19732 : โครงการค่ายอาสาพัฒนาและสร้างเครือข่ายการเรียนรู้วัฒนธรรมชนเผ่า
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางเพ็ญศิริ หน่อแก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 1/2/2566 16:14:43
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา (เบิกจ่ายจากงบพัฒนากิจกรรมนักศึกษา)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
03/02/2566  ถึง  28/02/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  14  คน
รายละเอียด  1. นักศึกษา จำนวน 14 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 14 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยพลังงานทดแทน หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน (เบิกจ่ายจากงบพัฒนากิจกรรมนักศึกษา) 2566 30,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย นักรบ  กลัดกลีบ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ภคมน  ปินตานา
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.7 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.1.14 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ใกล้ชิดกับชุมชนและเกษตรกร และการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างจิตสาธารณะและจิตสำนึกที่ดีแก่นักศึกษา และภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66-ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 66-2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 66-2.1.7 ร 66-2.1.7 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 66-ทบทวนรูปแบบการจัดกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

-ชุมชนบ้านปรอโพร เป็นชุมชนกะเหรี่ยงสกอ ตั้งอยู่ ณ พื้นที่สูงใน ต.แม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ชาวบ้านมีอาชีพทำไร่ ทำนา รับจ้าง และหาของป่าขาย จากนโยบายของรัฐได้ประกาศเขต ป่าเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 A ทำให้ชุมชนได้รับผลกระทบด้านการพัฒนาชุมชน และการพัฒนาด้านสาธารณูปโภค การคมนาคมในฤดูฝนไม่สะดวก ถนนเป็นดินลูกรัง เข้าถึงพื้นที่ยากลำบากต้อง ใช้ยานพาหนะขับเคลื่อน 4x4 ล้อ เท่านั้น ระบบน้ำประปาเป็นประปาภูเขาสภาพน้ำขุ่นไม่สะอาด ที่สำคัญในหมู่บ้านไม่มีระบบไฟฟ้า ไม่มีแสงสว่างในเวลากลางคืน ชุมชนนี้ เป็นชุมชนที่มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ แม่น้ำ และสิ่งแวดล้อมอย่างดียิ่ง สภาพป่าไม้อุดมสมบูรณ์ วิถีชีวิต เน้นการดำรงชีพแบบพอเพียง “คนพึ่งป่า” อาศัยป่า พึ่งพาน้ำ ในพื้นที่ป่าเป็นหลัก โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานพลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์) เป็นโครงการหนึ่งที่สามารถลดปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่อยู่ห่างไกลและทุรกันดารที่โครงสร้างพื้นฐานหลัก อาทิ ไฟฟ้าและโทรศัพท์ยังเข้าไปไม่ถึง เช่น พื้นที่ภูเขา หรือพื้นที่ป่า ยังคงเป็นโจทย์ใหญ่ของประเทศและยังนับเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ ตลอดชีวิตจะทำอย่างไรที่จะทำให้ประชากรในพื้นที่ ที่อยู่ห่างไกล มีแสงสว่างใช้ในเวลากลางคืน และยังสามารถใช้เป็นแหล่งผลิตและเก็บพลังงานไฟฟ้า เพื่อใช้กับโทรศัพท์และเข้าถึงข้อมูล ชุมชนบ้านปรอโพ จึงมีความจำเป็นที่ควรได้รับการฝึกอบรมเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้ชุมชนมีไฟฟ้าระบบเซลล์แสงอาทิตย์ใช้ในเวลากลางคืน
เพื่อให้ชุมชนมีความเข้าใจในการใช้พลังงานทดแทน (ระบบเซลล์แสงอาทิตย์)
เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่อย่างยั่งยืน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. นักศึกษารู้และเข้าใจวัฒนธรรมมของชนเผ่า 2. ปลูกฝังให้นักศึกษามีจิตอาสาและช่วยเหลือผู้อื่น 3. นักศึกษาได้นำความรู้ที่ได้เล่าเรียนไปถ่ายทอดให้กับชุมชน
KPI 1 : ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาและสร้างเครือข่ายการเรียนรู้วัฒนธรรมชนเผ่า (ระดับ 3.5)
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.5 ระดับ 3.5
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า ร้อยละ 100
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 3 : ระดับความพึงพอใจของชุมชนต่อกิจกรรม (ระดับ 3.5)
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.5 ระดับ 3.5
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. นักศึกษารู้และเข้าใจวัฒนธรรมมของชนเผ่า 2. ปลูกฝังให้นักศึกษามีจิตอาสาและช่วยเหลือผู้อื่น 3. นักศึกษาได้นำความรู้ที่ได้เล่าเรียนไปถ่ายทอดให้กับชุมชน
ชื่อกิจกรรม :
- จัดฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ร่วมกับมูลนิธิสันต์ขันแก้ว/ สมาคมYMCAเชียงใหม่(สำนกังานเสาหิน)
- การติดตั้งโซล่าเซลล์พร้อมหลอดไฟในชุมชน จำนวน 47 หลังคาเรือน ร่วมกับมูลนิธิสันต์ขันแก้ว/ สมาคม YMCA เชียงใหม่(สำนกังานเสาหิน)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 03/02/2566 - 28/02/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายนักรบ  กลัดกลีบ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยง 3 วัน ๆ ละ 240 บาท จำนวน 14 คน เป็นเงิน 10,080 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,080.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,080.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์ (4WD) จำนวน 2 คัน ๆ 1,800 บาท 3 วัน รวมเป็นเงิน 10,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น 6,920 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,920.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,920.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ชุดไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวน 2 ชุด ๆ ละ 1,100 รวม 2,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 30000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย.002 โครงการค่ายอาสา
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล