20031 : โครงการ "การเพิ่มมูลค่าทรัพยากรในท้องถิ่นตามแนวทาง BCG"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุทธิกานต์ คงคล้าย (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 19/5/2566 19:38:27
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
21/05/2566  ถึง  21/05/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  อาจารย์ นักศึกษา สาขาวิชาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่เบิกค่าใช้จ่าย 2566 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุทธิกานต์  คงคล้าย
อาจารย์ ดร. ชรินทร  ศรีวิฑูรย์
อาจารย์ ดร. ฉันทวรรณ  เอ้งฉ้วน
อาจารย์ ฉัตรนลิน  แก้วสม
อาจารย์ ดร. ขนิษฐา  พัฒนสิงห์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.1 ความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.1.1 การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.66 : 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 1.1 ความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:1.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 1. การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติโควิด (Covid-19) ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและสาธารณสุข ทำให้เกิดการชะลอตัวของระบบเศรษฐกิจในทุกระดับ โดยเฉพาะธุรกิจชุมชน เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบการดำเนินชีวิตแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ (์New Normal) ซึ่งเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต อันเนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผนและแนวทางปฏิบัติที่คนในสังคมคุ้นเคยอย่างเป็นปกติและเคยคาดหมายล่วงหน้าได้ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ภายใต้มาตรฐานใหม่ที่ไม่คุ้นเคย และมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินชีวิตมากขึ้น แนวทางสำคัญที่สามารถช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศหลังวิกฤตในครั้งนี้ คือ การนำ BCG Economy Model ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนมาเป็นตัวช่วย โดยโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green) มี 3 องค์ประกอบสำคัญด้วยกันคือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการรับมือกับกระแสของยุควิถีใหม่ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ในทิศทางที่ดีขึ้น และนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างทั่วถึงบนพื้นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ในการรับมือกับภาวะความเสี่ยงต่างๆ และช่วงหลังจากการเกิดสถานการณ์โควิด-19 ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีรูปแบบเศรษฐกิจที่เน้นการพึ่งพาตนเอง สร้างความเข้มแข็งจากภายใน และเติบโตอย่างมีคุณภาพ โดยหลักการ BCG Economy Model จะเข้ามาช่วยในส่วนนี้ได้ เพราะโมเดลนี้ให้ความสำคัญกับการเดินหน้าไปด้วยกันและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เน้นส่งเสริมรวมถึงการพัฒนาระดับพื้นที่ สร้างอาชีพใหม่และโอกาสธุรกิจใหม่ตั้งแต่ฐานรากอย่างภาคเกษตรไปจนถึงยอดสามเหลี่ยมที่เป็นเทคโนโลยีนวัตกรรมขั้นสูง เป็นหลักประกันการมีงานทำและขับเคลื่อนร่วมกันทุกภาคส่วน อย่างเช่นการสร้างความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้วยตนเองมากขึ้น เพื่อยกระดับมูลค่าในห่วงโซ่การผลิตสินค้าและบริการ และยังคงเชื่อมต่อกับประชาคมโลก จากการรับจ้างผลิต เป็นการสร้างมูลค่าจากการสร้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูงเอง อีกทั้งเปลี่ยนรูปแบบการผลิตจากการ “ผลิตมากแต่สร้างรายได้น้อย” (More for Less) ไปสู่การผลิตสินค้าพรีเมี่ยมที่ “ผลิตน้อยแต่สร้างรายได้มาก” (Less for More) ดังนั้น สาขาวิชาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ จึงได้จัดโครงการ "การเพิ่มมูลค่าทรัพยากรในท้องถิ่นตามแนว BCG" ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านช่องทาง Zoom Meeting และถ่ายทอดสดผ่านทางเฟสบุค (Facebook) ของสาขาวิชาฯ เพื่อให้ความรู้แก่คณาจารย์ นักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไปมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำตลาดดิจิทัล เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาปรับใช้ในการเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรที่มีในชุมชน ท้องถิ่น พื้นที่นั้นๆ หรือบนฐานทุนเดิม โดยเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันของคณาจารย์ในสาขาวิชาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ ผ่านรายวิชาต่าง ๆ เช่น กก422 สัมมนาทางบริหารธุรกิจ (ผศ.ดร.ศุทธิกานต์ คงคล้าย) กก411 การจัดการเชิงกลยุทธ์ (อ.ดร.ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน) กก421 การวิจัยธุรกิจ (อ.ดร.ชรินทร ศรีวิฑูรย์) กก101 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ (อ.ฉัตรนลิน แก้วสม) เป็นต้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด BCG และการนำนวัตกรรมมาใช้ในการเพิ่มมูลค่าสินค้า
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาได้เข้าใจเกี่ยวกับการตลาดแบบดิจิทัล
3. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายของสาขาวิชาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. มีผู้ที่ได้รับการพัฒนาด้านตลาดดิจิทัล
KPI 1 : จำนวนผู้ที่ได้รับการพัฒนาด้านตลาดดิจิทัล
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
ผลผลิต : 2. มีผู้ที่ได้รับการพัฒนาเกี่ยวกับการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการเพิ่มมูลค่าสินค้าบนฐานทุนชุมชน
KPI 1 : จำนวนผู้ที่ได้รับการพัฒนาเกี่ยวกับการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการเพิ่มมูลค่าสินค้าบนฐานทุนชุมชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. มีผู้ที่ได้รับการพัฒนาด้านตลาดดิจิทัล
ชื่อกิจกรรม :
ธุรกิจควรปรับตัวอย่างไรให้ได้ไปต่อในยุคดิจิทัล

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 21/05/2566 - 21/05/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ  เอ้งฉ้วน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุทธิกานต์  คงคล้าย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ชรินทร  ศรีวิฑูรย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ฉัตรนลิน  แก้วสม (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ขนิษฐา  พัฒนสิงห์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่เบิกค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ผลผลิต : 2. มีผู้ที่ได้รับการพัฒนาเกี่ยวกับการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการเพิ่มมูลค่าสินค้าบนฐานทุนชุมชน
ชื่อกิจกรรม :
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาใช้ในการพัฒนาทรัพยากรบนฐานทุนชุมชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 21/05/2566 - 21/05/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุทธิกานต์  คงคล้าย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ  เอ้งฉ้วน (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ชรินทร  ศรีวิฑูรย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ฉัตรนลิน  แก้วสม (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ขนิษฐา  พัฒนสิงห์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่เบิกค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล