21928 : โครงการการพัฒนานวัตกรรมและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมปั๊มเทียน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 11/9/2567 11:24:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2567  ถึง  31/03/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  สมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าย้อมหม้อห้อมโบราณ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน (ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 2567 150,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพร  จันทร์ฉาย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 4. การพลิกโฉมสู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 2 (Reinventing University)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 4.1.8 ความร่วมมือเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมกับภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
กลยุทธ์ 67-70 MJU 4.1.1.3 ส่งเสริมบทบาทความร่วมมือกับภาคเอกชนและอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุน และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรมของประเทศ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-6 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์ 67-6.3 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing)
ตัวชี้วัด 67-6.3.5 ความร่วมมือเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมกับภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
กลยุทธ์ 67-6.3.5.1 ส่งเสริมบทบาทความร่วมมือกับภาคเอกชนและอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและโลก
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ผู้ขอยื่นบริการคูปองวิทย์ นางวิภา จักรบุตร ปีที่ยื่น 2567 ยื่นทางออนไลน์ สถานะของผู้ยื่น รองประธานวิสาหกิจชุมชนฯ โดยวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าย้อมหม้อห้อมโบราณ ที่ตั้ง 260 หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ มีสมาชิกจำนวน 7 คน โดยส่วนใหญ่สมาชิกวิสาหกิจฯ จะประกอบอาชีพค้าขายเสื้อผ้าหม้อห้อมหรือรับจ้างย้อม และตัดเย็บเสื้อผ้าที่เกี่ยวข้องกับเสื้อผ้าหม้อห้อมเป็นส่วนใหญ่ดังนั้นจึงรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจฯ โดยสมาชิกทุกคนมีบทบาทในการร่วมกันวิเคราะห์ วางแผนและดำเนินกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ และมีการอบรม ศึกษาดูงานนอกสถานที่ เพื่อให้สมาชิกทุกคนได้มีการพัฒนาตนเอง และนำกลับมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มฯ ต่อไป โครงสร้างของกลุ่ม ประกอบด้วย 1. นางพงศ์ลัดดา วรินทร์ (ประธาน) 2. นางวิภา จักรบุตร (รองประธาน) 3. นางภูษนีย์ เพชรหาญ (เลขานุการ) 4. นางสาวไพรวรรณ พุกรักษา (เหรัญญิก) 5. นางพัฒนา ลือชา (กรรมการ) 6. นางสาวประกาย บันลือ (กรรมการ) 7. นางลำพันธุ์ บุญแรง (กรรมการ) ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ได้แก่ 1. เสื้อโปโล ราคาขายส่ง 180 บาท ราคาขายปลีก 220 บาท 2. เสื้อกุยเฮง ราคาขายส่ง 220 บาท ราคาขายปลีก 250 บาท 3. เสื้อเชิ้ตมัดย้อม ราคาขายส่ง 180 บาท ราคาขายปลีก 220 บาท 4. กางเกงสะดอ ราคาขายส่ง 220 บาท ราคาขายปลีก 250 บาท 5. ผ้าหม้อห้อมปั๊มเทียน ราคาขายส่ง 300 บาท ราคาขายปลีก 350 บาท 6. ผ้าคลุมไหล่ ราคาขายส่ง 120 บาท ราคาขายปลีก 150 บาท 7. เสื้อหม้อห้อมโบราณ ราคาขายส่ง 220 บาท ราคาขายปลีก 250 บาท 8. เสื้อมัดย้อม ราคาขายส่ง 180 บาท ราคาขายปลีก 220 บาท โดยมีตลาดเป้าหมาย คือ ลูกค้าทั่วไป และแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ คือ และทางออนไลน์ และออกบูทขายสินค้า แต่ยังไม่รับมาตรฐาน มผช. ดังนั้นจึงต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันใช้สีเคมีในการย้อมผ้าแต่ทางวิสาหกิจชุมชนฯ ต้องการลดการใช้สารเคมีในการย้อม และใช้สีธรรมชาติในการย้อมผ้าหม้อห้อมปั๊มเทียน แต่เนื่องจากปัญหาสีซีดหลังกระบวนการต้มลอกเทียน เพราะเมื่อปั๊มเทียนเสร็จจะนำไปย้อม และนำผ้ามาต้มเพื่อลอกเทียนออก ทำให้สีซีดจาง แต่ถ้าย้อมแบบเคมีสีจะไม่ซีด ดังนั้น จึงต้องการนวัตกรรมที่จะช่วยให้ผ้าปั๊มเทียนที่ใช้สีย้อมธรรมชาติมีการติดสีที่ดีขึ้น ซึ่ง รศ. ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย เป็นผู้ที่มีความรู้และนวัตกรรม โดยมีผลงานที่ได้รับการจดสิทธิบัตร คือ 1. สิทธิบัตร : ณัฐพร จันทร์ฉาย. 100%. เรื่อง ผลิตภัณฑ์ห้อมผงและวิธีการผลิต. วันที่ขอ 22 กุมภาพันธ์ 2563. เลขที่คำขอ 2001001102. 2. สิทธิบัตร : ณัฐพร จันทร์ฉาย. 100%. เรื่อง การก่อหม้อและกรรมวิธีการผลิตสิ่งนั้น. วันที่ขอ 27 กุมภาพันธ์ 2563. เลขที่คำขอ 200300405. 3. สิทธิบัตร : ณัฐพร จันทร์ฉาย. 100%. เรื่อง กระบวนการสร้างสีลิวโคอินดิโก (Leuco indigo) แบบแห้ง. วันที่ขอ 11 มีนาคม 2563. เลขที่ คำขอ 2001001405. 4. สิทธิบัตร : ณัฐพร จันทร์ฉาย. 100%. เรื่อง ผลิตภัณฑ์ชุดมัดย้อมหม้อห้อมและกรรมวิธีการผลิต. วันที่ขอ 7 มิถุนายน 2564. เลขที่คำขอ 2103001572. 5. สิทธิบัตร : ณัฐพร จันทร์ฉาย. 100%. เรื่อง ผลิตภัณฑ์ชุดสีน้ำระบายจากห้อมธรรมชาติ. วันที่ขอ 4 เมษายน 2565. เลขที่คำขอ 2201002054. ดังนั้นจึงจะใช้นวัตกรรมในการแก้ปัญหา คือ 1. ใช้เอนไซม์ เอ็นเอส ในการเตรียมผ้าและเส้นใยให้อยู่ในสภาวะพร้อมย้อมที่สุด ซึ่งเป็นสารชีวภาพที่ผลิตได้จากเชื้อจุลินทรีย์ทดแทนการใช้สารเคมี โดยเอนไซม์จะช่วยลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกออกจากผ้าในขั้นตอนเดียว ไม่ทำลายเนื้อผ้า ทำให้สีติดอย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดเวลาในกระบวนการเตรียมผ้าฝ้าย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ต้องบำบัดน้ำเสียที่ใช้ในกระบวนการเตรียมผ้าอีกด้วย 2. ใช้ชีวนวัตกรรมการก่อหม้อย้อมผ้าหม้อห้อมร่วมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์บริสุทธิ์ในการ ก่อหม้อ ซึ่งมีความสามารถในการเปลี่ยนสารอินดิโกเป็นลิวโคอินดิโก และสามารถช่วยกระตุ้นการเกิดสีย้อมที่มีประสิทธิภาพต่อการติดสีมากขึ้น 3. นำผ้าหม้อห้อมปั๊มเทียนที่ได้ส่งไปที่ศูนย์เคลือบเทคโนโลยีนาโน (ศูนย์เคลือบนาโนวิทยาลัยเทคนิคแพร่) เพื่อเพิ่มคุณสมบัติผ้านาโน เพื่อเพิ่มคุณสมบัติผ้านาโน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความคงทนของสีย้อมต่อการซัก ต้านรังสียูวีช่วยลดการซีดจางของสี ลดการเกาะของฝุ่น เพิ่มคุณสมบัติการสะท้อนน้ำ เพื่อลดการซึมเปื้อนและต้านเชื้อแบคทีเรียทำให้ไม่เหม็นอับ และต้องการพัฒนาและออกแบบลายปั๊มเทียนให้มีความทันสมัย หลากหลาย และตรงตามความต้องการของตลาดมากขึ้น โดยยังคงเอกลักษณ์ของจังหวัดแพร่ (ลายใบห้อมหรือไม้สัก) จากนั้นดำเนินการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ของผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมปั๊มเทียน ซึ่งยังไม่เคยยื่นขอมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน และเป็นการส่งเสริมด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตในการใช้สีธรรมชาติย้อมผ้าหม้อห้อม และลดการใช้สารเคมี
2 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมปั๊มเทียนให้มีลวดลายหลากหลาย สวยงาม ทันสมัย และยังคงเอกลักษณ์ของจังหวัดแพร่
3 เพื่อเตรียมความพร้อมในการยื่นขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นวัตกรรมและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมปั๊มเทียน
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
KPI 3 : การดำเนินงานเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาด้วยชีวนวัตกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 5 : จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 6 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
150000 บาท 150000
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นวัตกรรมและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมปั๊มเทียน
ชื่อกิจกรรม :
อบรมให้ความรู้ เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมปั๊มเทียนด้วยชีวนวัตกรรม และตรวจวิเคราะห์คุณภาพของผ้าหม้อห้อมปั๊มเทียน (เพื่อเก็บเป็นข้อมูลสำหรับการยื่นขอมาตรฐาน มผช.ในอนาคต)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
3. ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,200.00 บาท 6,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 8 ชั่วโมง ๆ ละ 600 เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เป็นเงิน 42,000 บาท
2. ค่าวัสดุเกษตร เป็นเงิน 22,900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 64,900.00 บาท 64,900.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 75900.00
ชื่อกิจกรรม :
อบรมเพื่อพัฒนาและออกแบบลายปั๊มเทียนให้มีความทันสมัย หลากหลาย และตรงตามความต้องการของตลาดมากขึ้น โดยยังคงเอกลักษณ์ของจังหวัดแพร่ และทดสอบความพึงพอใจต่อรูปแบบ สีสัน ของผ้าหม้อห้อมปั๊มเทียนลวดลายใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
3. ค่าจ้างเหมาเคลือบผ้านาโน จำนวน 1 งาน ๆ ละ 20,000 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 23,200.00 บาท 23,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 8 ชั่วโมง ๆ ละ 600 เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 4,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 28000.00
ชื่อกิจกรรม :
อบรมให้ความรู้หลักเกณฑ์เงื่อนไขในการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และให้คำแนะนำในการบำบัดน้ำเสียจากการย้อมผ้า

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2567 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,200.00 บาท 3,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 8 ชั่วโมง ๆ ละ 600 เป็นเงิน 4,800 บาท
2. ค่าตอบแทนพิเศษสำหรับการปฏิบัติงาน เป็นเงิน 23,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 27,900.00 บาท 27,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าสาธารณูปโภค
1. ค่าสาธารณูปโภคของสถาบันการศึกษา (ไม่เกินร้อยละ 10 ของวงเงินโครงการ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 15,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 46100.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล