17182 : โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบในโรงงานต้นแบบและตรวจวิเคราะห์ทดสอบอาหารทดแทนไข่โดยใช้วัตถุดิบจากพืช
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
น.ส.ปวริศา ศรีสง่า (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 18/6/2564 15:45:48
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/04/2564  ถึง  30/09/2564
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  1 บริษัท  คน
รายละเอียด  บริษัท มีท อวตาร จำกัด
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรายได้รับโอนจาก อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2564 302,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. จิตราพร  งามพีระพงศ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.22 รายได้จากการให้บริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.8 ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรหรือหน่วยงานให้บริการวิชาการเพื่อก่อให้เกิดรายได้
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 2.22 EN64 รายได้จากการให้บริการวิชาการ (อบรม ดูงาน ที่ปรึกษา วิทยากร ฯลฯ)
กลยุทธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรหรือหน่วยงานให้บริการวิชาการเพื่อก่อให้เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคพยายามลดการบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูป ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases: NCDs) เนื่องจากพบว่า เนื้อแดงที่ผ่านกระบวนการแปรรูป อาจเกิดสารเคมีกลุ่ม ไนโตรซามีนและโพลีไซคลิกอะโรเมติกคาร์บอนรวมถึงเมื่อผ่านกระบวนการทำให้สุก อาจเกิดสารกลุ่ม เฮทเทอโรไซคลิกอะโรเมติกเอมีน ซึ่งสารเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง (WHO, 2015) ผู้บริโภคจึงหันมาบริโภคอาหารโปรตีนที่มาจากพืชเพิ่มมากขึ้น ร่วมกับกระแสของการหันมาบริโภคมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น (Flexitarian) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการศึกษาพบว่า ในสหราชอาณาจักร กว่า 40%ของประชากรสนใจที่จะหันมาเป็นมังสวิรัติ หรืออยู่ในช่วงพยายามเลิกรับประทานเนื้อสัตว์บางชนิด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของกลุ่ม Flexitarianเป็นหลัก ในสหรัฐอเมริกามีประชากรที่เป็นมังสวิรัติมากกว่า 7 ล้านคนและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกือบ 1 ใน 3 คน เลือกที่จะลดการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเป็นครั้งคราว งานวิจัยของ Wageningen University ระบุว่า ในปี 2013 ราว 3 ใน 4 ของผู้บริโภคชาวดัตช์และเยอรมัน เป็นกลุ่ม Flexitarian ซึ่งมีการรับประทานมังสวิรัติอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน และราว 40% รับประทานมังสวิรัติอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน สำหรับประชากรไทย ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า สัดส่วนของประชากรไทยที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นจาก 4% ในปี 2556 เป็น 12% ในปี 2560 (EIC สำนักงานสถิติแห่งชาติ) นอกจากนี้ ยังมีกระแสรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เพิ่มสูงขึ้น มีการแสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่าผลิตภัณฑ์จากพืช ทั้งในด้านปริมาณน้ำลดลงจนเป็นผลให้เกิดโลกร้อน การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้พื้นที่ ความขาดแคลนเทียบการใช้น้ำ กลุ่มผลิตภัณฑ์จากสัตว์ให้ผลิตภาพต่ำกว่าเมื่อเทียบกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม (Clark et al., 2019) และประเด็นการคำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) และ สิทธิของสัตว์ (Animal rights) ที่เป็นประเด็นที่มีการพูดถึงมากขึ้น รวมทั้งปัญหาเรื่องความมั่นคงทางอาหาร (Food security) จากข้อมูลของสหประชาชาติ (United Nations) คาดว่า จำนวนประชากรโลกอาจสูงถึง 9.7 พันล้านคนในปี 2050 ซึ่งจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นนี้จะส่งผลให้ความต้องการอาหารมีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารในกลุ่มโปรตีนที่มาจากเนื้อสัตว์ ทำให้มีความจำเป็นต้องหาโปรตีนจากแหล่งอื่นมาทดแทนเนื่องจากการเลี้ยงสัตว์จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรในปริมาณมาก ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ที่ช้ในการเลี้ยงสัตว์และพื้นที่ที่ใช้ในการปลูกพืชอาหารสัตว์ รวมทั้งทรัพยากรอื่นๆ (ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร, 2563) ประเด็นต่างๆ ที่กล่าวมาเป็นแรงขับดันให้กระแส Plant-based Food หรืออาหารในกลุ่มโปรตีนทางเลือก (Alternative Proteins) เติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว Plant-based Food เป็นอาหารที่ใช้วัตถุดิบจากพืชที่ให้โปรตีนสูง เช่น ถั่ว เห็ด สาหร่าย ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีทางอาหารในการแปรรูป ทำให้อาหารมีลักษณะ รสชาติ กลิ่น รส คล้ายเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ Plant-based Food สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ Plant-based meat Plant-based egg และ Plant-based milk สำหรับในท้องตลาดในขณะนี้ Plant-based egg ยังมีจำกัด อีกทั้งไข่นั้นเป็นอาหาร 1 ใน 9 อาหารที่ระบุว่าเป็นสารก่อภูมิแพ้ อีกทั้งยังมีบุคคลบางกลุ่มที่หลีกเลี่ยงการรับประทานไข่ เนื่องจากอ้างว่า ในไข่มีคอเลสเตอรอลสูง ดังนั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทดแทนไข่โดยใช้พืชเป็นวัตถุดิบ จึงนับเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจสำหรับบุคคลทั่วไปและบุคคลที่ให้ความสนใจกับสุขภาพเป็นพิเศษ บริษัท มีท อวตาร จำกัด เป็นผู้ผลิตอาหารกลุ่ม Plant-based Food โดยมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่รู้จักในท้องตลาด คือ หมูสับจำแลง และ หมูกรอบจำแลง และต้องการเปิดสายการผลิตและตลาดของ Plant-based Food ชนิดใหม่ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ทางบริษัทให้ความสนใจ คือ Plant-based egg ซึ่งในขณะนี้มีการพัฒนาสูตรเบื้องต้นแล้วบางส่วน บริษัทมีความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบสำหรับทดสอบตลาดผู้บริโภค จำนวน 1,000 ชุด
เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางกายภาพ เคมี คุณค่าทางโภชนาการ รวมไปถึงอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการยื่นมาตรฐานกฎหมาย อย.
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์ต้นแบบในโรงงานต้นแบบและตรวจวิเคราะห์ทดสอบอาหารทดแทนไข่โดยใช้วัตถุดิบจากพืช
KPI 1 : ผลิตภัณฑ์ต้นแบบอาหารทดแทนไข่โดยใช้วัตถุดิบจากพืช
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1000 ชิ้น 1000
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์ต้นแบบในโรงงานต้นแบบและตรวจวิเคราะห์ทดสอบอาหารทดแทนไข่โดยใช้วัตถุดิบจากพืช
ชื่อกิจกรรม :
การผลิตภัณฑ์ต้นแบบในโรงงานต้นแบบและตรวจวิเคราะห์ทดสอบอาหารทดแทนไข่โดยใช้วัตถุดิบจากพืช

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2564 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.จิตราพร  งามพีระพงศ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าจ้างเหมาการเตรียมวัตถุดิบ (ถั่วเขียวซีก ถั่วเหลือง ถั่วลูกไก่) เป็นของสุกโดยหม้อนึ่งความดัน = 16,000 บาท
-ค่าจ้างเหมาการเตรียมวัตถุดิบแบบแห้งโดยเครื่องอบลมร้อน ได้แก่ ฟักทองผง แครอทผง กระเทียมผง หอมผง = 8,000 บาท
-ค่าบริการใช้เครื่องหม้อนึ่งความดัน = 32,000 บาท
-ค่าบริการใช้เครื่องเครื่องอบลมร้อน= 11,000 บาท
-ค่าบริการใช้ Retort = 18,000 บาท
-ค่าจ้างเหมาทดสอบลักษณะทางกายภาพ เช่น ความหนืด ความเป็นกรดด่าง สี เนื้อสัมผัส = 40,000 บาท
-ค่าจ้างเหมาทดสอบลักษณะทางเคมี เช่น โปรตีน ไขมัน ใยอาหาร = 45,000 บาท
-ค่าจ้างเหมาการผลิตและบรรจุ จำนวน 1,000 ตัวอย่างๆ ละ 56.80 บาท = 56,800 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 226,800.00 บาท 226,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
-ค่าบรรจุภัณฑ์ และฉลาก จำนวน 1,000 ชิ้น x 45 บาท รวม 45,000 บาท
- ค่าวัสดุสำนักงาน 15,000 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ 15,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 75,200.00 บาท 75,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 302000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล