18867 : SAS-65-โครงการ "การบริหารการพัฒนาศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษเกษตรสุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม สู่ความยั่งยืน"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
นางนิตยา ไพยารมณ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 18/10/2565 12:58:16
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
27/11/2564  ถึง  27/12/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  160  คน
รายละเอียด  1. ชุมชนบ้านดงเจริญชัย กลุ่มองค์กรชุมชน เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เกษตรอำเภอ กำนันผู้ใหญ่บ้าน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอสันทราย จำนวน 50 คน 2. อาจารย์ บุคลากร จำนวน 10 คน 3. นักศึกษาวิทยาลัยบริหารศาสตร์ระดับตรี โท เอก (เข้าร่วมแบบออนไลน์) จำนวน 100 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สถาพร  แสงสุโพธิ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.20 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.5 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐาน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์มต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ SAS 64-67 (3) บริการวิชาการด้านการเมืองการปกครอง กฎหมาย การระหว่างประเทศ การบริหารรัฐกิจ และการบริหารกิจการสังคม
เป้าประสงค์ SAS 64-65 (3.1) มีผลงานบริการวิชาการตามจุดเน้นของวิทยาลัย
ตัวชี้วัด SAS-65-66 จำนวนแหล่งเรียนรู้/ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ SAS 65-66 ส่งเสริมและสนับสนุนการถ่ายทอดองค์ความรู้หรือการบริการวิชาการให้ชุมชนสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้หรือฐานเรียนรู้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ตามที่ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ ได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการ หัวข้อ “โครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งเชิงบูรณาการอย่างเป็นระบบบนฐานพื้นที่อำเภอสันทราย” หรือ เรียกชื่อย่อว่า “โครงการสันทรายโมเดล” ในปี 2561 – 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งผลจากการดำเนินโครงการดังกล่าว เกิดการพัฒนาศักยภาพผู้นำในทุกภาคส่วนในอำเภอสันทราย เกิดกลุ่มองค์กรความร่วมมือ ทั้งกลุ่มด้านการเกษตร กลุ่มวิสาหกิจ กลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชน กลุ่มสุขภาพชุมชน กลุ่มชุมชนต้นแบบ และเกิดโมเดลในการพัฒนา 10 โมเดล ตลอดจนเกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม ทั้งนี้ทุกภาคส่วนต่างมีโอกาสได้ร่วมกันทบทวน วางแผนการพัฒนา โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการพัฒนาอำเภอสันทราย โมเดลสุขภาพชุมชน หมอในบ้านอาหารเป็นยา เป็น 1 ใน 10 โมเดลที่ชุมชนบ้านดงเจริญชัย ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เกิดการต่อยอดในการดูแลสุขภาพชุมชน โดยการผลิตอาหารสุขภาพ การแปรรูปสมุนไพรท้องถิ่น การ นวด กัวซา ดูแลสุขภาพคนในชุมชน จนเป็นแหล่งเรียนรู้และมีผู้ที่สนใจมาศึกษาดูงาน ในปัจจุบันชุมชนบ้านดงเจริญชัย ต้องการพัฒนากลุ่มให้เป็นศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษเกษตรสุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม สู่ความยั่งยืน เพื่อพัฒนาศูนย์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ การปลูกพืชอาหารของระบบเกษตรสุขภาพสู่ความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน ดังนั้น คณะกรรมการบริการวิชาการและวิจัย จึงเห็นควร จัดโครงการบริการวิชาการ เรื่อง “การบริหารการพัฒนาศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษเกษตรสุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม สู่ความยั่งยืน” เพื่อให้ชุมชนบ้านดงเจริญชัย มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการศูนย์ฯ ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารข้อมูลสารสนเทศชุมชนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาศูนย์ให้เกิดความเข้มแข็ง โดยจัดโครงการในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564 ณ ศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษเกษตรสุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม สู่ความยั่งยืน บ้านดงเจริญชัย หมู่ที่ 6 ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งการจัดโครงการบริการวิชาการในครั้งนี้ยังได้บูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชา รป213 สารสนเทศเพื่อการบริหารภาครัฐ เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ให้นักศึกษาในการใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารกลุ่ม องค์กรและชุมชนเป็นต้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษเกษตรสุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม สู่ความยั่งยืน
เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ด้านบริหารจัดการสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการกลุ่ม องค์กรชุมชน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษเกษตรสุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม สู่ความยั่งยืน
KPI 1 : ชุมชนได้รับความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษเกษตรสุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
ผลผลิต : นักศึกษามีความรู้ด้านบริหารจัดการสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการกลุ่มองค์กรชุมชน
KPI 1 : นักศึกษาได้รับความรู้ด้านบริหารจัดการสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการกลุ่มองค์กรชุมชน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษเกษตรสุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม สู่ความยั่งยืน
ชื่อกิจกรรม :
- บรรยาย “การบริหารศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษเกษตรสุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน”
- เยี่ยมชมฐานเรียนรู้ “กระบวนการปลูกพืชอาหารของระบบเกษตรสุขภาพสู่ความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน”
- เสวนา “กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สินค้า และตลาดเกษตรสุขภาพ”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 27/11/2564 - 27/11/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร  แสงสุโพธิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
ผลผลิต : นักศึกษามีความรู้ด้านบริหารจัดการสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการกลุ่มองค์กรชุมชน
ชื่อกิจกรรม :
- บรรยาย “การบริหารศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษเกษตรสุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน”
- เยี่ยมชมฐานเรียนรู้ “กระบวนการปลูกพืชอาหารของระบบเกษตรสุขภาพสู่ความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน”
- เสวนา “กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สินค้า และตลาดเกษตรสุขภาพ”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 27/11/2564 - 27/11/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร  แสงสุโพธิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล