21782 : SAS-67 โครงการตระหนักรู้ เท่าทัน และรับมือภัยคุกคามรูปแบบใหม่ : พนันออนไลน์ เครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ และเงินสีเทา (The Dark World)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นายนัฐพล ภาคภูมิ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 23/7/2567 11:14:49
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
17/07/2567  ถึง  20/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  160  คน
รายละเอียด  นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 และอาจารย์ จำนวน 160 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณหลักสูตร รป.บ.รัฐประศาสนศาสตร์ 2567 21,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. พิชญ์  จิตต์ภักดี
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการ พัฒนาพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.1.9.1 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริม อัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ SAS 64-67 (1) จัดการศึกษาด้านการเมืองการปกครอง กฎหมาย การระหว่างประเทศ การบริหารรัฐกิจ และการบริหารกิจการสังคม
เป้าประสงค์ SAS 64-67 (1.2) บัณฑิตมีทักษะทางวิชาการและวิชาชีพตามที่หลักสูตรกำหนด
ตัวชี้วัด SAS-65-67 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ SAS ส่งเสริมการจัดกิจกรรมแก่นักศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มุ่งผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล โดยกำหนดปรัชญาการศึกษามหาวิทยาลัย คือ “จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างปัญญาในรูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่บูรณาการกับการทำงานตามอมตะโอวาท งานหนักไม่เคยฆ่าคน มุ่งให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถพัฒนาทักษะเดิม สร้างเสริมทักษะใหม่ มีวิธีคิดของการเป็นผู้ประกอบการ มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสาร มีความตระหนักต่อสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ยึดมั่นในความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน ตามจุดยืนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ว่า มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต” และได้กำหนดอัตลักษณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ “นักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญในสาขาวิชาและทันต่อการเปลี่ยนแปลง” อีกทั้งวิทยาลัยบริหารศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้จัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ด้านการเมืองการปกครองและการบริหารกิจการสังคม ผ่านการจัดการเรียนการเรียนในหลักสูตรต่าง ๆ ที่สังกัดวิทยาลัยบริหารศาสตร์ โดยได้กำหนดอัตลักษณ์ของบัณฑิต คือ “เป็นนักคิด นักปฏิบัติ ที่เชี่ยวชาญด้านบริหารจัดการเพื่อสังคม และเท่าทันการเปลี่ยนแปลงบนฐานคิดแบบองค์รวม” ฉะนั้น นักศึกษาวิทยาลัยบริหารศาสตร์จึงต้องรู้เท่าทันกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญอยู่กับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นพนันออนไลน์ เครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ และเงินสีเทา ซึ่งเป็นปัญหาที่ร้ายแรงและเชื่อมโยงถึงกัน ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมโดยรวม เนื่องจากการพนันออนไลน์เป็นช่องทางให้เงินสีเทาไหลเข้าสู่ระบบอย่างผิดกฎหมาย ขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ ใช้เว็บพนันออนไลน์ฟอกเงิน ผู้เล่นพนันออนไลน์ สูญเสียเงิน และ ก่อหนี้สิน ทำให้เด็กและเยาวชน เข้าถึงการพนันได้ง่าย เกิดให้เกิดปัญหา สุขภาพจิต อาชญากรรม และความรุนแรงในครอบครัวตามมาในที่สุด อีกทั้ง เครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติยังใช้แก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้มีการโอนเงินและใช้พนันออนไลน์ระดมทุนเพื่อฟอกเงินผ่านเว็บพนัน ซึ่งเครือข่ายข้ามชาติมักจะเกี่ยวข้องกับการค้าอาวุธ ยาเสพติด และสินค้าผิดกฎหมายอื่น ๆ ซึ่งส่งผลกับการก่อการร้ายและสร้างความรุนแรงในสังคม ก่อให้เกิดการทำลายความมั่นคงและส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจอีกด้วย แม้ว่าในปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ จะออกมาร่วมกันแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ก็ยังไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน อาทิ รัฐบาลควรออกกฎหมายควบคุมเว็บพนันออนไลน์อย่างเข้มงวด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรทำงานร่วมกันเพื่อป้องกันและปราบปราม ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนเกี่ยวกับอันตรายของภัยคุกคามในปัจจุบัน จากปัญหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นพนันออนไลน์ เครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ และเงินสีเทา ที่กล่าวมาข้างต้น หลักสูตรรัฐประศาสตรบัณฑิต จึงกำหนดจัดโครงการตระหนักรู้ เท่าทัน และรับมือภัยคุกคามรูปแบบใหม่ : พนันออนไลน์ เครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ และเงินสีเทา (The Dark World) ในวันที่ 11 กันยายน 2567 ณ ห้องนรสิงห์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษาตระหนักสามารถรับมือกับภัยคุกคามในปัจจุบัน และนำไปประยุกต์ใช้การดำเนินชีวิตประจำวัน ตลอดจนสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดต่อผู้อื่นได้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามในปัจจุบัน
เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ในการรับมือภัยคุกคามในปัจจุบัน และนำไปประยุกต์ใช้การดำเนินชีวิตประจำวันได้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษาเกิดการตระหนัก และได้รับความรู้ในการรับมือภัยคุกคามในปัจจุบัน (พนันออนไลน์ เครือข่ายข้ามชาติ การก่อการร้าย และเงินสีเทา)
KPI 1 : นักศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามในปัจจุบัน ไม่น้อยกว่า
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : นักศึกษาได้รับความรู้ในการรับมือภัยคุกคามในปัจจุบัน ไม่น้อยกว่า
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้การรับมือกับภัยคุกคามในปัจจุบันเข้ากับการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ไม่น้อยกว่า
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษาเกิดการตระหนัก และได้รับความรู้ในการรับมือภัยคุกคามในปัจจุบัน (พนันออนไลน์ เครือข่ายข้ามชาติ การก่อการร้าย และเงินสีเทา)
ชื่อกิจกรรม :
บรรยายให้ความรู้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 11/09/2567 - 11/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.พิชญ์  จิตต์ภักดี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จริยา  โกเมนต์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.เจตฑถ์  ดวงสงค์ถ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.พงศกร  กาวิชัย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 160 คน x 35 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 5,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,600.00 บาท 5,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าพาหนะรถรับจ้างเดินทางไปกลับ สนามบิน-ที่พัก จำนวน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท 1,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าพาหนะ ตั๋วเครื่องบินเดินทางไปกลับ สนามบินสุวรรณภูมิ-เชียงใหม่ จำนวน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พัก จำนวน 1 คน x 1 คืน x 1,400 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,400.00 บาท 1,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน x 1,000 บาท x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 21000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
กำหนดการ รับมือพนันออนไลน์.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล