19913 : โครงการ “บริการวิชาการเพื่องานสร้างสรรค์และพัฒนาวิชาชีพ; สารสนเทศ - แม่แจ่ม การพัฒนาอาชีพยั่งยืน” ประจำปี 2566
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.อุรัชชา สุวพานิช (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 23/3/2566 9:17:17
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/03/2566  ถึง  31/05/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  180  คน
รายละเอียด  1) ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 3 คน 2) เกษตรกรในชุมชนบ้านแม่ปาน และบ้านสันเกี๋ยง จำนวน 160 คน 3) ผู้บริหาร/ผู้แทนจากหน่วยงานเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 17 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณสนับสนุนจากโครงการตามแผนยุทธศาสตร์คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2566 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์
น.ส. อุรัชชา  สุวพานิช
ดร. วัฒนาพงษ์  ใหม่เฟย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.2 ผลักดันผลงานการให้บริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66Info-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจ (MOC) (ด้านบริการวิชาการ)
เป้าประสงค์ 66Info-2.5 บริการวิชาการและชี้นำแนวทางต่อการพัฒนาสังคม
ตัวชี้วัด 66Info-2.20 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP) (คณะ)
กลยุทธ์ 66Info-2.5.1 คณะฯ ให้บริการวิชาการและถ่ายทอดผลงานตามความเชี่ยวชาญที่มีประสิทธิภาพโดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ทางด้านสื่อดิจิทัลและส่งเสริมให้บุคลากรของคณะมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน ในกิจกรรมของชุมชนที่มีการใช้สารสนเทศและการสื่อสาร เป็นกลไกในการพัฒนาชุมชนสังคม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่การส่งเสริมเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นชุมชนซึ่งถือเป็นเศรษฐกิจฐานใหญ่ของประเทศ หรือที่เรียกว่า "เศรษฐกิจฐานราก" ซึ่งการจะทำให้ประชาชน ในท้องถิ่นชุมชนมีคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ และรายได้ที่ดี มีความมั่นคงบนพื้นที่ของตนเอง จำเป็นต้องสร้างความร่วมมือและอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนเพื่อบูรณาการนโยบายทางเศรษฐกิจที่ภาครัฐได้วางยุทธศาสตร์และเป้าหมายเพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อน ผลักดัน และพัฒนาการดำเนินงานให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในเชิงปฏิบัติให้เชื่อมโยงกันทั้งระบบ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ศีลธรรม รวมถึงการพัฒนาอาชีพเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ให้เกิดความเข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืน โดยการน้อมนำและสืบสานพระราชดำริและศาสตร์แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี มาเป็นแนวทางในการดำเนินโครงการ คือ การระเบิดจากข้างใน เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา บนรากฐานของ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ผสานกับรากเหง้าขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริมชุมชนในพื้นที่ต้นน้ำที่ต้องพึ่งพิงธรรมชาติให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ภายใต้ทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่นที่มีอยู่ โดยอาศัยการมีส่วนร่วม คือ การร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจของชุมชนเป็นหัวใจสำคัญ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตระหนักถึงความสําคัญในบทบาทของมหาวิทยาลัย เกี่ยวกับการบริการวิชาการเพื่อเชื่อมโยงการพัฒนาท้องถิ่นชุมชน ด้วยการนำความรู้/องค์ความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ เผยแพร่สู่ท้องถิ่น ชุมชน และสังคม เพื่อพัฒนางาน สร้างอาชีพ เสริมรายได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหา พัฒนาท้องถิ่น และฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับชุมชนท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกในยุคปัจจุบัน และสนับสนุนให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ในท้องถิ่นชุมชนมีโอกาสได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อีกทั้ง ยังเป็นโอกาสอันดีที่หน่วยงานจากหลายภาคส่วนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ เพื่อสร้างความเข้มแข็งสามัคคีในการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติร่วมกัน ดังนั้น คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้จัดให้มีการดำเนินโครงการ “บริการวิชาการเพื่องานสร้างสรรค์และพัฒนาวิชาชีพ; สารสนเทศ - แม่แจ่ม การพัฒนาอาชีพยั่งยืน” ประจำปี 2566 ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในกำกับ และสังกัดของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การสนับสนุนและผลักดันการมีส่วนร่วมสร้างความตระหนักรู้ ถึงคุณค่าและความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม น้ำ ป่า พร้อมไปกับการดำรงรักษา ถ่ายทอดและเผยแพร่วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมการเกษตร เพื่อสร้าง ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน/องค์การทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างความมั่นคงทางรายได้ อาหาร สุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในท้องถิ่นชุมชน ด้วยความยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ในการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing)

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับท้องถิ่นชุมชนอย่างยั่งยืน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : แหล่งเรียนรู้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนต้นแบบ ด้านการจัดทำระบบบ่อพวงสันเขาเพื่ออาชีพการเกษตร และการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อสร้างอาชีพการท่องเที่ยว “วิถีชุมชน คนกับน้ำ”
KPI 1 : จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อสร้างอาชีพการท่องเที่ยว
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แห่ง 1
KPI 2 : จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดทำระบบบ่อพวงสันเขาเพื่ออาชีพการเกษตร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แห่ง 1
ผลผลิต : คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น สร้างให้เกิดอาชีพ รายได้ และยืนยันบทบาทของมหาวิทยาลัยในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่น และสังคม ได้อย่างเป็นรูปธรรม
KPI 1 : ร้อยละของเกษตรกรในชุมชนฯ ที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ความเข้าใจต่อการจัดทำระบบบ่อพวงสันเขาเพื่ออาชีพการเกษตร
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของเกษตรกรในชุมชนฯ ที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ความเข้าใจต่อการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการสร้างอาชีพการท่องเที่ยว
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : แหล่งเรียนรู้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนต้นแบบ ด้านการจัดทำระบบบ่อพวงสันเขาเพื่ออาชีพการเกษตร และการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อสร้างอาชีพการท่องเที่ยว “วิถีชุมชน คนกับน้ำ”
ชื่อกิจกรรม :
สํารวจและออกแบบพื้นที่, ประชุมกลุ่มผู้นำชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงาน/กิจกรรม, จัดทำระบบบ่อพวงสันเขา และพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อสร้างอาชีพการท่องเที่ยว “วิถีชุมชน คนกับน้ำ”, เก็บข้อมูลผลการดำเนินงานโครงการฯ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 16/03/2566 - 16/05/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ดร.วัฒนาพงษ์  ใหม่เฟย (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.อุรัชชา  สุวพานิช (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
ผลผลิต : คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น สร้างให้เกิดอาชีพ รายได้ และยืนยันบทบาทของมหาวิทยาลัยในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่น และสังคม ได้อย่างเป็นรูปธรรม
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ การจัดทำระบบบ่อพวงสันเขาเพื่ออาชีพการเกษตร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2566 - 05/04/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ดร.วัฒนาพงษ์  ใหม่เฟย (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.อุรัชชา  สุวพานิช (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาเช่ารถยนต์ จำนวน 1 คัน x 1,300.- บาท x 4 วัน = 5,200.- บาท
2. ค่าที่พัก(ผู้ปฏิบัติงาน) จำนวน 3 ห้อง x 500.- บาท x 3 คืน = 4,500.- บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 180 คน x 35.- บาท x 2 มื้อ = 12,600.- บาท
4. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 180 คน x 120.- บาท x 1 มื้อ = 21,600.- บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 43,900.00 บาท 0.00 บาท 43,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. วิทยากร (ภายนอกมิใช่บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน x 6 ชม. X 1,200.- บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงรถเช่า (รถเช่า; มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.สันทราย เชียงใหม่ ไป-กลับ บ้านแม่ปาน – สันเกี๋ยง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่) โดยประมาณการ จำนวน 1 คัน x 3,500.- บาท
2. ค่าวัสดุสำหรับจัดโครงการฯ โดยประมาณการ (วัสดุสำนักงาน และวัสดุคอมพิวเตอร์) ได้แก่ ป้ายไวนิล, กระดาษ, กระดาษสี, หมึกพิมพ์, ปากกา, ปากกาไวท์บอร์ด, แฟ้มซองใส, ซองเอกสารสีน้ำตาล, ป้ายชื่อพร้อมสายห้อยคอ, ลวดเสียบกระดาษ, ลวดเย็บกระดาษ, คลิปดำ, เทปใส, เทปกาว, เทปผ้า, สันรูด, เจลแอลกอฮอล์, เทปกระดาษกาวสองหน้า, เชือกไนล่อน เป็นต้น) = 4,000.- บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,500.00 บาท 0.00 บาท 7,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 58600.00
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อสร้างอาชีพการท่องเที่ยว “วิถีชุมชน คนกับน้ำ”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2566 - 05/04/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ดร.วัฒนาพงษ์  ใหม่เฟย (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.อุรัชชา  สุวพานิช (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 180 คน x 35.- บาท x 2 มื้อ = 12,600.- บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 180 คน x 120.- บาท x 1 มื้อ = 21,600.- บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 34,200.00 บาท 0.00 บาท 34,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. วิทยากร (ภายนอกมิใช่บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน x 6 ชม. X 1,200.- บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 41400.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล