18506 : พัฒนาการเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิดบนแพลตฟอร์ม BA MJU MOOC
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
นางนพนิตย์ วงศ์สุ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 1/7/2565 10:53:40
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/07/2565  ถึง  31/08/2565
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  บุคลากรสายวิชาการคณะบริหารธุรกิจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะบริหารธุรกิจ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2565 150,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. วินัย  บังคมเนตร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะบริหารธุรกิจ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.9 จำนวนรายวิชาเรียนรู้ตลอดชีวิต
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.1.19 พัฒนาหลักสูตรทั้งระยะสั้นและระยะยาวที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ BA65-6 การพัฒนาตามยุทธศาสตร์ / อัตลักษณ์ / ภารกิจเฉพาะของส่วนงาน
เป้าประสงค์ BA65-G-24 มีการเรียนการสอนแบบ Smart Learning Community
ตัวชี้วัด KPIBA 65-49 จำนวนรายวิชาที่จัดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์(MOOC)
กลยุทธ์ BA65-S-73 พัฒนารูปแบบการสอนแบบ Smart Learning Community
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันองค์กรทั่วโลกได้มีการนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ในการจัดการเรียน การสอนอย่างแพร่หลาย เป็นการให้ทางเลือกและเอื้ออํานวยความสะดวกต่อผู้เรียนมากขึ้นโดยผู้เรียนสามารถ เรียนรู้และฝึกฝนตนเองได้โดยลําพังแบบไม่มีข้อจํากัดในเรื่องเวลาและสถานที่โดยการใช้รูปแบบของการการ สอนหรือฝึกอบรมการเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิด (Massive Open Online Course : MOOC) ประเทศไทย กําลังให้ความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชากรในประเทศทุกเพศทุกวัย เนื่องจากจะก่อให้เกิดการพัฒนาตนสู่ความยั่งยืนและส่งผลให้เกิดการพัฒนาประเทศที่มีความมั่นคงในที่สุดได้ และเนื่องจากในปัจจุบันนี้การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาทสําคัญเสมือนหนึ่งเป็นปัจจัยในการ ดําเนินชีวิตของประชาชนทั่วไป สถาบันการศึกษาต่างๆ มีการนําเทคโนโลยีสารสนเทศทางไกลและการสื่อสาร (Using ICT and Blended for Life Long Education) มาเป็นเครื่องมือเพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าสู่องค์ ความรู้ต่างๆ ได้โดยง่ายและไร้ขีดจํากัด ทั้งนี้วิธีจัดการศึกษาด้วยเครื่องมือดังกล่าวนี้จะสนับสนุนให้ผู้ที่ต้องการ พัฒนาตนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ที่ต้องการได้โดยไม่จํากัดสถานที่และเวลา นอกจากนี้แล้วการดําเนินการ ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ควรยึดหลักแนวทางดําเนินการที่มุ่งสู่คุณภาพและประสิทธิภาพด้วยการใช้ทรัพยากร ร่วมกันและแบ่งปันความรู้ระหว่างสถาบัน พร้อมทั้งมีการสร้างเครือข่ายที่ขยายไปสู่ระดับการศึกษาอื่นๆ เพื่อให้ประชากรไทยมีโอกาสในการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างสะดวกและเท่าเทียมกัน อันจะส่งผลให้เกิด การพัฒนาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ในที่สุดและได้มีการขยายผลการดําเนินการโดยการเผยแพร่วิธีการแบ่งปัน ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติจริงสู่บุคลากรการศึกษาทั้งอุดมศึกษาและอื่นๆ อย่างแพร่หลาย มีการเผยแพร่ระบบ การสร้างสื่อที่มีคุณภาพสูง เผยแพร่ทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่า (Open Courseware) ด้วยการเรียนการสอน ออนไลน์ระบบเปิด การเรียนการสอนออนไลน์ระบบเปิดหมายถึง รายวิชาหรือหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนออนไลน์ โดยสถาบันศึกษาหรือองค์กร เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนจํานวนมากลงทะเบียนเรียนได้ฟรีโดยอิสระ ตามความสนใจและความต้องการ สามารถเรียนรู้เนื้อหาจากวิดีทัศน์และทรัพยากรการเรียนรู้อื่นๆ อีกทั้งฝึกฝนตนเองได้ โดยแบบลําพังแบบไม่มีข้อจํากัดในเรื่องเวลาและสถานที่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้มีโครงการพัฒนารายวิชา สื่อ ข้อสอบ และจัดการเรียนการสอน BA MJU MOOC เพื่อการจัดการศึกษาแบบเปิดสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยจัดทำสื่อการเรียนรู้ จำนวน 3 รายวิชา ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และฝึกฝนตนเองได้โดยลำพังแบบไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาและสถานที่ ผ่านระบบบนพื้นฐานซอฟต์แวร์ Canva ซึ่งนำมาพัฒนาต่อยอดให้เหมาะสำหรับการใช้งานของคณะบริหารธุรกิจ เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่รองรับรูปแบบของการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นต้นแบบการจัดการเรียนการสอนสำหรับคณะ สำนักและหน่วยงานอื่นๆใมหาวิทยาลัยต่อไป ขอบเขตและการดำเนินการ 1 คำจำกัดความในขอบเขต รายวิชา หมายถึง รายวิชาในหลักสูตรการเรียนการสอนปกติ หรือ ส่วนหนึ่งของรายวิชาในหลักสูตร การเรียนการสอนปกติ หรือ เนื้อหาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได้ ชั่วโมงการเรียนรู้ หมายถึง ระยะเวลาทั้งหมดที่ผู้เรียนใช้ในการเรียนรายวิชา (หน่วยเป็นชั่วโมง) ประกอบด้วย เวลาในการเรียนรู้จากสื่อวีดิทัศน์ เวลาในการเรียนรู้จากเอกสารความรู้ และเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนทั้งหมดของรายวิชา ฯลฯ ชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ หมายถึง ระยะเวลาทั้งหมดของสื่อวีดิทัศน์ที่ปรากฏในรายวิชา รายสัปดาห์/รายหน่วย/หน่วยการเรียนรู้ หมายถึง คาบเวลาในการเรียนเนื้อหาหนึ่งหน่วย 2 ขอบเขตและการดำเนินงาน รายวิชามีเนื้อหาประกอบด้วยหัวข้อทักษะ 5 ด้านที่สอดคล้องกับความสามารถทั้ง 4 มิติ ประกอบด้วย 1) Essence of Basic Computer and Mobile Devices: การวัดทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ Smart Devices ตั้งแต่เบื้องต้น เช่นเปิดเครื่อง การใช้งานระบบปฏิบัติการ การจัดการไฟล์ต่าง ๆ 2) Online and Social media: การวัดทักษะการใช้ Browser ในการสืบค้น เข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ การใช้งานอีเมล์ การเข้าใจในหลักการของการสื่อสารผ่านสื่อ Social Media 3) Key Applications: การวัดทักษะในการใช้ Application ที่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ อุปกรณ์ Smart Devices ที่มีความจำเป็นต่อการใช้งาน เช่น Microsoft Office และ Application อื่น ๆ ที่จำเป็น 4) Security: การวัดทักษะด้านความปลอดภัยทางสารสนเทศ เช่น การป้องกันตนเองจากอีเมล์หลอกลวง เป็นต้น 5) Ethics: การวัดทักษะทางจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีเช่น พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ความสามารถทั้ง 4 มิติ ได้แก่ การใช้ (user) การเข้าใจ (Understand) การสร้าง (Create) การเข้าถึง (Access) โดยการกำหนดรายละเอียดของรายวิชานั้นอ้างอิงตามมาตรฐานของรายวิชาบน Thai MOOC โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 2.1 รายวิชามีเนื้อหาในแต่ละหัวข้อ ไม่เกิน 12 ชั่วโมงการเรียนรู้ โดยแบ่งเนื้อหาเป็นหน่วย แต่ละหน่วยมีชั่วโมงการเรียนรู้อยู่ระหว่าง 1- 3 ชั่วโมง โดยแต่ละหัวข้อมีการนำเสนอเนื้อหาด้วยสื่อวีดิทัศน์จำนวนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 35 ของชั่วโมงการเรียนรู้ โดยสื่อวีดิทัศน์แต่ละคลิปมีความยาวไม่เกิน 10 นาที (ตัวอย่างการคำนวณ 1 ชั่วโมงการเรียนรู้ (60 นาที) ต้องมีการนำเสนอเนื้อหาด้วยสื่อวีดิทัศน์ไม่น้อยกว่า 21 นาที) 2.3 แต่ละรายวิชาต้องมีการนำเสนอเนื้อหาด้วยสื่ออื่น ๆ เช่น กิจกรรมการเรียนรู้ เอกสารอ่านเพิ่มเติม แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้อื่น ๆ จำนวนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 65 ของชั่วโมงการเรียนรู้ (ตัวอย่างการคำนวณ 1 ชั่วโมงการเรียนรู้ (60 นาที) ต้องมีการนำเสนอสื่ออื่น ๆไม่น้อยกว่า 39 นาที) 2.4 มีการออกแบบกิจกรรมการเรียน และปฏิสัมพันธ์เป็นไปตามหลักการเรียนการสอน MOOC ประเภท Self-paced learning 2.5 ข้อสอบรายวิชา มีข้อสอบจำนวนไม่น้อยกว่า 4 ข้อต่อ 1 ชั่วโมงการเรียนรู้ของแต่ละรายวิชา 2.6 จัดทำรายงานสรุปการจัดการเรียนการสอน ผลการประเมินผู้เรียน และผลการประเมินอื่น ๆ ในรายวิชา 3 แนวทางการจัดทำรายวิชา การจัดทำรายวิชามีมาตรฐานที่ใช้เป็นแนวทางในการออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน โดยมีการกำหนดขอบเขตเพื่อใช้ในการดำเนินงาน 10 องค์ประกอบหลัก คือ 3.1 ประมวลรายวิชา 3.2 โครงสร้างเนื้อหาและบทเนื้อหา 3.3 แผนการจัดการเรียนรู้ 3.4 สื่อการเรียนรู้ 3.5 กิจกรรมการเรียนรู้ 3.6 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3.7 การให้ข้อมูลรายวิชา 3.8 ข้อสอบ 3.9 การจัดการเรียนการสอน 3.10 สรุปผลการจัดการเรียนการสอน และประเมินผล

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนาและปรับปรุงระบบการเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิดสำหรับ BA MJU MOOC คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เพื่อพัฒนารายวิชา/หลักสูตรและจัดการเรียนการสอนในระบบเปิดบน BA MJU MOOC จำนวน 3 รายวิชา
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ระบบสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิด BA MJU MOOC
KPI 1 : ระบบสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิด BA MJU MOOC
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ระบบ 1
KPI 2 : ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ระดับ 3.51
KPI 3 : จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
40 คน 40
KPI 4 : ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิด BA MJU MOOC
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ระดับ 3.51
ผลผลิต : รายวิชาที่พร้อมเปิดใช้งานในระบบ BA MJU MOOC
KPI 1 : ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ระดับ 3.51
KPI 2 : รายวิชาที่พร้อมเปิดใช้งานในระบบ BA MJU MOOC
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 รายวิชา 3
KPI 3 : จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
40 คน 40
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ระบบสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิด BA MJU MOOC
ชื่อกิจกรรม :
การพัฒนาและปรับปรุงระบบสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิด BA MJU MOOC

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/07/2565 - 31/08/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.วินัย  บังคมเนตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1.ค่าจ้างเหมาการพัฒนาและปรับปรุงระบบสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิด BA MJU MOOC
• การพัฒนาเว็บไซต์หน้าหลักเพื่อเข้าใช้งานระบบ BA MJU MOOC และการจัดการข้อมูลผู้ใช้ จำนวน 1 ระบบ 15,000 บาท
• การพัฒนาส่วนการดำเนินการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ รองรับการเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิด จำนวน 1 ระบบ 30,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 45,000.00 บาท 45,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 45000.00
ผลผลิต : รายวิชาที่พร้อมเปิดใช้งานในระบบ BA MJU MOOC
ชื่อกิจกรรม :
พัฒนาการเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิด3 รายวิชา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/07/2565 - 31/08/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.วินัย  บังคมเนตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1.ค่าจ้างเหมาพัฒนาการเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิด3 รายวิชา
• ภาพแบรนเนอร์ภาพนิ่ง จำนวน 3 แบรนเนอร์ เป็นเงิน 3,000 บาท
• วีดีทัศน์อิเล็คทรอนิกส์ ในส่วนของการแนะนำวิชา/หลักสูตร 3 ไฟล์ เป็นเงิน 12,000 บาท
• วีดีทัศน์อิเล็คทรอนิกส์ ในส่วนของเนื้อหารายวิชา/หลักสูตร 15 ไฟล์ (3 รายวิชา) เป็นเงิน 90,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 105,000.00 บาท 105,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 105000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล