22257 : โครงการ การปรับสภาพแวดล้อม เพื่อรองรับการเติบโตของสังคมผู้สูงอายุ: (Age Friendly City: Maejo Model) (68-2.6.2)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.สุทธิพร ฟังเย็น (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 10/10/2567 15:20:58
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  30/06/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  1. ผู้สูงอายุ ในชุมชนต้นแบบ 2. เทศบาลฯ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 3. กองช่าง เจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน ช่างทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณสนับสนุนโครงการบริการวิชาการ (ส่วนกลางมหาวิทยาลัย) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 (Project base) 2568 300,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วุฒิกานต์  ปุระพรหม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2(64-68)-FAED การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 2.5(64-68)-FAED67 การพัฒนาระบบกลไกในการดำเนินงาน และการให้บริการวิชาการอย่างมืออาชีพ
ตัวชี้วัด 2.3.1FAED67 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FAED-2.5.1(64-68) สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการและการบริการวิชาการกับหน่วยงานภายในและชุมชนภายนอกอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ FAED-2.5.3(64-68) ผลักดันและส่งเสริมการขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยในสาขาที่คณะมีความพร้อม
กลยุทธ์ FAED-2.5.2(64-68) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์งานด้านบริการวิชาการของคณะ
ตัวชี้วัด 2.3.2FAED67 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FAED-2.5.4(64-68) ส่งเสริม และสนับสนุนการบูรณาการงานบริการวิชาการกับหน่วยงานภายในและชุมชนภายนอก
กลยุทธ์ FAED-2.5.5(64-68) จัดทำฐานข้อมูลที่สนับสนุนการบริหารจัดการและติดตามประเมินผลโครงการบริการวิชาการของคณะ
กลยุทธ์ FAED-2.5.6(64-68) ส่งเสริมการถ่ายทอดวิชาการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นตามบริบท อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การบริการวิชาการ การฝึกอบรม สัมมนา หลักสูตรระยะสั้นทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ตลอดจนชุมชนท้องถิ่น
กลยุทธ์ FAED-2.5.7(64-68) เพิ่มปริมาณการยื่นข้อเสนอโครงการ โดยประชาสัมพันธ์การเปิดรับข้อเสนอจากแหล่งทุนต่าง ๆ และประสานการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มโอกาสการยื่นข้อเสนอโครงการ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ และประสานงานที่เกี่ยวข้องกับการยื่นข้อเสนอภายในมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

สังคมไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ จากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย ปี 2553-2583 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยใช้ข้อมูลสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นฐานในการประมาณ พบว่า ในปี 2583 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สูงถึง 20.5 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32 ของจำนวนประชากรไทยทั้งหมด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนด เศรษฐกิจสุขภาพ เป็นหนึ่งในนโยบายมุ่งเน้นที่สำคัญของ กระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาล เพื่อสร้างต้นแบบพื้นที่อายุยืน (Blue Zone) “หนึ่งเขตสุขภาพ-หนึ่งพื้นที่อายุยืน” ในทุกจังหวัด ภายใต้การพัฒนาเมืองต้นแบบสุขภาพ (Healthy Cities Models) “เมืองสุขภาพดี วิถีชุมชน คนอายุยืน” ซึ่งประกอบด้วย 7 ดี ได้แก่ กินดี อยู่ดี อารมณ์ดี สติปัญญาดี สิ่งแวดล้อมดี สังคมดี และระบบบริการ สุขภาพดี โดยได้กำหนดให้พื้นที่จังหวัดน่าน ให้เป็น “Nan Healthy City Models” เป็นแห่งแรก เนื่องจากมีบริบทเมืองที่เอื้อต่อการเป็นเมืองสุขภาพดีทั้ง 3 มิติ ได้แก่ (1) Urban Design (2) Health Care Infrastructure และ (3) Environment Policies ปัจจุบัน (2567) สถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งจำนวนและสัดส่วน ส่งผลกระทบทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมโดยรวม การส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดี ให้มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อยืดเวลาที่จะเกิดการเจ็บป่วยเรื้อรัง หรือการเข้าสู่ภาวะทุพพลภาพออกไป รวมถึงการเตรียมการเพื่อรองรับสภาพปัญหาดังกล่าวจึงมีความสำคัญ “เมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ” เป็นการเตรียมการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อพฤติกรรมของผู้สูงอายุ ส่งผลต่อการมีสุขภาพดี ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาว และมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถเข้าถึงบริการทางสังคมและบริการทางสุขภาพได้อย่างเท่าเทียม การเพิ่มของจำนวนประชากรสูงอายุยังสะท้อนให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของภาระทางด้านการคลังจากจำนวนประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิงทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ นอกเหนือจากปัญหาด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุยังเผชิญปัญหาสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ และระบบการดูแลที่ไม่ได้มาตรฐาน รัฐบาลจึงมีนโยบายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. (เทศบาลฯ อบต.) ดูแล ส่งเสริม และพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต สอดคล้องกับการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต และมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 2 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดังนั้น การบริการวิชาการด้านการออกแบบปรับปรุงสภาพแวดล้อมแก่ชุมชน เพื่อรองรับสังคมสูงวัยโดยรอบมหาวิทยาลัยฯ จะสามารถตอบยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศด้านการรองรับสังคมสูงวัยในปัจจุบันและอนาคตได้ ซึ่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินโครงการ “ต้นแบบเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ จ.น่าน” ร่วมกับศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน (Universal Design Center: UDC) เครือข่ายภูมิภาคเหนือ ซึ่งประกอบไปด้วยอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาภูมิภาคเหนือ ทั้งหมด 5 แห่ง ได้แก่ 1. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2. มหาวิทยาลัยพะเยา 3. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย 4. มหาวิทยาลัยนเรศวร 5. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการพัฒนาสภาพแวดล้อมชุมชนในเขตเทศบาลเมืองน่าน ภายใต้โครงสร้างเมืองที่เป็นมิตรกับทุกคน (Age Friendly City) ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายในจังหวัด ได้แก่ 1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เทศบาลเมืองน่าน 2. สาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลน่าน 3. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พมจ.) จังหวัดน่าน จนประสบความสำเร็จและเผยแพร่ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ในวงกว้างระดับประเทศ ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (UDC MJU) และเครือข่ายภูมิภาคเหนือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้กำหนดพื้นที่ชุมชนเขตเทศบาลเมืองน่าน ซึ่งมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมากกว่าร้อยล่ะ 29 (เมื่อปี 2565 ซึ่งปัจจุบัน (พ.ศ. 2567) มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมากกว่าร้อยล่ะ 30) ซึ่งเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีดังนี้ การปรับบ้านพักอาศัย 30 หลัง การปรับอาคารสาธารณะ 15 อาคาร ปรับปรุงตลาด (ชุมชนพระเนตร) 1 พื้นที่ ห้องน้ำผู้ป่วยชาย-หญิง (อาคารสิริเวชรักษ์/กระดูกและข้อ) 3 ตำแหน่ง ห้องน้ำอาคารผู้ป่วยใน (IPD ปีกชาย-หญิง) 6 โซน ห้องพักผู้ป่วยพิเศษ (1 แบบ ใช้กับทุกห้อง) 1 อาคาร ปรึกษาออกแบบศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ จ.น่าน (Day Care) 1 โครงการ สวนสาธารณะ (ในเมือง/ชุมชน/รินแม่น้ำน่าน) 5 พื้นที่ สวนสุขภาพ (รพ.น่าน) 3 พื้นที่ ฐานเรียนรู้ UD (ห้องจำลองฯ) 2 ฐาน บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) จ.น่าน / สถาบัน 2 ฉบับ วิทยากรบรรยาย (Age friendly city/อบรมช่างชุมชน) 2 ครั้ง ออกบูธแสดงผลงาน ของ UDC (ทม., รพ.น่าน) 2 ครั้ง การพัฒนาเมืองสุขภาพดี ดังกล่าว เกิดจากความร่วมมือในหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ (1) กระทรวงสาธารณสุข (2) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) (3) เทศบาลเมืองน่าน (4) โรงพยาบาลน่าน (5) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พมจ.) โดยดำเนินการผ่าน (6) ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (UDC MJU) และ (7) เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภูมิภาคเหนือ ซึ่งมีผลกระทบ (Impact) และค่าตอบแทนทางสังคม (SROI) ในระดับสูง อาทิ เช่น - ผู้สูงวัยในชุมชนมีอายุยืนยาวขึ้น (จำนวนประชากรมีอายุเกิน 100 ปี เพิ่มมากขึ้น) - กองสวัสดิการฯ เทศบาลเมือง บริหารงบประมาณรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีประสิทธิภาพ - จำนวนผู้ป่วยผู้สูงอายุในโรงพยาบาล ลดลง - การเกิดอุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้มของผู้สูงวัยลดลง และ = 0 (นาน 2 เดือน) - การปรับปรุงบ้าน สอดคล้องและตรงกับวิถีการดำรงชีวิตของผู้สูงวัยในชุมชน - ผู้สูงอายุในชุมชน มีความพึงพอใจและมีความสุข - เกิดนวัตกรรมการออกแบบสภาพแวดล้อม จากโจทย์วิจัยเชิงพื้นที่ ปัจจุบัน การดำเนินโครงการ “ต้นแบบเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ จ.น่าน” ได้รับการสนับสนุนต่อยอดการสร้าง “ต้นแบบเมืองสุขภาพดี” หรือ Blue Zone ระดับภูมิภาค จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กระทรวงสาธารณะสุข กระบวนการดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการบูรณาการทำงานเชิงพื้นที่ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาเมือง ได้แก่ ชุมชน เทศบาล โรงพยาบาล ฯลฯ ส่งผลให้เกิดกระบวนการบริการวิชาการแบบรับใช้สังคม (มหาวิทยาลัย กลุ่มที่ 2) สามารถนำผลการบริการวิชาการไปใช้ประโยชน์ที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์และผลกระทบในเชิงประจักษ์ สอดคล้องกับรองรับการเติบโตของสังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและอนาคต สามารถนำองค์ความรู้พัฒนาและต่อยอดสู่พื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อปท. หรือ เทศบาลเมืองในระดับเดียวกันได้ ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความร่วมมือกับเทศบาลตำบลหนองหาร เทศบาลตำบลสันป่าเปา และ เทศบาลตำบลสันทรายหลวง เป็นทุนเดิม และสามารถต่อยอดให้เกิดการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การบริการวิชาการจากโจทย์เชิงพื้นที่ (Area Base) ดังกล่าว จะส่งผลกระทบในการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรกับทุกคนโดยรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในหลากหลายมิติ ทั้งมิติด้านสุขภาพ สังคม และ วัฒนธรรม รวมถึงมิติด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว เพื่อรองรับการเติบโตของสังคมผู้สูงอายุและคนทุกคนอย่างยั่งยืน ส่งผลต่อการนำความสำเร็จของต้นแบบดังกล่าว มาสร้างเป็นแนวทางการบริการวิชาการให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพกับพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
ปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในบ้าน เพื่อรองรับการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ
ปรับปรุงสภาพแวดล้อมอาคาร/พื้นที่สาธารณะ เพื่อรองรับพฤติกรรมการใช้งานของผู้สูงอายุ
ให้ความรู้ด้านการออกแบบ-ปรับปรุงสภาพแวดล้อม และ Universal Design เพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาสังคมผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน
สร้าง “ต้นแบบ” สภาพแวดล้อมเพื่อรองรับการเติบโตของสังคมผู้สูงอายุ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การปรับสภาพแวดล้อม เพื่อรองรับการเติบโตของสังคมผู้สูงอายุ : (Age Friendly City: Maejo Model)
KPI 1 : จำนวนช่างชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 2 : สามารถลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุและการพลัดตกหกล้มได้
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : บุคลากรท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการมีองค์ความรู้ด้าน UD
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนแบบบ้านพักอาศัย ที่ได้รับการปรับสภาพแวดล้อม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 หลัง 30
KPI 5 : จำนวนต้นแบบสังคมสูงวัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 ชุมชน 3
KPI 6 : ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนแบบอาคารสาธารณะที่ได้รับการปรับสภาพแวดล้อม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
9 อาคาร 9
KPI 8 : ชุมชนต้นแบบได้รับการประชาสัมพันธ์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การปรับสภาพแวดล้อม เพื่อรองรับการเติบโตของสังคมผู้สูงอายุ : (Age Friendly City: Maejo Model)
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 1 ปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในบ้าน เพื่อรองรับการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/10/2567 - 30/06/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิกานต์  ปุระพรหม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พันธุ์ระวี  กองบุญเทียม (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์  ภักดี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเก็บตัวแปรอุณหภูมิอากาศ จำนวน 30 หลัง x 48 บาท x 30 จุด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 43,200.00 บาท 0.00 บาท 43,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเก็บตัวแปรความชื้นภายใน จำนวน 30 หลัง x 48 บาท x 30 จุด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 43,200.00 บาท 0.00 บาท 43,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาทำกราฟิกคู่มือนำเสนอ จำนวน 2 เล่ม x 560 บาท x 30 หลัง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 33,600.00 บาท 0.00 บาท 33,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน
จำนวน 5 คน x 200 บาท x 30 หลัง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 150000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 2 ปรับปรุงสภาพแวดล้อมอาคาร/พื้นที่สาธารณะ เพื่อรองรับพฤติกรรมการใช้งานของผู้สูงอายุ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/10/2567 - 30/06/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิกานต์  ปุระพรหม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์  ภักดี (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พันธุ์ระวี  กองบุญเทียม (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเก็บตัวแปรอุณหภูมิอากาศ จำนวน 9 อาคาร x 48 บาท x 30 จุด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 12,960.00 บาท 0.00 บาท 12,960.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเก็บตัวแปรความชื้นภายใน จำนวน 9 อาคาร x 48 บาท x 30 จุด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 12,960.00 บาท 0.00 บาท 12,960.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาทำกราฟิกคู่มือนำเสนอ จำนวน 2 เล่ม x 560 บาท x 9 หลัง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,080.00 บาท 0.00 บาท 10,080.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาสำรวจสภาพแวดล้อมอาคาร จำนวน 9 อาคาร x 2000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 10 คน x 200 บาท x 9 อาคาร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนผู้ให้สัมภาษณ์ (ผู้ใช้อาคาร) จำนวน 10 คน x 200 บาท x 9 อาคาร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 90000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 3 อบรม "ช่างชุมชน" Universal Design และ การใช้งานอุปกรณ์อำนวยความสะดวก

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/10/2567 - 30/06/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิกานต์  ปุระพรหม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พันธุ์ระวี  กองบุญเทียม (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์  ภักดี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 50 คน x 75 บาท x 1 มื้อ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,750.00 บาท 0.00 บาท 3,750.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 50 คน x 35 บาท x 2 มื้อ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าดทำหุ่นจำลอง จำนวน 1 ชิ้นงาน x 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคบรรยาย จำนวน 3 คน x 6 ช.ม. x 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าปริ้นบอร์ด ขนาด A0 จำนวน 6 แผ่น x 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าทำโรลอัพ จำนวน 5 ชิ้น x 2,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 13,000.00 บาท 0.00 บาท 13,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 44250.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 4 สร้าง “ต้นแบบ” สภาพแวดล้อมเพื่อรองรับการเติบโตของสังคมผู้สูงอายุ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/10/2567 - 30/06/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิกานต์  ปุระพรหม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์  ภักดี (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พันธุ์ระวี  กองบุญเทียม (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าทำกราฟฟิกผังนำเสนอ บ้านปลอดภัย จำนวน 1 ชิ้นงาน x 3,250 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,250.00 บาท 0.00 บาท 3,250.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าจัดทำเล่มคู่มือพร้อมเข้าเล่ม จำนวน 50 เล่ม x 250 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 12,500.00 บาท 0.00 บาท 12,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 15750.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล