17390 : โครงการเสริมสร้างสมรรถนะนักศึกษา: Be the next Gen of Entrepreneur
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2565
นางดวงใจ ไพพงค์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 11/10/2564 19:24:40
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
06/10/2564  ถึง  19/10/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวชั้นปีที่ 4 จำนวน 37 คน พร้อมคณาจารย์และวิทยากร จำนวน 3 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ สำนักงานคณบดีคณะพัฒนาการท่องเที่ยว หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ ประจำปี 2565 แผนงานการเรียนการสอน งานจัดการศึกษาสาขาพัฒนาการท่องเที่ยว กองทุนเพื่อการศึกษา งบเงินอุดหนุน 2565 72,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ อรุณโรจน์  พวงสุวรรณ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2565 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.8 จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมด้านการสร้างความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.1.17 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนานักศึกษาเพื่อสร้างความเป็นผู้ประกอบการ เช่นการสร้าง Learning Space และ Working Space เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียน การจัดกิจกรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับนักศึกษา
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-69 TDS 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 TDS 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 65-69 TDS 2.1.8 จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมด้านการสร้างความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 65-69 TDS ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนานักศึกษาเพื่อสร้างความเป็นผู้ประกอบการ เช่น การสร้าง Learning Space และ Working Space เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียน การจัดกิจกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับนักศึกษา
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เน้นผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ประกอบการด้านธุรกิจท่องเที่ยวที่มีอัตลักษณ์ประกอบด้วยทักษะสำคัญทั้งหมด 13 ด้าน ตามนโยบายมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่กำหนดให้หลักสูตรต่าง ๆ มีการจัดทำหลักสูตรให้เป็นไปตามหลักการ Outcome-Based Education (OBE) หลักสูตรฯ จึงมีการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว ในแต่ละปี หลักสูตรฯ จึงได้วางแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาที่แตกต่างกันไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาทักษะที่หลักสูตรฯ ได้กำหนดไว้ในแต่ละชั้นปีการศึกษา ดังนี้ ชั้นปีที่ 1: นักศึกษาจะได้รับความรู้และทักษะเกี่ยวกับวิชาพื้นฐานที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด รวมถึงแนวคิดพื้นฐานและธรรมชาติของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่บริบทของการเป็นบุคลากรทางการท่องเที่ยวมืออาชีพ ชั้นปีที่ 2: นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาทักษะเฉพาะทางที่เกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญของธุรกิจท่องเที่ยว โดยให้นักศึกษาทดลองตามวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) และเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากมืออาชีพ ชั้นปีที่ 3: นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการ และการเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการ โดยมีการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารจัดการสู่การเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ ชั้นปีที่ 4: นักศึกษาสามารถบูรณาการองค์ความรู้ และทักษะด้านการบริหารจัดการธุรกิจการท่องเที่ยว สู่การเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และประชากรโลก นอกเหนือจากการดำเนินการเพื่อตอบรับนโยบายของมหาวิทยาลัยแล้ว การจัดโครงการเสริมสร้างสมรรถนะนักศึกษา: Be the next Gen of Entrepreneur ที่สอดคล้องตอบรับกับแผนการใช้หลักสูตรการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวที่กำหนดให้นักศึกษาพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับสมรรถนะพื้นฐานของการเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจการท่องเที่ยวแห่งอาเซียน และมีกิจกรรมฝึกประสบการณ์ 400 ชั่วโมงในระหว่างปิดภาคการศึกษาเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจลึกซึ้งในธุรกิจท่องเที่ยวประเภทต่าง ๆ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ชั้นปีที่ 2: กิจกรรมฝึกประสบการณ์ด้านธุรกิจโรงแรมและภัตตราคาร ชั้นปีที่ 3: กิจกรรมฝึกประสบการณ์ด้านธุรกิจการบิน ขนส่ง ทัวร์ และ MICE ดังนั้น เพื่อให้นักศึกษาในชั้นปีที่ 4 สาขาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายได้สามารถพัฒนาสมรรถนะของตนให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้กำหนด การจัดทำ “โครงการเสริมสร้างสมรรถนะนักศึกษา: Be the next Gen of Entrepreneur จึงเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีทักษะและประสบการณ์เพื่อพร้อมแก่การเป็นผู้ประกอบการด้านธุรกิจท่องเที่ยว

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้พัฒนาสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ โดยทดลองตามวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) และเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากมืออาชีพ ตามวัตถุประสงค์การจัดการเรียนการสอนตามแนวทาง Outcome-Based Education (OBE) โดยในระดับชั้นปีที่ 4 ซึ่งกำหนดให้นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะเฉพาะทางที่เกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญของธุรกิจท่องเที่ยว โดยให้นักศึกษาทดลองตามวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การเป็นผู้ประกอบการ และเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากมืออาชีพ
เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบูรณการกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาของแต่ละภาคการศึกษา
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษาได้พัฒนาสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการโดยทดลองตามวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) และเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากมืออาชีพฯ
KPI 1 : โครงการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
13 วัน 13
KPI 2 : นักศึกษามีผลคะแนน pre test , post test เพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : นักศึกษาสามารถใช้แนวปฏิบัติที่ดีเลิศที่ได้เรียนรู้จากมืออาชีพมาปฏิบัติทักษะการเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายเป็นไปตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
72000 บาท 72000
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษาได้พัฒนาสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการโดยทดลองตามวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) และเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากมืออาชีพฯ
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมการเสริมสร้างสมรรถนะนักศึกษา: Be the next Gen of Entrepreneur

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 06/10/2564 - 19/10/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์อรุณโรจน์  พวงสุวรรณ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1,200 บาท x 60 ชั่วโมง x 1 คน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
72,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 72,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 72000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ระยะเวลาจำกัด วิทยากรนำเสนอเร็วในประเด็นสำคัญ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล