19906 : โครงการส่งเสริมและพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการด้านเครื่องดื่ม อาหาร และผลิตภัณฑ์อินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 14/3/2566 9:16:14
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
04/10/2565  ถึง  30/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  10  คน
รายละเอียด  นักศึกษา บุคลากร ศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน รายรับจากการจำหน่ายเครื่องดื่ม อาหาร และผลิตภัณฑ์อินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ประมาณการเดือนละ 60,000 บาท เฉลี่ยวันละ 2,000 บาท
2566 70,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. วีรนันท์  ไชยมณี
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 4 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology and Innovation)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 4.2 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 4.1.3 พัฒนาศักยภาพของศิษย์เก่าแม่โจ้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบ Re-training หรือ Re-skills เพื่อให้สามารถเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ หรือมีความสามารถเป็นที่พอใจของนายจ้าง
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 4.1.2 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66-6 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พิเศษ
เป้าประสงค์ 66-6.5 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing)
ตัวชี้วัด 66-6.5.1 จำนวนนักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 66-6.5.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาและบัณฑิตเป็นผู้ประกอบการที่สามารถสร้างหรือต่อยอดนวัตกรรมของสถาบัน/มหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาและเพื่อขยายความรู้สู่ท้องถิ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เทียบเท่าเพียงคณะ ที่มีขอบข่ายการทำงานครอบคลุมงานหลายประเภท ตามภารกิจ ทั้ง 5 ด้านของมหาวิทยาลัย อันประกอบไปด้วย 1) ภารกิจด้านการเรียนการสอน 2) ภารกิจด้านวิจัย 3) ภารกิจด้านบริการวิชาการ 4) ภารกิจด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 5) ภารกิจด้านบริหารจัดการ นอกเหนือจากภารกิจหลักทั้ง 5 ด้านดังกล่าวแล้ว มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ยังมีความเชี่ยวชาญพื้นฐานด้านเทคโนโลยีการเกษตร เกษตรกรรมยั่งยืน นวัตกรรมการเกษตร การเกษตรอัจฉริยะ การแปรรูปอาหาร และบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 (พัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม) และได้มีการขับเคลื่อนมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ภายใต้การดำเนินงานตามตัวชี้วัดของแผนพัฒนาส่วนงานในมิติที่ 4 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing) ตลอดจนการเสนอโครงการ/กิจกรรมภายใต้แผนพัฒนาความเป็นเลิศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ.2566 อีกทั้งยังได้เปิดหลักสูตรด้านนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ และหลักสูตรผู้ประกอบการเกษตรนวัตกรรม ทั้ง Degree และ non-degree ที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบ module และแบบ online โดยมีกลุ่มเป้าหมายสำหรับคนตลอดช่วงอายุวัยให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตรวมทั้งหลักสูตรในการ Up skill, Re skill New Skill เพื่อให้บุคลากร นักศึกษา บัณฑิตใหม่ที่ยังไม่มีงานทำ และผู้ประกอบการได้เข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะในการนำไปเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือสร้างธุรกิจใหม่ได้ โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ได้กำหนดเป้าหมายเมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ ในพ.ศ.2570 คือการ “พลิกโฉมมหาวิทยาลัยสู่การสร้างบัณฑิตผู้ประกอบการเศรษฐกิจสร้างคุณค่า ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ” ทั้งนี้ เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 และตามตัวชี้วัดของแผนพัฒนาส่วนงานมหาวิทยาลัย แม่โจ้-แพร่ฯ ที่นักศึกษาและบัณฑิตได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ นั้น งานนโยบาย และแผน จึงได้จัด “โครงการส่งเสริมและพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการด้านเครื่องดื่ม อาหาร และผลิตภัณฑ์อินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ” ขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการสำหรับนักศึกษา บุคลากร ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ และภาคประชาชนที่มีความสนใจ และต้องการสร้างเสริมประสบการณ์ สำหรับการเป็นผู้ประกอบการในอนาคต ซึ่งการดำเนินกิจกรรมของโครงการจะมีความสอดคล้องและครอบคลุมตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทางได้อย่างสมบูรณ์

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการสำหรับนักศึกษา บุคลากร ศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติและประชาชน
2 เพื่อขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม2 นำไปสู่การพลิกโฉมมหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology and Innovation)
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการส่งเสริมและพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการด้านเครื่องดื่ม อาหาร และผลิตภัณฑ์อินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
KPI 1 : ร้อยละของนักศึกษา และบัณฑิต มีทักษะ ความรู้ความเข้าใจในการเป็นผู้ประกอบการด้านเครื่องดื่ม อาหาร และผลิตภัณฑ์อินทรีย์ เพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 2 : จำนวนนักศึกษา และบัณฑิต (ศิษย์เก่าที่จบการศึกษาไม่เกิน 5 ปี) ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 คน 10
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการส่งเสริมและพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการด้านเครื่องดื่ม อาหาร และผลิตภัณฑ์อินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ชื่อกิจกรรม :
ส่งเสริมและพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการด้านเครื่องดื่ม อาหาร และผลิตภัณฑ์อินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 03/04/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.วีรนันท์  ไชยมณี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ธีราพัฒน์  จักรเงิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.รัชนีวรรณ  คำตัน (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางธนันธรณ์  วุฒิญาณ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.ถิรนันท์  กิติคู้ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.ดุลฤดี  เสาทิ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.อภิญญา  ชุ่มอินถา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เป็นเงิน 70,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 70,000.00 บาท 0.00 บาท 70,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 70000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล