20020 : โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การประยุกต์ใช้โปรแกรม SketchUp และ Layout เพื่อการออกแบบเขียนแบบในงานภูมิทัศน์ (66-2.6.6)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.รุ้งทอง เขื่อนขัน (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 16/5/2566 11:56:24
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/05/2566  ถึง  30/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  28  คน
รายละเอียด  ครูผู้สอนสาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ การจัดสวน พืชศาสตร์ การออกแบบเขียนแบบหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สังกัดวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี จำนวน 20 คน เจ้าหน้าที่และผู้ประสานงาน จำนวน 5 คน วิทยากรและผู้ช่วย จำนวน 3 คน
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก 2566 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ สุระพงษ์  เตชะ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.2 ผลักดันผลงานการให้บริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2(64-68)-FAED การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 2.8(64-68)-FAED การพัฒนาระบบกลไกในการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ
ตัวชี้วัด 2.21FAED64 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FAED-2.8.3(64-68) จัดทำฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลโครงการบริการวิชาการของคณะ
ตัวชี้วัด 2.18FAED65 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ FAED-2.8.1(64-68) สนับสนุนการบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรมากขึ้น และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างชาติ
กลยุทธ์ FAED-2.8.6(64-68) ส่งเสริมการถ่ายทอดวิชาการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นตามบริบท อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การบริการวิชาการ การฝึกอบรม สัมมนา หลักสูตรระยะสั้นทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ตลอดจนชุมชนท้องถิ่น
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการพัฒนาเมืองและพื้นที่เพื่อรองรับการท่องเที่ยวในเขตเมืองชนบทและพื้นที่ทางธรรมชาติอย่างกว้างขวาง การพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิทัศน์ในรูปแบบที่หลากหลายที่ต้องการการจัดการเฉพาะทาง ปัจจุบันวิชาชีพในอุตสาหกรรมภูมิทัศน์ได้มีการขยายตัวไปอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านด้านออกแบบ เขียนแบบ การบริหารงานก่อสร้าง การจัดการสนามกอล์ฟ การดูแลรักษาไปจนถึงอุตสาหกรรมการขุดล้อมไม้ใหญ่เป็นต้น เติบโตไปพร้อมๆกับการพัฒนาพื้นที่สีเขียวทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน อสังหาริมทรัพย์ เช่นสวนสาธารณะ บ้านจัดสรร วิชาชีพด้านภูมิทัศน์จึงเป็นวิชาชีพที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาพื้นที่ดังที่กล่าวมา แต่ในขณะเดียวกันตลาดในวิชาชีพยังขาดบุคลากรผู้ที่มีทักษะและความสามารถด้านวิชาชีพทางด้านการออกแบบและการนำเสนองานที่เป็นมาตรฐานอีกจำนวนมาก ซึ่งกำลังคนระดับฝีมือจะต้องตระหนักและพัฒนาฝีมือเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีคุณภาพ โดยการเพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประกอบอาชีพ เนื่องจากปัจจุบันคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ต่างๆ ได้เข้ามามีบทบาทในงานออกแบบทางด้านภูมิสถาปัตยกรรมมากขึ้นเกือบทุกขั้นตอน เป็นพื้นฐานที่จะต่อยอดและสนับสนุนการทำงานของภูมิสถาปนิกหรือนักภูมิทัศน์ให้มีความทันสมัยและเป็นสากล โดยเฉพาะโปรแกรมที่ช่วยงานการออกแบบพื้นฐานอย่างง่าย เช่น SketchUp เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้การนำเสนองานออกแบบทั้งในรูป2มิติและ3มิติ สามารถสื่อความหมายและสร้างรูปแบบงานออกแบบ เขียนแบบให้เสมือนจริงมากที่สุด และใช้ปลั๊กอินเข้าช่วยทำให้เจ้าของงานเห็นภาพ เข้าใจง่าย และช่วยในการตัดสินใจได้เป็นอย่างดี ในสถาบันการศึกษา หลายแขนงก็ได้มีการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน โดยใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบ เขียนแบบ ซึ่งหลักสูตรเทคโนโลยีภูมิทัศน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ก็เป็นหน่วยงานหนึ่งนอกจากการเรียนการสอนในด้านพืชพรรณ การออกแบบและการดูแลรักษาแล้ว การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยออกแบบก็มีการวางไว้ในโครงสร้างหลักสูตรเช่นกัน ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนหลายปีที่ผ่านมาพบว่า นักศึกษาเทียบเรียนซึ่งรับมาจาก ระดับ ปวส. จากวิทยาลัยเกษตรหรืออื่นๆ ที่มีรายวิชาทางด้านการเขียนแบบ ออกแบบน้อย หรือไม่มีเลย เมื่อเข้ามาเรียนจำทำให้เรียนรู้และพัฒนาไปได้ช้ากว่านักศึกษาที่รับมาจากโรงเรียนมัธยม ดังนั้นเพื่อปรับพื้นฐานให้นักศึกษาได้เรียนรู้ตั้งแต่ต้นน้ำ และเป็นมาตรฐานเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน จึงได้จัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูให้เป็นผู้ที่มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ที่ก้าวทันกับพลวัตของโลกเทคโนโลยี และอาชีพ สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดสู่ผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพ เพี่อตอบสนองความต้องการด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวให้ศึกษาต่อหรือเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น หลักสูตรเทคโนโลยีภูมิทัศน์จึงได้ดำเนินการจำทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการประยุกต์ใช้โปรแกรม SketchUp และ Layout เพื่อการออกแบบเขียนแบบในงานภูมิทัศน์ ทั้งนี้ หลักสูตรฯมีความมุ่งหวังที่จะให้ครูผู้สอนสาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ได้รับการพัฒนาความรู้และสมรรถนะด้านการประยุกต์ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยตามความก้าวหน้าของอาชีพ มีเจตคติที่ดีต่อการใช้เทคโนโลยี ตลอดจนเกิดแรงบันดาลใจที่จะนำความรู้และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้หรือต่อยอด เพื่อให้เกิดการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการจัดอาชีวศึกษาและผู้เรียนได้ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบด้วยโปรแกรม SketchUp และ Layout
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถประยุกต์ใช้โปรแกรม SketchUp และ Layout ทำการออกแบบและนำเสนองานภูมิทัศน์ได้
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพภูมิทัศน์ ตระหนักถึงความสำคัญของการนำสื่อและเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาวิชาชีพและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้นำเอาความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกอบรมไปพัฒนาและยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนหรือต่อยอดให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และผลิตนักศึกษาในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สาขาวิชาภูมิทัศน์ให้มีมาตรฐานในการใช้โปรแกรมออกแบบเหมือนกัน
เพื่อสร้างเครือข่ายในการผลิตนักศึกษาด้านภูมิทัศน์ เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรเทคโนโลยี ภูมิทัศน์ 4ปี(เทียบเข้าเรียน)
เพื่อบริการวิชาการแก่หน่วยงานภายนอก
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การประยุกต์ใช้โปรแกรม SketchUp และ Layout เพื่อการออกแบบเขียนแบบในงานภูมิทัศน์
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
KPI 2 : ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมสามารถลงมือปฏิบัติตามโจทย์/ ใบงาน ภายในเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่อบรมเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การประยุกต์ใช้โปรแกรม SketchUp และ Layout เพื่อการออกแบบเขียนแบบในงานภูมิทัศน์
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การประยุกต์ใช้โปรแกรม SketchUp และ Layout เพื่อการออกแบบเขียนแบบในงานภูมิทัศน์ สำหรับบุคลากรสังกัดวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี วิทยาลัยประมง วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมง และวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนวิชาชีพด้านเกษตรกรรมฯ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/05/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์สุระพงษ์  เตชะ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์พิทักษ์พงศ์  แบ่งทิศ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์วรินทร์  กุลินทรประเสริฐ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ไม่เบิกจ่ายงบประมาณ-
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-ไม่มี-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-ไม่มี-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล