18502 : โครงการอบรมทักษะการควบคุมสัตว์เลี้ยงและสัตว์พิเศษ รุ่นที่ 2
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางณัฐธนะนันท์ เอี่ยมตะกูล (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 30/6/2565 19:12:37
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/06/2565  ถึง  31/08/2565
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  15  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 15 คน ประกอบด้วย 11.1 ประชาชนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา อายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป 11.2 พนักงานควบคุมสัตว์ประจำสถานพยาบาลสัตว์
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะสัตวแพทยศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการอบรมทักษะการควบคุมสัตว์เลี้ยงและสัตว์พิเศษ รุ่นที่ 2 2565 10,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. บัญชา  พงศ์พิศาลธรรม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร. พชรพร  ตาดี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ไพโรจน์  พงศ์กิดาการ
รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. วศิน  เจริญตัณธนกุล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสัตวแพทยศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.1 ความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.1.1 การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เกือบทุกครัวเรือนในประเทศมักมีสัตว์เลี้ยงไว้เป็นเพื่อน โดยเฉพาะสัตว์ประเภทสุนัข แมว กระต่าย และนก เป็นสัตว์ที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เนื่องด้วยปัจจุบันวิถีชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป โดยให้ความสำคัญจากสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อนเปลี่ยนเป็นส่วนหนึ่งในสมาชิกของครอบครัว รวมถึงเจ้าของสัตว์ที่มีความตระหนักถึงความสำคัญของสถานพยาบาลสัตว์ทั้งด้านมาตรฐานและด้านคุณภาพมากขึ้น ปัจจุบันธุรกิจดูแลสัตว์เลี้ยงและโรงพยาบาลสัตว์ในไทยมีการขยายตัวมากขึ้นและต่อเนื่องติดต่อกันหลายปี ด้วยความก้าวหน้าด้านวิทยาการทางสัตวแพทย์ การตรวจวินิจฉัยและการรักษาสัตว์ที่มีการพัฒนาก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา จำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญและความชำนาญของสัตวแพทย์ในการตรวจวินิจฉัย รวมถึงผู้ควบคุมสัตว์ซึ่งเป็นฝ่ายสนับสนุนหลักสำคัญที่ทำให้ขั้นตอนการตรวจรักษา ตลอดจนการทำหัตถการต่าง ๆ ของสัตวแพทย์สำเร็จได้อย่างราบรื่น เพื่อให้การควบคุมสัตว์ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยเพิ่มเติมกับตัวสัตว์ และป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน บุคคลโดยรอบ และทรัพย์สิน รวมถึงการควบคุมสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษซึ่งมีลักษณะและพฤติกรรมที่จำเพาะแตกต่างจากการควบคุมสุนัขและแมว ดังนั้นผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมสัตว์จึงควรมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและขั้นตอนควบคุมสัตว์ที่ถูกต้อง ในการนี้ ทางคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เล็งเห็นถึงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในตำแหน่งผู้ควบคุมสัตว์่ในสถานพยาบาลสัตว์ จึงได้ดำเนินการจัดโครงการอบรมอบรมทักษะการควบคุมสัตว์เลี้ยงและสัตว์พิเศษ รุ่นที่ 2 เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานด้านการควบคุมสัตว์มีความรู้ความเข้าใจถึงบทบาทและขั้นตอนการควบคุมสัตว์ที่ถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัยต่อสัตว์ โดยบุคลากรกลุ่มนี้จะช่วยส่งเสริมงานบริการของสถานพยาบาลสัตว์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
• เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของการปฏิบัติงานผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ในสถานพยาบาลสัตว์ • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในขั้นตอนการควบคุมสัตว์เพื่อช่วยงานสัตวแพทย์ในการตรวจวินิจฉัย การรักษา และการทำหัตถการอื่น ๆ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานและตัวสัตว์ • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมในการควบคุมสัตว์ได้อย่างปลอดภัย สามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็วและช่วยลดความเครียดให้กับสัตว์ เป้าประสงค์ : เพิ่อเพิ่มศักยภาพบุคคลในตำแหน่งผู้ควบคุมสัตว์ในสถานพยาบาลสัตว์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : จำนวนผู้ผ่านการฝึกอบรม
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10000 บาท 10000
KPI 3 : จำนวนผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ และผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
15 คน 15
KPI 4 : ความพึงพอใจโดยรวมระดับมากขึ้นไปของผู้เข้าร่วมอบรมภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : คะแนนทดสอบหลังการอบรมโดยเฉลี่ยของผู้เข้ารับการอบรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
60 ร้อยละ 60
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : จำนวนผู้ผ่านการฝึกอบรม
ชื่อกิจกรรม :
โครงการอบรมทักษะการควบคุมสัตว์เลี้ยงและสัตว์พิเศษ รุ่นที่ 2
ประชาชนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา พนักงานควบคุมสัตว์ประจำสถานพยาบาล ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 14/06/2565 - 31/07/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.บัญชา  พงศ์พิศาลธรรม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ สัตวแพทย์หญิงสาริศา  กลิ่นหอม (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ นายสัตวแพทย์ภากร  ลิ้มเล็งเลิศ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.ทิพย์ภาภรณ์  อุปโย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.รรินธร  ธรรมกุลกระจ่าง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่บุคลากรคณะ จำนวน 20 คน ๆ ละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 1,200 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่บุคลากรคณะ จำนวน 20 คน ๆ ละ 80 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท 2,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
-ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคบรรยาย จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 3 คน 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
-ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคปฏิบัติ จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 200 บาท 3 คน 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 7,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 10000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
อันตรายจากสัตว์ที่นำมาใช้ฝึกปฏิบัติ เช่น โดนกัด ข่วน เป็นต้น
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1. สัตว์ที่นำมาใช้ฝึกปฏิบัติได้รับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า และเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความคุ้นเคยกับคน 2. ผู้เข้าร่วมฝึกปฏิบัติและวิทยากรต้องตรวจคัดกรองด้วยชุดตรวจ COVID-19 Rapid Antigen Test Kit (ATK) ภายใน 24 ชั่วโมงก่อนเข้าฝึกปฏิบัติ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล