21707 : โครงการแลกเปลี่ยนความรู้บุคลากรสู่ภาคธุรกิจ 2567
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางณัฐธนะนันท์ เอี่ยมตะกูล (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 20/6/2567 18:57:05
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
21/06/2567  ถึง  24/06/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  10  คน
รายละเอียด  1.บุคลากรคณะสัตวแพทยศาสตร์ จำนวน 5 คน 2.บุคลากรของบริษัท จำนวน 5 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะสัตวแพทยศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่เบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ 2567 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ สัตวแพทย์หญิง พิชญา  แสนอุบล
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. วศิน  เจริญตัณธนกุล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสัตวแพทยศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 4. การพลิกโฉมสู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 2 (Reinventing University)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 4.1.1 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 4.1.1.1 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ มุ่งพัฒนาผู้ประกอบการให้เป็นผู้นำธุรกิจ
เป้าประสงค์ ผลักดันความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 4.1.9 4.1.9 ความร่วมมือเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมกับภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
กลยุทธ์ สร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือนวัตกรรมรวมทั้งเผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เมื่อเกิดอุบัติเหตุทั้งในคนและสัตว์ ผิวหนังซึ่งเป็นสิ่งทีห่อหุ้มร่างกาย มักได้รับการบาดเจ็บเป็นอันดับแรก และเกิดเป็น บาดแผล (wound) โดยสาเหตุที่ทำให้ได้รับการบาดเจ็บนี้ อาจเกิดเนื่องจากแรงกระแทกจาก ของมีคม สารเคมี ทำให้เกิดแผลถลอก ฟกช้ำ ฉีกขาด และเกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อได้ ซึ่งความรุนแรงของแผลก็ขึ้นกับสาเหตุและระดับความรุนแรง อีกทั้งหากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ จุลชีพอื่นๆ แทรกซ้อนร่วมด้วย ก็จะทำให้การหายของแผลช้ากว่าปกติ โดยเฉพาะหากเป็นกลุ่มเชื้อดื้อยา (multi drug resistance: MDR) หรือ กลุ่มเชื้อที่ไม่ต้องการออกซิเจน (anaerobe) อาจเพิ่มระดับความรุนแรงของบาดแผลได้ ดังนั้นการจัดการบาดแผลในทางสัตวแพทย์มีความสำคัญเพื่อการฟื้นฟูร่างกายของสัตว์ ที่ได้รับบาดเจ็บหรือจากบาดแผล และอุบัติเหตุ รวมถึงแผลที่เกิดจากการผ่าตัด เพื่อให้การรักษาสัตว์ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สัตวแพทย์จึงต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในชนิดของแผล กลไกการเกิดบาดแผล กลไกการหายของแผล เพื่อที่เลือกใช้วิธีที่เหมาะสมในการจัดการบาดแผลในรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้วิธีการรักษาบาดแผลในสัตว์ ได้แก่ การล้างแผลทำความสะอาดแผลเบื้องต้น (initial treatment) การตัดแต่งเนื้อตาย (wound debridement) การพิจารณานำสิ่งคัดหลั่งออกจากแผลหากแผลมีสิ่งคัดหลั่งมาก (drain) มีการเลือกวัสดุที่ดูดซับที่เหมาะสมกับแผล (bandage) และหากแผลมีการฉีกขาดมาก็ต้องพิจารณารักษาด้วยวิธีทางศัลยกรรม (surgery) โดยการเย็บแผล นอกจากนี้ในทางสัตวแพทย์ ก็ได้มีการนำเวชภัณฑ์ ที่เป็นนวัตกรรมต่างๆที่สามารถช่วยรักษาแผล หรือสิ่งดูดซับสิ่งคัดหลั่งจากแผล มาใช้ในการรักษาบาดแผลในสัตว์อีกด้วย รวมถึง มีการนำเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์มาใช้ในการรักษาแผลต่างๆ เช่น เลเซอร์ (laser theraphy) , negative pressure would care, gas plasma, และ cold plasma เป็นต้น เพื่อช่วยให้เกิดกระบวนการหายของบาดแผลเร็วขึ้น เนื่องด้วยบริษัทอินโนพลาสซีเอ็ม จำกัด ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาเชิงทดลองด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย ระหว่าง คณาจารย์ของคณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ บุคลากร นักวิจัย นักวิชาการ ของบริษัทอินโนพลาสซีเอ็ม จำกัด ตามประกาศความร่วมมือทางวิชาการ จึงได้จัดโครงการแลกเปลี่ยนความรู้สู่ภาคธุรกิจ โดย มีผู้บรรยายซึ่งเป็นอาจารย์จากคณะสัตวแพทยศาสตร์์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้ความรู้ ในหัวข้อเรื่องการดูแลแผลในสัตว์ โดยมีหัวข้อย่อย 4 หัวข้อ ได้แก่ ประเภทของแผลในสัตว์เลี้ยง กลไกการหายของแผลในสัตว์เลี้ยง การจัดการแผลในสัตว์เลี้ยง และการใช้พลาสมาในการรักษาแผลสัตว์เลี้ยง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ทางวิชาการเพื่อการพัฒนาเครื่องมือและนวัตกรรมในการรักษาแผลในวงการสัตวแพทย์ และเพื่อการนำนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการแผลในสัตว์เลี้ยง รวมถึงเพื่อต่อยอดในการทำงานวิจัย ต่อไปในอนาคต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
• เพื่อให้อาจารย์คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีการแลกเปลี่ยนความรู้สู่ภาคธุรกิจกับ บริษัทอินโนพลาสซีเอ็ม จำกัด ในหัวข้อเรื่อง การดูแลแผลในสัตว์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการแลกเปลี่ยนความรู้บุคลากรสู่ภาคธุรกิจ 2567
KPI 1 : ร้อยละของโครงการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าร่วมฟังบรรยาย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 คน 10
KPI 3 : ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการรักษา
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการแลกเปลี่ยนความรู้บุคลากรสู่ภาคธุรกิจ 2567
ชื่อกิจกรรม :
วิทยากรโครงการแลกเปลี่ยนความรู้บุคลากรสู่ภาคธุรกิจ 2567

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 21/06/2567 - 24/06/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ สัตวแพทย์หญิงพิชญา  แสนอุบล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.ทิพย์ภาภรณ์  อุปโย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ นายสัตวแพทย์ภากร  ลิ้มเล็งเลิศ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.บัญชา  พงศ์พิศาลธรรม (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่เบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
เนื่องจากเป็นการบรรยายแบบออนไลน์ อาจเกิดการขัดข้องทางเทคนิคหรือสัญญาณของอินเตอร์เนตไม่เสถียร อาจทำให้ข้อมูลในการบรรยายบางช่วงตกหล่นไป
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ตรวจสอบสัญญาณอินเตอร์เนต และหากได้รับสัญญาณ หรือข้อมูลไม่ครบถ้วน สามารถให้ผู้บรรยายทวนซ้ำได้
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
หนังสือเชิญ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล