21714 : โครงการ อนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 24/6/2567 14:11:22
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา (เบิกจ่ายจากงบพัฒนากิจกรรมนักศึกษา)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
08/07/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  300  คน
รายละเอียด  ผู้บริหาร ผู้อาวุโส อาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษา
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินพัฒนานักศึกษา) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 2567 10,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ว่าที่ ร.ท. พีระสันต์  กระต่ายทอง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.4.2 จำนวนโครงการ/กิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องหรือตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.4.2.1 พัฒนาแผนและกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-4 เป็นแหล่งเรียนรู้ อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
เป้าประสงค์ 67-4.1 การเป็นสถาบันที่เป็นแหล่งเรียนรู้ อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 67-4.1.2 จำนวนโครงการ/กิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องหรือตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 67-4.1.2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับยุทธศาสตร์และอัตลักษณ์การพัฒนามหาวิทยาลัยและส่วนงาน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มีการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนพันธกิจในด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ที่มีการบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยและส่วนงาน ที่ให้มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้นักศึกษา บุคลากร และผู้ที่สนใจได้ทำกิจกรรมและแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน สร้างเครือข่ายทางชุมชนและสังคม ให้เข้ามามีส่วนร่วมได้รู้จักประเพณีสำคัญของจังหวัดแพร่ ได้แก่ ประเพณีสู่ขวัญข้าว สู่ขวัญควายและวัฒนธรรมการเกษตรในการผลิตข้าว และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปราชญ์ชาวบ้านที่มีอาชีพทำนามาหลายรุ่น รวมถึงพิธีกรรมปลูกข้าวและเกี่ยวข้าวแบบวิถีแพร่ เป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจ ความสมัครสมานสามัคคี การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของผู้ที่ประกอบอาชีพทำนา ส่งผลต่อการรับรู้ที่ดีต่อการทำนาและอาชีพเกษตรกรของนักศึกษาต่อสังคม และชุมชน เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ Organic University Green และ Eco University ต่อไป อีกทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีเป็นส่วนหนึ่งมีความสำคัญที่จะช่วยอนุรักษ์สืบสานสร้างค่านิยมความเป็นไทยแก่บัณฑิต สร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตสามารถผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดังนั้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวฯ จึงได้จัดโครงการอนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ เพื่อเป็นการรักษาศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย และส่งเสริมกิจกรรมที่มีการบูรณาการกับยุทธศาสตร์และอัตลักษณ์การพัฒนามหาวิทยาลัยและส่วนงานด้าน Green U., Eco. U., SDGs, และการสร้าง Soft Power ของจังหวัดแพร่

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ได้ร่วมสืบสานและอนุรักษณ์ประเพณีอันดีงามของไทยให้คงสืบไป
2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมมีการบูรณาการกับยุทธศาสตร์และอัตลักษณ์การพัฒนามหาวิทยาลัยและส่วนงานด้าน Green U., Eco. U., SDGs, และการสร้าง Soft Power ของจังหวัดแพร่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : อนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัย แม่โจ้-แพร่ฯ
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องหรือตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 กิจกรรม 3
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
300 คน 300
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : อนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัย แม่โจ้-แพร่ฯ
ชื่อกิจกรรม :
ทอดผ้าป่าสามัคคี

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 08/07/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ท.พีระสันต์  กระต่ายทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาจัดทำซองผ้าป่าและใบฎีกา จำนวน 500 ซอง ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
2. ค่าจ้างเหมาเครื่องเสียง จำนวน 1 งาน ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5000.00
ชื่อกิจกรรม :
ถวายเทียนเข้าพรรษา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 08/07/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นางสุธิดา  นะภิใจ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เป็นเงิน 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท 2,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 2500.00
ชื่อกิจกรรม :
อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อบูรณาการด้านการเรียนการสอนกับวิถีและขั้นตอนการปลูกข้าว “ปลูกวันแม่เกี่ยววันพ่อ”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 08/07/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ท.พีระสันต์  กระต่ายทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท 2,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 2500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล