17996 : โครงการ คลีนิคกฎหมาย
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
อาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล :
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
ไม่ระบุ
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
 ถึง 
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย    คน
รายละเอียด  
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการไม่ใช้งบประมาณ 2565 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. จักรกฤช  ณ นคร
อาจารย์ ดร. ชรินทร  ศรีวิฑูรย์
อาจารย์ ดร. จุฑามาส  เพ็งโคนา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.65 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.65 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชน ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.65:2.3.5 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ มจ.ชพ.65: 41. สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สอบไล่ได้วิชาความรู้ชั้นเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ ๓๓ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๔ “...กฎหมายนั้นไม่ใช่ตัวความยุติธรรม เป็นแต่เพียงเครื่องมืออย่างหนึ่ง สำหรับใช้ในการรักษาและอำนวยความยุติธรรมเท่านั้น การใช้กฎหมายจึงต้องมุ่งหมายใช้เพื่อรักษาความยุติธรรมไม่ใช่เพื่อรักษาตัวบทของกฎหมายเอง และการรักษาความยุติธรรมในแผ่นดิน ก็มิได้มีวงแคบอยู่เพียงแค่ขอบเขตของกฎหมาย หากต้องขยายออกไปให้ถึงศีลธรรมจรรยาตลอดจนเหตุและผลตามความเป็นจริงด้วย...” เนื่องด้วยกฎหมายมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน เพราะการใช้ชีวิตในประจำวันของประชาชนย่อมต้องดำเนินอยู่ในกรอบแห่งกฎหมาย ที่เป็นบรรทัดฐานอันเดียวกัน เรื่องของบทบัญญัติของกฎหมายนั้นเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจและติดตามการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เนื่องจากกฎหมายก็ย่อมจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย กฎหมายในปัจจุบันมีอยู่เกือบ 100 ฉบับและจะมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเชื่อแน่ว่าประชาชนทั่วไปไม่มีทางที่จะติดตามหรือรู้ได้เลยว่ากฎหมายแต่ละฉบับนั้นได้กำหนดสิทธิหน้าที่และความรับผิดของตนไว้อย่างใดบ้าง จึงมีโอกาสที่ประชาชนทั่ว ๆ ไปจะทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว อาทิเช่นเช่น มียาชนิดหนึ่งไว้ในครอบครองเพื่อทานเป็นประจำ ซึ่งเดิมไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด แต่ต่อมามีกฎหมายกำหนดให้การครอบครองยาดังกล่าวเป็นความผิด ผู้ครอบครองไม่อาจแก้ตัวว่าตนไม่รู้ว่าการมียาไว้กับตัวเป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าว และต้องได้รับโทษในกรณีเช่นนี้ย่อมไม่เป็นธรรม ยิ่งทุกวันนี้กฎหมายมีมากขึ้น บุคคลจึงไม่อาจอ้างว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อปฏิเสธความรับผิด สุภาษิตกฎหมายที่ว่า “ความไม่รู้กฎหมายไม่อาจเป็นข้อแก้ตัวได้” นั้นมาจากภาษาลาตินที่ว่า “Ignorantia juris non excusat” หรือที่แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Ignorance of the law is no excuse. เป็นหลักกฎหมายที่นานาประเทศรวมถึงประเทศไทยได้ยอมรับและปฏิบัติตามมานานแล้ว ประมวลกฎหมายอาญาของไทย มาตรา 64 บัญญัติไว้ว่า “บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้ แต่ถ้าศาลเห็นว่าตามสภาพและพฤติการณ์ ผู้กระทำความผิดอาจจะไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาลเชื่อว่าผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้” ซึ่งหมายความว่าความไม่รู้ว่าการกระทำของตนเป็นความผิดต่อกฎหมายนั้น ไม่อาจใช้เป็นข้อแก้ตัวเพื่อให้พ้นผิดได้ และปัจจุบัน มีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เนื่องด้วยภารกิจต่าง ๆ ทำให้ไม่มีโอกาสในการศึกษาหาความรู้ความที่เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง เมื่อเกิดกรณีปัญหาขึ้น ก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหา หรือเข้าใจประเด็นปัญหาได้อย่างถ่องแท้ และปล่อยเวลาล่วงเลยไปเนิ่นนานจนปัญหาเรื้อรังแก้ไขได้ยาก จนต้องพึ่งพาการให้บริการด้านกฎหมายที่มีค่าใช้จ่ายสูง ถ้าหากได้รับการแก้ไขปัญหาหรือรับทราบข้อมูลในการปฏิบัติที่ถูกต้องก่อน ปัญหาก็จะไม่เรื้อรังกลายเป็นเรื่องใหญ่ ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชานิติสาสตร์ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จึงมีแนวความคิดในการบูรนาการการเรียนการสอนกับการจัดโครงการคลีนิคกฎหมาย โดยให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรที่เรียนวิชากฎหมายได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของโครงการจากวิชาที่เรียนมา อาทิเช่น การร่วมให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย การเผยแพร่ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนในชุมชน ซึ่งเป็นการสร้างจิตสาธารณะ จิตสำนึกที่ดีแก่นักศึกษา พัฒนาทักษะ Skills ของนักศึกษาในด้านกฎหมาย เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย ตามประเด็นยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์หลักของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดังนั้น จึงได้เกิดแนวความคิดในการจัดทำโครงการคลินิกกฎหมายควบคู่ไปกับการบูรนาการการเรียนการสอน ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อให้ประชาชน บุคลากรและนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้รับคำปรึกษาในปัญหาด้านกฎหมายโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยสร้างความสำเร็จและประเมินผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม 2. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาในการพัฒนาชุมชนและสังคม ใกล้ชิดชุมชน รักษาสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสาธารณะ จิตสำนึกที่ดีแก่นักศึกษาและภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย 3. เพื่อพัฒนาทักษะ Skills ของนักศึกษาในด้านกฎหมายในหมวด GE ให้มากขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : คลีนิคกฎหมาย
KPI 1 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้เยี่ยมชมฐานเรียนรู้ - จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
ผลผลิต : ประชาชน บุคลากร นักศึกษาในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรได้รับคำปรึกษากฎหมายและมีการบูรนาการจากการเรียนการสอนโดยนักศึกษามีส่วนร่วมในโครงการ
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนผู้เยี่ยมชมฐานเรียนรู้ - จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : คลีนิคกฎหมาย
ชื่อกิจกรรม :
มีการให้คำปรึกษาปัญหาด้านกฎหมายโดยเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมโดย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 11/01/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.จักรกฤช  ณ นคร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ชรินทร  ศรีวิฑูรย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จุฑามาส  เพ็งโคนา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
ผลผลิต : ประชาชน บุคลากร นักศึกษาในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรได้รับคำปรึกษากฎหมายและมีการบูรนาการจากการเรียนการสอนโดยนักศึกษามีส่วนร่วมในโครงการ
ชื่อกิจกรรม :
1 นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านกฎหมายเกี่ยวกับพัฒนาชุมชนและสังคม ใกล้ชิดชุมชน รักษาสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสาธารณะ จิตสำนึกที่ดี
2 นักศึกษามีทักษะ Skills ในด้านกฎหมายมากขึ้นจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโครงการคลีนิคกฎหมายและเพื่อเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 11/01/2565 - 30/09/2565
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.จักรกฤช  ณ นคร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ชรินทร  ศรีวิฑูรย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จุฑามาส  เพ็งโคนา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของการนัดหมายจัดกิจกรรมตามสถานการณ์จริงเนื่องจากสถานการณ์โควิด
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ชี้แจงกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้เข้าใจและแจ้งกำหนดการนัดหมายใหม่ล่วงหน้าและใช้ระบบการสื่อสารออนไลน์
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
1.นักศึกษาในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรมีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาปัญหาด้านกฎหมายจากวิชาที่เรียนมา 2. นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านกฎหมายเกี่ยวกับพัฒนาชุมชนและสังคม การใกล้ชิดชุมชน รักษาสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสาธารณะ จิตสำนึกที่ดีแก่นักศึกษาและภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย 3. นักศึกษามีทักษะ Skills ในด้านกฎหมายมากขึ้นจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโครงการคลีนิคกฎหมายและเพื่อเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ช่วงเวลา : 11/01/2565 - 30/09/2565
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล