21476 : โครงการภูษา อาภรณ์ ผ่อผิ๋น ถิ่นเวียงโกศัย
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 20/3/2567 11:43:58
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
29/03/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  นักศึกษาหรือประชาชนทั่วไปที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดินของกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 2567 40,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพร  จันทร์ฉาย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.4.1 จำนวนโครงการ/กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมที่บูรณาการกับพันธกิจอื่น (การเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการ)
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.4.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรม นศ. การเรียนการสอน และการวิจัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-4 เป็นแหล่งเรียนรู้ อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
เป้าประสงค์ 67-4.1 การเป็นสถาบันที่เป็นแหล่งเรียนรู้ อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 67-4.1.1 จำนวนโครงการ/กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมที่บูรณาการกับพันธกิจอื่น (การเรียนการสอน การวิจัย และบริการวิชาการ)
กลยุทธ์ 67-4.1.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา การเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน และเทคโนโลยีท้องถิ่น เป็นองค์ความรู้ที่ได้รับการสั่งสม ถ่ายทอดและพัฒนาจากประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถของชาวบ้านจากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่ทั้งในตนเอง และในธรรมชาตินำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ในแนวทางที่สอดคล้องกับธรรมชาติ และวิถีชาวบ้าน สังคมล้านนาที่เราพูดกันอยู่ในทุกวันนี้ เกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมมาตั้งแต่อดีต ซึ่งความแตกต่างทางวัฒนธรรมเหล่านั้นจะนำไปสู่ความเข้มแข็งทางภูมิปัญญา ตอนนี้เราต้องให้ความแตกต่างมันกลายเป็นพลัง ไม่ใช่ไปมองความแตกต่างเป็นปัญหา การที่เรามองว่ามันเป็นปัญหาทำให้เราไม่ค่อยพัฒนา ซึ่งมันผิดกับแนวทางที่เราเคยทำมาในอดีตที่เรามาเป็นตัวตนปัจจุบันได้เพราะเราเคารพคนอื่นจนเป็นพลังขึ้นมา การศึกษาล้านนาควรจะเป็นการศึกษาว่าเรามีพลังอะไร อยู่ที่ไหน พลังเหล่านั้นจะขับเคลื่อนสังคมเราให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างไร จังหวัดแพร่ หรือเวียงโกศัย หรือเมืองพลนคร เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในถิ่นล้านนาตะวันออกมีความหลากหลายทางชีวภาพของวัฒนธรรมที่ดีงาม มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจที่หลากหลาย การศึกษาทางด้านล้านนาคดีนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดซับซ้อนส่วนใหญ่ศึกษากันในเชิงสังคม แต่ข้อมูลในเชิงวิทยาศาสตร์นั้นยังมีข้อมูลน้อยมาก เช่น การศึกษาการแพร่กระจายทางพันธุกรรมของชาติพันธุ์ล้านนาจากการรวบรวมยีนที่มีความเชื่อมโยงกัน แบบแผนการจัดเรียงตัวของยีนของชาติพันธุ์ต่าง ๆ วิทยาศาสตร์ชาติพันธุ์ (Ethnoscience) คือ การศึกษาความคิดที่มนุษย์ในวัฒนธรรมต่าง ๆ นำไปจัดระเบียบประสบการณ์ต่าง ๆ การศึกษานี้พัฒนาขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยอาศัยการวิเคราะห์การจัดระเบียบประสบการณ์ของชนพื้นเมือง เช่น เรื่องระบบเครือญาติ ประเภทสี ชนิดของพืช และโรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น การศึกษาในแนวนี้อาจเรียกว่าเป็นการศึกษาทางชาติพันธุ์ชนิดใหม่ ซึ่งมีการนำความรู้ทางจิตวิทยา ภาษาศาสตร์ หรือมานุษยวิทยาเชิงความคิดมาอธิบายการศึกษาวิทยาศาสตร์ชาติพันธุ์เป็นการขยายพรมแดนความรู้มานุษยวิทยาไปสู่การทำวิจัยและการสร้างทฤษฎีทางวัฒนธรรม สก็อตต์ เอแทรน (1991) กล่าวว่าวิทยาศาสตร์ชาติพันธุ์ คือ การมองวัฒนธรรมด้วยกระบวนทัศน์แบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งต้องการศึกษาว่ามนุษย์สร้างและจัดระเบียบความคิดและความเชื่อของตนเองขึ้นมาได้อย่างไร การศึกษาวิทยาศาสตร์ชาติพันธุ์มีเป้าหมายที่จะอธิบายวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นมาตรฐานของความคิดและการกระทำที่น่าเชื่อและเป็นที่ยอมรับได้สำหรับชาวบ้าน วัฒนธรรมในความหมายนี้ จึงเป็นระบบมาตรฐานของผู้เขียนที่ศึกษาวัฒนธรรมนั้น การศึกษาวัฒนธรรมแบบนี้ เป็นเรื่องของความรู้ มิใช่เรื่องของการกระทำ เป็นการทำความเข้าใจระบบวิธีคิดที่อยู่เบื้องหลังคำอธิบายต่าง ๆ การศึกษาวิทยาศาสตร์ชาติพันธุ์ต้องการค้นหาวิธีคิดของชาวบ้านที่มีต่อวัฒนธรรมนั้น ๆ การศึกษาแนวนี้ได้รับอิทธิพลจากมานุษยวิทยาภาษาศาสตร์ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การค้นหารหัส มาตรฐาน หรือ วิธีคิดที่ซ่อนอยู่ภายใน ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้พฤติกรรม เป็นการศึกษาที่สอดคล้องกับการวิจัยภาษาศาสตร์ที่ต้องการค้นหาระบบเสียงและคำที่จัดระเบียบรูปประโยคในคำพูด วิชาภาษาศาสตร์เป็นตัวแทนของวิทยาศาสตร์ชาติพันธุ์ที่ต้องการค้นหา กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่แสดงออกมา เช่น การเรียกญาติพี่น้องที่อาศัยกฎของการแยกเพศ ช่วงอายุ ความสัมพันธ์ระหว่างญาติ และอื่น ๆ วิทยาศาสตร์ชาติพันธุ์ตั้งใจที่จะสร้างแนวคิดทฤษฎีที่เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นหลักการ และเป็นวิธีการศึกษาทางชาติพันธุ์ที่สามารถพิสูจน์ได้ การศึกษาวัฒนธรรมโดยการแยกแยะระบบที่เป็นรากฐาน หรือเป็นระบบที่รองรับมัน ทำให้เกิดวิธีการศึกษาใหม่ในทางมานุษยวิทยา และก่อให้เกิดวิธีวิทยาที่ได้รับการยอมรับมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีผู้โต้แย้ง เช่น โรเจอร์ คีซิ่ง กล่าวว่าข้อสมมุติฐานจากทฤษฎีทางภาษา ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาของวิทยาศาสตร์ชาติพันธุ์เป็นความคิดที่ล้าสมัย เมื่อการศึกษาภาษาศาสตร์มีวิธีคิดที่เปลี่ยนไป เช่น ทฤษฎีภาษาศาสตร์ยุคแรกเชื่อว่าทุกภาษามีโครงสร้างที่แน่นอนตายตัว (Ethnoscience เชื่อว่าทุกวัฒนธรรมมีโครงสร้างที่ตายตัว) จึงต้องมีการศึกษาโครงสร้างนั้น ๆ แต่ทฤษฎีภาษาศาสตร์สมัยหลังเชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการแสดงความหมายขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ล้านนาคดีศรีเวียงโกศัย คือ องค์ความรู้อันเกี่ยวข้องกับความเป็นล้านนาที่ดีงามของจังหวัดแพร่ (เวียงโกศัย) ทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรง อันได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิต ศิลปะ สังคม ภาษา วัฒนธรรม และโดยทางอ้อม อันได้แก่ แง่มุมทางโบราณคดี มานุษยวิทยา และประวัติศาสตร์ ซึ่งครอบคลุมภูมิหลังของความเป็นล้านนาของเมืองแพร่ในอดีตจนถึงตัวตนของเมืองแพร่ในปัจจุบัน การรวบรวมผลงานการศึกษาทางประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นชุมชน โดยอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีการ จดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น จารึก ตำนานพื้นเมือง ตำนานวีรบุรุษ และตำนานทางพระพุทธศาสนาที่กล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมือง รวมถึงอัตชีวประวัติของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์เมืองแพร่ นอกจากนี้ ยังรวบรวมผลงานการศึกษาแหล่งโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุและประวัติศาสตร์ศิลปะล้านนาของเมืองแพร่ ในแขนงต่าง ๆ ล้านนาคดีศรีเวียงโกศัย ว่าด้วยหลักการใช้ภาษาล้านนา การพูด การอ่าน การเขียน การปริวรรตอักษรธรรมล้านนา พจนานุกรมล้านนา ตำราเรียน เอกสารประกอบการเรียนอักษรธรรมล้านนา สำนวน สุภาษิตล้านนา ผลงานการศึกษางานวรรณกรรม ตำนาน นิทาน เจี้ยก้อม และงานวรรณศิลป์ คร่าว ซอ โคลง อัตชีวประวัติของกวีเอกในจังหวัดแพร่ นอกจากนี้ยังรวมถึงผลงานการศึกษาภาษา วรรณกรรม และวรรณศิลป์ ของกลุ่มคนที่อยู่ในขอบข่ายเชื่อมโยงวัฒนธรรมของจังหวัดแพร่ ตระกูลต่าง ๆ เช่น ภาษาไทใหญ่ ภาษาไทยพวน และภาษาไทลื้อ เป็นต้น การรวบรวมผลงานการศึกษาเรื่องแนวความคิดทางปรัชญาพระพุทธศาสนาในดินแดนเวียงโกศัยตำนานทางพระพุทธศาสนา ตำนานวัด ตำนานพระธาตุ นิทานชาดก บทสวดพื้นเมือง พิธีกรรม ความเชื่อ ไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ คาถา อาคม โชคลาง ผี ขวัญ จิตวิญญาณและข้อต้องห้ามทางสังคม จารีต ขนบธรรมเนียม ประเพณีสำคัญทางล้านนาของเมืองแพร่ รวมถึงกฎหมาย-ธรรมศาสตร์ อันเกี่ยวข้องพระพุทธศาสนา การรวบรวมผลงานการศึกษางานศิลปกรรม งานพุทธศิลป์ งานหัตถกรรม งานประดิษฐ์ งานประณีตศิลป์ งานจิตรกรรม ประติมากรรม เครื่องสักการะ เครื่องใช้ในพิธีกรรม ศิลปะการดนตรี บทเพลง บทขับขาน คร่าว จ๊อย ซอ ฮ่ำ ศิลปะการฟ้อนรำ และอัตชีวประวัติ สล่า ช่าง ศิลปินเอกเมืองแพร่ การรวบรวมผลงานสิ่งปลูกสร้าง และสภาพแวดล้อม ว่าด้วยลักษณะที่อยู่อาศัย เรือนท้องถิ่นเมืองแพร่ ความเชื่อเกี่ยวกับเรือน ประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการเรือนท้องถิ่น รูปแบบพัฒนาการเรือนเมืองแพร่ ส่วนประกอบของเรือนที่อยู่อาศัย รูปแบบสถาปัตยกรรมของวัด วิหาร อุโบสถอย่างล้านนาของจังหวัดแพร่ เทคนิคทางการก่อสร้าง การรื้อย้ายเรือนโบราณ แนวทางการอนุรักษ์ทางสถาปัตยกรรม แหล่งนิเวศของชุมชน การวางผังชุมชนและการวิเคราะห์ออกแบบ การกิน การอยู่ เครื่องนุ่งห่มคนเมืองแพร่ ชาติต่าง ๆ ย่อมมีภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมของตนเกี่ยวกับการกิน การอยู่และการแต่งกาย ซึ่งเหมาะสมสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมที่ชนชาตินั้น ๆ อาศัยอยู่ สังคมก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องมีราก รากของสังคม คือ วัฒนธรรม ถ้าตัดรากต้นไม้อะไรเกิดขึ้นฉันใด การพัฒนาโดยตัดรากของสังคม ก็มีผลทำนองเดียวกันฉันนั้น ภูมิปัญญาล้านนาศรีเวียงโกศัย ในเรื่องการกิน การอยู่ เครื่องนุ่งห่มคนเมืองแพร่ ประกอบด้วย อาหาร การเกษตร เครื่องมือ เครื่องใช้ วัฒนธรรมเครื่องแต่งกาย เศรษฐกิจสังคม ชุมชน การละเล่น กิจกรรมทางวัฒนธรรม งานประเพณีทั้ง 12 เดือน และการสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมล้านนาเมืองแพร่ การรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับโรคและอาการป่วยของของชาวล้านนาเมืองแพร่ การตรวจ วินิจฉัย บำบัด การป้องกัน การรักษา การฟื้นฟูสุขภาพ การผดุงครรภ์ ตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านเมืองแพร่ พจนานุกรมทางการแพทย์ล้านนาเมืองแพร่ รวมถึงวิวัฒนาการด้านการแพทย์ล้านนาเมืองแพร่ และแพทย์ทางเลือกแผนล้านนาร่วมสมัยของจังหวัดแพร่ การศึกษาเชิงสังคมวิทยา มานุษยวิทยาของกลุ่มคน ประวัติความเป็นมา การอพยพเคลื่อนย้ายของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในจังหวัดแพร่ อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์การดำรงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลทางสังคมเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ระบบนิเวศ วัฒนธรรมและการปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์สู่สังคมคนเมือง กลายเป็นองค์ความรู้ที่สามารถสืบทอดสายของบรรพชน และความเกี่ยวข้องของชาติพันธุ์ได้ หรือแม้แต่การศึกษาถึงกลุ่มเลือดในชาติพันธุ์ต่าง ๆ ล้านนาคดีศรีเวียงโกศัย คือ องค์ความรู้อันเกี่ยวข้องกับความเป็นล้านนาที่ดีงามของจังหวัดแพร่ (เวียงโกศัย) ทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรง อันได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิต ศิลปะ สังคม ภาษา วัฒนธรรม และโดยทางอ้อม อันได้แก่ แง่มุมทางโบราณคดี มานุษยวิทยา และประวัติศาสตร์ ซึ่งครอบคลุมภูมิหลังของความเป็นล้านนาของเมืองแพร่ในอดีตจนถึงตัวตนของเมืองแพร่ในปัจจุบัน โดยโครงการนี้จะรวบรวมองค์ความรู้เพื่อจัดทำเป็นสื่อออนไลน์เผยแพร่ เรื่อง ล้านนาคดีศรีเวียงโกศัย โดยมีหัวข้อดังนี้ 1.ล้านนาคดีศรีเวียงโกศัย 2.ประวัติศาสตร์และโบราณคดีศรีเวียงโกศัย 3.ภาษา วรรณกรรม และวรรณศิลป์ศรีเวียงโกศัย 4.ปรัชญา ศาสนา ความเชื่อ และพิธีกรรมคนเมืองแพร่ 5.ศิลปกรรม หัตถกรรม ดนตรี และนาฏกรรมศรีเวียงโกศัย 6.สถาปัตยกรรมศรีเวียงโกศัย 7.การกิน การอยู่ เครื่องนุ่งห่ม คนเมืองแพร่ 8.แพทย์ล้านนาคนเมืองแพร่ 9.มานุษยวิทยา (ชาติพันธุ์) คนเมืองแพร่ 10.ภูมิปัญญาท้องถิ่นคนเมืองแพร่ ซึ่ง รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรมเกษตร อีกทั้งยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมดูแลกิจกรรมทางด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย และกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นทั้งภายในและนอกมหาวิทยาลัย เช่น การจัดแต่งขบวนแห่ทั้งงานสงกรานต์ งานลอยกระทง ฯลฯ ออกแบบการแสดงทุก ๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับการแสดง ช่วยนักศึกษาแต่งหน้าแต่งตัว ดูแลและจัดห้องแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยล้านนา เป็นต้น ซึ่งศิลปวัฒนธรรมเปรียบเสมือนจิตวิญญาณ ชีวิต และจิตใจ เพราะเป็นสิ่งที่เกิดจากการหล่อหลอม ขัดเกลา บำรุง และพัฒนามาจากบรรพบุรุษของไทยเรา ดังนั้นเราควรทำนุบำรุง รักษาเอาไว้ และสืบทอดให้คนรุ่นหลังต่อไปเพื่อไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา และนักศึกษายังได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดแพร่จากชุมชนต่าง ๆ เพื่อสืบทอดและทำการเผยแพร่ต่อไป อันสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ ของมหาวิทยาลัย ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรและนักศึกษาร่วมกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น และกิจกรรม Soft Power จากอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของจังหวัดแพร่ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นและจัดทำเป็นสื่อออนไลน์เผยแพร่
2. เพื่อทำนุบำรุงและรักษาศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเอาไว้ให้คนรุ่นหลังต่อไปเพื่อไม่ให้สูญหาย
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นและจัดทำเป็นสื่อออนไลน์เผยแพร่
KPI 1 : จำนวนสื่อออนไลน์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 สื่อ 1
KPI 2 : โครงการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 3 : ค่าใช้จ่ายตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.04 ล้านบาท 0.04
KPI 4 : จำนวนกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องหรือตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 กิจกรรม 1
KPI 5 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : จำนวนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดแพร่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 เรื่อง 10
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นและจัดทำเป็นสื่อออนไลน์เผยแพร่
ชื่อกิจกรรม :
1) รวบรวมข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดแพร่ จำนวน 8 อำเภอของจังหวัดแพร่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 29/03/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ธีราพัฒน์  จักรเงิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.พัชรณัฐ  ดาวดึงษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ละออทิพย์  นะโลกา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (ค่าพาหนะรถยนต์ส่วนตัว) ไป-กลับ จำแนกได้ ดังนี้
1) จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ถึง อ.วังชิ้น จ.แพร่ จำนวน 238 กม.ๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 952 บาท
2) จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ถึง อ.ลอง จ.แพร่ จำนวน 133 กม.ๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 532 บาท
3) จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ถึง อ.เด่นชัย จ.แพร่ จำนวน 146 กม.ๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 584 บาท
4) จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ถึง อ.สูงเม่น จ.แพร่ จำนวน 96 กม.ๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 384 บาท
5) จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ถึง อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ จำนวน 78 กม.ๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 312 บาท
6) จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ถึง อ.หนองม่วงไข่ จ.แพร่ จำนวน 53 กม.ๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 212 บาท
7) จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ถึง อ.สอง จ.แพร่ จำนวน 94 กม.ๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 376 บาท
8) จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ถึง ต.ห้วยโรง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ จำนวน 70 กม.ๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 280 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,632.00 บาท 0.00 บาท 3,632.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 6,368 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,368.00 บาท 0.00 บาท 6,368.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 10000.00
ชื่อกิจกรรม :
2) สังเคราะห์ข้อมูลและบูรณาการร่วมกับงานวิจัย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 29/03/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ธีราพัฒน์  จักรเงิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.พัชรณัฐ  ดาวดึงษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ละออทิพย์  นะโลกา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่มีค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ชื่อกิจกรรม :
4) ผลิตสื่อวีดีทัศน์ เพื่อเผยแพร่ในเว็บเพจ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 29/03/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ธีราพัฒน์  จักรเงิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.พัชรณัฐ  ดาวดึงษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ละออทิพย์  นะโลกา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาผลิตสื่อวีดีทัศน์ จำนวน 1 งาน ๆ ละ 30,000 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท 30,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 30000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
วิชา ทช 271 เทคโนโลยีชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น (เลือกเสรี)
ช่วงเวลา : 29/03/2567 - 30/09/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
1.ล้านนาคดีศรีเวียงโกศัย 2.ประวัติศาสตร์และโบราณคดีศรีเวียงโกศัย 3.ภาษา วรรณกรรม และวรรณศิลป์ศรีเวียงโกศัย 4.ปรัชญา ศาสนา ความเชื่อ และพิธีกรรมคนเมืองแพร่ 5.ศิลปกรรม หัตถกรรม ดนตรี และนาฏกรรมศรีเวียงโกศัย 6.สถาปัตยกรรมศรีเวียงโกศัย 7.การกิน การอยู่ เครื่องนุ่งห่ม คนเมืองแพร่ 8.แพทย์ล้านนาคนเมืองแพร่ 9.มนุษยวิทยา (ชาติพันธุ์) คนเมืองแพร่ 10.ภูมิปัญญาท้องถิ่นคนเมืองแพร่
ช่วงเวลา : 29/03/2567 - 30/09/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานวิจัย
กระบวนการปลูกและการย้อมผ้าหม้อห้อมด้วยชีวนวัตกรรม และพฤษเคมีจากพืชให้สีคราม
ช่วงเวลา : 30/03/2567 - 30/09/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล