21506 : โครงการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมล้านนาปี๋ใหม่เมือง คณะผลิตกรรมการเกษตร 2567
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.กัลย์ชิสา นามวงศ์พรหม (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 11/4/2567 9:50:02
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
09/04/2567  ถึง  31/05/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  120  คน
รายละเอียด  บุคลากรและนักศึกษา(ภายใน) บุคลากรผู้อาวุโสและศิษย์เก่า(ภายนอก) คณะผลิตกรรมการเกษตร จำนวน 120 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ สำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินดอกผลกองทุนคณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปี พ.ศ.2566 2566 151,290.00
งบประมาณเงินรายได้ สำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 สำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานรอง:แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ผลผลิต:ผลงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมหลักส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม แผนงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กองทุนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป โครงการตามแผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัย (มิติที่ 2) 2567 65,500.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรพินธุ์  สฤษดิ์นำ
น.ส. กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. ธีรนุช  เจริญกิจ
รองศาสตราจารย์ ดร. พุฒิสรรค์  เครือคำ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.4.2 จำนวนโครงการ/กิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องหรือตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.4.2.2 พัฒนารูปแบบในการจัดกิจกรรม/โครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และวัฒนธรรมการเกษตร ให้น่าสนใจและทันสมัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67 AP 2.4 เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 67 AP 2.4.2 จำนวนโครงการ/กิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องหรือตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 67 AP 2.4.2.1 พัฒนาแผน รูปแบบโครงการ/กิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้มีความสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย/คณะโดยมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ และทันสมัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

วัฒนธรรมของไทย เป็นวิถีชีวิตของคนไทยในสังคมไทย เป็นแบบแผนของการประพฤติปฏิบัติที่ดีงาน และการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ในสถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมไทยสามารถรู้ เข้าใจ ซาบซึ้ง ยอมรับ และใช้ปฏิบัติร่วมกันในสังคมไทย หนึ่งในวัฒนธรรมไทย คือ ประเพณีและพิธีทางศาสนาต่าง ๆ อันได้แก่ วิถีชีวิตที่ปฏิบัติในวันสำคัญต่าง ๆ โดยคณะผลิตกรรมการเกษตร ได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของวัฒนธรรม จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้บุคลากรในหน่วยงาน และนักศึกษาได้ร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย โดยกำหนดกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการสืบสานประเพณีปีใหม่เมืองล้านนา คณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปี 2567 จำนวน 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม 1) วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567 บุคลากรและนักศึกษาจัดขบวนแห่เครื่องสักการะตามประเพณีล้านนา เพื่อนำไปร่วมพิธีดำหัวผู้อาวุโสและอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2567 ในโครงการสืบสานประเพณีปีใหม่เมืองล้านนา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กิจกรรม 2) ส่งเสริมให้บุคลากรใส่เสื้อพื้นเมืองอนุรักษ์วัฒนธรรมล้านนาไทย กิจกรรม 3) วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2567 คณะผลิตกรรมการเกษตร จัดกิจกรรม "สระเกล้าดำหัวผู้อาวุโส คณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปี 2567" บริเวณอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินท์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นกิจกรรมตามวิถีปฏิบัติของประเพณีปีใหม่เมืองของชาวล้านนาไทย เพื่อรวมใจบุคลากร นักศึกษา ศิษย์เก่าและบุคลากรอาวุโส ตลอดจนบุคคลภายนอกที่อยู่ในหน่วยงานพันธมิตรของคณะผลิตกรรมการเกษตร โดยจะจัดให้มีการทำบุญตักบาตร ตามวิถีความเชื่อชาวล้านนาเพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต กิจกรรมแข่งขันลาบเมือง แกงขนุน ซึ่งถือเป็นการถ่ายถอดองค์ความรู้การทำอาหารเมือง จากนั้นจัดพิธีสระเกล้าดำหัวผู้อาวุโส คณะผลิตกรรมการเกษตร ซึ่ง "การดำหัว" ในความหมายทั่วไปของชาวล้านนาไทยนั้น หมายถึง การ"สระผม" แต่ในพิธีกรรมโดยเฉพาะในประเพณีปีใหม่เมืองของทุก ๆ ปี หมายถึงการชำระสะสางสิ่งอันเป็นอัปมงคลในชีวิตให้หมดไป ด้วยการใช้น้ำส้มป่อยเป็นเครื่องชำระ พิธีกรรมดำหัวในประเพณีปี๋ใหม่เมืองล้านนา มี 3 กรณี คือ กรณี 1 ดำหัวตนเอง คือทำพิธีเสกน้ำส้มป่อยด้วยคำที่เป็นสิริมงคล เช่น "สัพพทุกขา สัพพภยา สัพพโรคาวินาสันตุ" แล้วใช้น้ำส้มป่อยลูบศีรษะ กรณีที่ 2 ดำหัวผู้น้อย เช่น ภรรยา บุตร หลาน อันเป็นพิธีกรรมต่อเนื่องจากกรณีแรก คือ ใช้น้ำส้มป่อยลูบศีรษะ ภรรยา บุตร หลาน หลังจากดำหัวตนเอง หรือการที่ตนเองรับน้ำส้มป่อย (ในกรณีที่สาม) มาลูบศีรษะตนเอง เสร็จแล้วสลัดใส่ศีรษะหรือลูบศีรษะผู้ที่มาดำหัวตนเอง กรณีที่ 3 ดำหัวผู้ใหญ่ อาจไปดำหัวด้วยตนเอง พาญาติสนิทมิตรสหายไปเป็นหมู่คณะ ดำหัวผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ เช่น ผู้อาวุโส บิดามารดา ครูบา อาจารย์ พระเถระ ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นต้น เครื่องดำหัว จะมีสิ่งของต่าง ๆ นอกจากน้ำส้มป่อย พานข้าวตอกดอกไม้แล้ว ยังมีเครื่องอุปโภคบริโภค ที่นิยมกันส่วนใหญ่จะเป็นผ้า เช่น ผ้าขะม้า เสื้อ ผ้าถุง ผ้าเช็ดหน้า ส่วนเครื่องบริโภคมักจะเป็นพืชผลทางการเกษตร เช่น ฟัก แฟง แตงโม กระเทียม หัวหอม มะเขือ สิ่งของประเภทผลไม้ตามฤดูกาล เช่น มะปราง มะม่วง มะพร้าว เป็นต้น เครื่องดำหัวต่าง ๆ ดังกล่าวนิยมใส่รวมกันใน "ชองอ้อย" (อ่าน-จองอ้อย) ปัจจุบันนิยมใส่ตระกร้าสานสวยงาม ซึ่งบุคลากรและนักศึกษาจะได้มีส่วนร่วมในการรักษาจารีต วิธีปฏิบัติตามวิถีวัฒนธรรมล้านนาไทยให้คงอยู่สืบไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาได้ร่วมกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย "ประเพณีปีใหม่เมือง"
เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาเกิดความเข้าใจและภาคภูมิใจในการร่วมทำกิจกรรม พร้อมเป็นผู้อนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แฝงอยู่ในงานประเพณีปีใหม่เมืองให้คงอยู่
เพื่อเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรและนักศึกษาทั้งปัจจุบันและศิษย์เก่าด้วยกิจกรรมทางวัฒนธรรม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : คณะผลิตกรรมการเกษตร ได้จัดกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย "ประเพณีปีใหม่เมือง" ตามประเพณีวิถีชาวพุทธ
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องหรือตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 กิจกรรม 3
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : คณะผลิตกรรมการเกษตร ได้จัดกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย "ประเพณีปีใหม่เมือง" ตามประเพณีวิถีชาวพุทธ
ชื่อกิจกรรม :
1) วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567 บุคลากรและนักศึกษาจัดขบวนแห่เครื่องสักการะตามประเพณีล้านนา เพื่อนำไปร่วมพิธีดำหัวผู้อาวุโสและอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2567 และเข้าร่วมแข่งขันลาบเมืองส้มตำลีลา ในโครงการสืบสานประเพณีปีใหม่เมืองล้านนา มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 09/04/2567 - 19/04/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพินธุ์  สฤษดิ์นำ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางอารีรักษ์  วิชัยศรี (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางอารีย์  นามเมือง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.อำพล  สอนสระเกษ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จ้างเหมาจัดพิธีบวงสรวงเจ้าที่ เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหาร ผู้เข้าร่วมงาน จำนวน 70 คน x 120 บาท เป็นเงิน 8,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จ้างเหมาจัดทำของดำหัว จำนวน 2 ชุด ชุดละ 1,500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 14400.00
ชื่อกิจกรรม :
2) ส่งเสริมให้บุคลากรใส่เสื้อพื้นเมืองอนุรักษ์วัฒนธรรมล้านนาไทย (เงินดอกผลกองทุนคณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปี พ.ศ.2566)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 05/04/2567 - 30/04/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์  พรหมวงศ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางอารีรักษ์  วิชัยศรี (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางอารีย์  นามเมือง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
เสื้อพื้นเมือง ตัวละ 1,230 บาท x 123 คน เป็นเงิน 151,290 บาท (เงินดอกผลกองทุนคณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปี พ.ศ.2566)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 151,290.00 บาท 0.00 บาท 151,290.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 151290.00
ชื่อกิจกรรม :
3) วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2567 พิธีสูมาคารวะ สระเกล้าดำหัวผู้อาวุโสของคณะผลิตกรรมการเกษตร : ทำบุญเสริมศิริมงคล สระเกล้าดำหัวผู้อาวุโส แข่งลาบเมืองและยำจิ้นไก่ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินท์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 05/04/2567 - 26/04/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพินธุ์  สฤษดิ์นำ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางอารีรักษ์  วิชัยศรี (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางอารีย์  นามเมือง (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายสุรัตน์  เสาร์คำ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.อำพล  สอนสระเกษ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จ้างเหมาจัดทำของดำหัว จำนวน 20 ชุด x ชุดละ 500 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหาร ผู้เข้าร่วมงาน จำนวน 120 คน x คนละ 120 บาท เป็นเงิน 14,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 14,400.00 บาท 0.00 บาท 14,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จ้างเหมาจัดทำพวงมะลิ จำนวน 300 เส้น เส้นละ 8 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
เช่าเครื่องเสียง เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จ้างเหมาจัดสถานที่ เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าสนับสนุนแข่งขันลาบเมือง ทีมละ 1,000 บาท x 5 ทีม / ค่าสนับสนุนแข่งขันยำจิ้นไก่ ทีมละ 600 บาท x 5 ทีม รวมเป็นเงิน 8,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
เงินรางวัล การแข่งขันลาบเมือง เป็นเงิน 3,900 บาท
อันดับ 1 = 1,500 บาท
อันดับ 2 = 1,000 บาท
อันดับ 3 = 800 บาท
อันดับ 4 = 300 บาท
อันดับ 5 = 300 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,900.00 บาท 0.00 บาท 3,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
เงินรางวัล การแข่งขันยำจิ้นไก่ เป็นเงิน 3,900 บาท
อันดับ 1 = 1,500 บาท
อันดับ 2 = 1,000 บาท
อันดับ 3 = 800 บาท
อันดับ 4 = 300 บาท
อันดับ 5 = 300 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,900.00 บาท 0.00 บาท 3,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
เครื่องไทยทาน จำนวน 5 ชุด ชุดละ 500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 51100.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล