขยะพลาสติกและโฟม ด้วยการผลิตบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติหรือบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกเพื่อใช้ทดแทนพลาสติกและโฟม ในกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกใช้เทคโนโลยีการอัดขึ้นรูปร้อนโดยเลือกใช้วัตถุดิบธรรมชาติที่สามารถผลิตได้โดยตรงจากใบไม้ ไม่มีพิษ เช่น ใบตองกล้วย ใบตองตึง ใบบัว กาบไผ่ และกาบหมาก ซึ่งวัตถุดิบเหล่านี้มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน เช่นความมันวาวที่ผิวส่งผลให้จานใบไม้สามารถใส่อาหารเปียกได้ หรือบางชนิดมีความแข็งแรงอยู่แล้ว จึงมีความคงรูป แต่ใบไม้บางชนิดไม่สามารถคงรูปได้ จึงต้องซ้อนกันหลายชั้นร่วมกับตัวประสานที่ทำจากพอลิเมอร์ธรรมชาติ จานใบไม้มีข้อดีคือ สามารถขึ้นรูปได้ง่าย รวดเร็วไม่ซับซ้อน ขึ้นรูปได้ทั้งใบเปียกและใบแห้ง สามารถย่อยสลายได้อย่างรวดเร็วภายใน 28 วัน ภายใต้สภาวะปกติ แต่อย่างไรก็ตามจานใบไม้มีข้อจำกัด คือ มีอายุการเก็บก่อนใช้งานสั้น เกิดเชื้อรา จานใบไม้สดต้องเก็บในสภาวะแห้งและเย็น จึงทำให้ผู้บริโภคไม่มั่นใจในเรื่องความสะอาด ดังนั้นจานใบไม้จึงเหมาะกับการผลิตเพื่อใช้งานทันที จึงทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการจำหน่าย ดังนั้นกลุ่มวิจัยได้เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น และได้หาแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยการใช้เทคโนโลยีการฆ่าเชื้อและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับชิ้นงานก่อนจำหน่ายสู่ผู้บริโภค เทศบาลตำบลสันทรายหลวง ตั้งอยู่ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ความรับผิดชอบ 4 ตำบล คือตำบลป่าไผ่ สันทรายน้อย สันทรายหลวงและสันพระเนตร รวม 21 หมู่บ้าน เทศบาลมีแนวทางในการดำเนินการดูแลทางด้านสารธารณสุข เพื่อลดปัญหาจากขยะพลาสติกและโฟมในชุมชน เกิดความตระหนักรู้ (Awareness) ในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ ของเทศบาล เช่น การคัดแยกขยะ การทำปุ๋ยหมักในกลุ่มขยะอินทรีย์ การรีไซเคิลขยะพลาสติก รวมทั้งการนำใบไม้และกาบหมากวัสดุเหลือทิ้งในชุมชนมาผลิตเป็นภาชนะจากธรรมชาติ ซึ่งเทศบาลตำบลสันทรายหลวงได้มีการดำเนินงาน ผลิตภาชนะจากกาบหมากแล้วและใช้เป็นภาชนะสำหรับอาหารว่างในกิจกรรมต่างๆ ในเทศบาล แต่อย่างไรก็ตามพบว่าผู้บริโภคมีความกังวลเรื่องความสะอาด การปนเปื้อน ในอาหาร และภาชนะที่ผ่านกระบวนการขึ้นรูปแล้ว ไม่สามารถเก็บไว้ได้ เกิดเชื้อราบนผิวภาชนะ ประกอบกับผู้วิจัยเคยประสบความสำเร็จในการดำเนินโครงการสร้างชุมชนต้นแบบในการผลิตและจำหน่ายภาชนะบรรจุอาหารจากธรรมชาติ (บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก) โดยรับทุนสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 31 มกราคม 2567 ได้ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องกระบวนการผลิตจานใบไม้ด้วยเทคนิคอัดร้อน เทคโนโลยีการฆ่าเชื้อโรคและเทคโนโลยีการยืดอายุผลิตภัณฑ์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตสู่ชุมชนพื้นที่เป้าหมาย เพื่อให้สามารถเริ่มผลิตภาชนะรักษ์โลกสำหรับใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน เช่น ตลาดนัดของชุมชน กิจกรรมงานต่างๆ ที่จัดขึ้นเป็นประจำ รวมทั้งจากสนับสนุนให้ความรู้เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ และช่องทางการตลาดเพื่อให้มีการจำหน่ายภาชนะรักษ์โลกสู่ภายนอกชุมชน เช่น ในชุมชนใกล้เคียง หน่วยงานราชการ หน่วยงานท้องถิ่นและใช้ในกิจกรรมต่างๆ ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รวมทั้งจำหน่ายผ่านระบบออนไลน์ โครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จแล้ว และเกิดชุมชนต้นแบบ หมู่บ้านหนองมะจับ ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่และหมู่บ้านท่าข้าม ตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ที่เป็นฐานต้นแบบการผลิตในพื้นที่ชุมชนเป้าหมาย (หมู่บ้านหนองมะจับและหมู่บ้านท่าข้าม) และมีผลิตภัณฑ์ที่สามารถจำหน่าย ใช้ในพื้นที่ชุมชน และในมหาวิทยาลัยแม่โจ้จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์จานใบตอง-กาบไผ่ และจานใบตองตึง จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตองรักษ์ บ้านท่าข้ามและวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจานใบต๋องตึง บ้านหนองมะจับ ผลิตภัณฑ์ที่ได้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) กลุ่มภาชนะจากพืช เลขที่ มผช.1557/2563 จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สามารถสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้าน เกษตรกร และผู้สูงอายุในชุมชนได้อย่างยั่งยืน สามารถลดการใช้ภาชนะบรรจุอาหารและพลาสติกภายในชุมชนและบริเวณใกล้เคียงได้ ดังนั้นโครงการนี้จึงมีแนวคิดใช้ต้นแบบการดำเนินงานของโครงการดังกล่าว เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับชุมชน ในเทศบาลตำบลสันทรายหลวง โดยจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตสู่ชุมชนพื้นที่เป้าหมาย เรื่องกระบวนการผลิตจานใบไม้ด้วยเทคนิคอัดร้อน เทคโนโลยีการฆ่าเชื้อโรคและเทคโนโลยีการยืดอายุผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการออกแบบผลิตภัณฑ์และฉลากสินค้า รวมทั้งการควบคุณภาพผลิตภัณฑ์ด้วยการสุ่มตรวจเรื่องความสะอาดปลอดเชื้อจุลินทรีย์และการทดสอบอายุการเก็บรักษา เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภค

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเพิ่มมูลค่าเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร นำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก
เพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกปลอดเชื้อจุลินทรีย์ ด้วยเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อโรค
เพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกที่มีบรรจุภัณฑ์และฉลากสำหรับจำหน่าย
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก
KPI 1 : บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ชิ้น 100
KPI 2 : จำนวนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และได้ลงมือปฏิบัติจริง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 3 : ผู้เข้าร่วมการอบรมที่มีความรู้เพิ่มขึ้น เรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการเผา และความปลอดภัยของการใช้บรรจุภัณฑ์อาหาร
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
ผลผลิต : บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกปลอดเชื้อจุลินทรีย์
KPI 1 : บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกปลอดเชื้อจุลินทรีย์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ชิ้น 100
KPI 2 : ภาชนะบรรจุอาหารจากธรรมชาติปลอดเชื้อจุลินทรีย์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 - มีผลการทดสอบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ 1
KPI 3 : การถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้สู่ชุมชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เทคโนโลยี 1
ผลผลิต : บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกที่มีบรรจุภัณฑ์และฉลากสวยงาม
KPI 1 : ร้อยละของงานบริการวิชาการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กําหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกที่มีบรรจุภัณฑ์และฉลาก
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 แพ๊ค 20
KPI 3 : ค่าใช้จ่ายของการบริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับ
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
300000 บาท 300000
KPI 4 : ความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : จำนวนชุมชน/ท้องถิ่นที่มหาวิทยาลัยเข้าไปช่วยพัฒนา
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ชุมชน 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก
ชื่อกิจกรรม :
ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อชี้แจง และวางแผนดำเนินงานร่วมกับชุมชนพื้นที่เป้าหมาย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา  วงศ์แสนใหม่ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัฒน์  สร้อยทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.เนตราพร  ด้วงสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณรวีร์  สุขันธ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน (30 คน x 120 บาท x 1 มื้อ)
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (30 คน x 35 บาท x 2 มื้อ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
5,700.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าเอกสาร (30 คน x 100 บาท x 1 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 8700.00
ชื่อกิจกรรม :
เตรียมวัตถุดิบเพื่อการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัฒน์  สร้อยทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.เนตราพร  ด้วงสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณรวีร์  สุขันธ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา  วงศ์แสนใหม่ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาจัดเตรียมวัตถุดิบ (เก็บกาบหมาก ใบตองตึง ใบกล้วย ทำความสะอาดและให้แห้ง) ในพื้นที่ (9,000 บาท x 5 คน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 45,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 45,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 45000.00
ชื่อกิจกรรม :
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกสู่ชุมชนพื้นที่เป้าหมาย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา  วงศ์แสนใหม่ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.เนตราพร  ด้วงสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณรวีร์  สุขันธ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัฒน์  สร้อยทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหาร (35 คน x 120 บาท x 1 มื้อ/วัน x 2 ครั้ง)
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (35 คน x 35 บาท x 2 มื้อ/วัน x 2 ครั้ง)
- ค่าจ้างเหมาเดินทางเพื่อไปถ่ายทอดเทคโนโลยี
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 18,900.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 18,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าวิทยากร ภาคบรรยาย (2 คน x 3 ชั่วโมง x 600 บาท x 2 ครั้ง)
- ค่าวิทยากร ภาคปฏิบัติ (3 คน x 3 ชั่วโมง x 300 บาท x 2 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 12,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 57,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 57,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 88700.00
ผลผลิต : บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกปลอดเชื้อจุลินทรีย์
ชื่อกิจกรรม :
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อสู่ชุมชนพื้นที่เป้าหมาย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.เนตราพร  ด้วงสง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัฒน์  สร้อยทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณรวีร์  สุขันธ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา  วงศ์แสนใหม่ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหาร (35 คน x 120 บาท x 1 มื้อ/วัน)
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (35 คน x 35 บาท x 1 มื้อ)
- ค่าจ้างเหมาเดินทางเพื่อไปถ่ายทอดเทคโนโลยี
- ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์และทดสอบเชื้อแบคทีเรีย (3 ครั้ง x 4,000 บาท/ครั้ง)
- ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์และทดสอบอายุการเก็บรักษา (2 ครั้ง x 5,000 บาท/ครั้ง)

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 30,225.00 บาท 0.00 บาท 30,225.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าวิทยากร ภาคบรรยาย (2 คน x 3 ชั่วโมง x 600 บาท x 1 ครั้ง)
- ค่าวิทยากร ภาคปฏิบัติ (3 คน x 3 ชั่วโมง x 300 บาท x 1 ครั้ง)

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,300.00 บาท 0.00 บาท 6,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 37,500.00 บาท 0.00 บาท 37,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 74025.00
ผลผลิต : บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกที่มีบรรจุภัณฑ์และฉลากสวยงาม
ชื่อกิจกรรม :
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบบรรจุภัณฑ์หรือฉลากสินค้า

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณรวีร์  สุขันธ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา  วงศ์แสนใหม่ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัฒน์  สร้อยทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.เนตราพร  ด้วงสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหาร (35 คน x 120 บาท x 1 มื้อ/วัน)
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (35 คน x 35 บาท x 1 มื้อ)
- ค่าจ้างเหมาเดินทางเพื่อไปถ่ายทอดเทคโนโลยี
- ค่าจ้างเหมาออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์ (เหมาจ่าย 1 ครั้ง x 10,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 18,225.00 บาท 0.00 บาท 18,225.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าวิทยากร ภาคบรรยาย (2 คน x 3 ชั่วโมง x 600 บาท x 1 ครั้ง)
- ค่าวิทยากร ภาคปฏิบัติ (3 คน x 3 ชั่วโมง x 300 บาท x 1 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,300.00 บาท 0.00 บาท 6,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 25,450.00 บาท 0.00 บาท 25,450.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 49975.00
ชื่อกิจกรรม :
ติดตามนิเทศโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา  วงศ์แสนใหม่ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัฒน์  สร้อยทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.เนตราพร  ด้วงสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณรวีร์  สุขันธ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหาร (35 คน x 200 บาท x 1 มื้อ/วัน x 2 ครั้ง)
- ค่าจ้างเหมาเดินทางเพื่อนิเทศน์ฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 19,600.00 บาท 19,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าเอกสาร (35 คน x 200 บาท x 2 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,000.00 บาท 14,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 33600.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ผู้เข้าร่วมการอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีไม่ครบตามเป้าหมายทุกครั้ง
การปนเปื้อนจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์เนื่องจากผู้ผลิตไม่ดำเนินงานตามขั้นตอน
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ขอความร่วมมือจากเทศบาลช่วยประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมของโครงการ
ติดป้ายวิธีการใช้งานเครื่องมือ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้อง
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
นวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือใช้ (10307323) หัวข้อ การจัดการวัสดุเหลือใช้ และ BCG Model แนวคิดการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้กระบวนการและเทคโนโลยีการพัฒนาวัสดุเหลือใช้ การทดสอบและประเมินผลผลิตภัณฑ์เบื้องต้น
ช่วงเวลา : 01/10/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
วัตถุประสงค์การบูรณาการผลการประเมินการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการ
เพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการนำความรู้จากการออกบริการวิชาการ แล้วนำมาเป็นเป็นกรณีตัวอย่างเพื่อนำมาศึกษาและลงมือปฏิบิติและพัฒนาผลิตภัณฑฺ 100 จัดทำเป็นเนื้อหาในเอกสารประกอบการสอน
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล