17095 : โครงการปี๋ใหม่เมืองล้านนา รู้คุณค่าเรื่องวัฒนธรรมไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
น.ส.กัลย์ชิสา นามวงศ์พรหม (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 21/4/2564 13:21:18
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
08/04/2564  ถึง  24/04/2564
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  10  คน
รายละเอียด  กิจกรรม 1 วันที่ 9 เมษายน 2564 : บุคลากรและนักศึกษา สังกัดคณะผลิตกรรมการเกษตร จัดตั้งขบวนแห่เครื่องดำหัวอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 10 คน (กิจกรรม 2 วันที่ 23 เมษายน 2564 -ยกเลิกกิจกรรม- "ประเพณีดำหัวปี๋ใหม่ รวมใจชาวคณะผลิตกรรมการเกษตร" บริเวณหน้าอาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร : บุคลากรอาวุโสและผู้ติดตาม ศิษย์เก่า คณะผลิตกรรมการเกษตร จำนวน 30 คน / นักศึกษาชาวไทยและชาวต่างประเทศ บุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 100 คน)
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินดอกผลกองทุนคณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 2564 6,000.00
งบประมาณเงินรายได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 สำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานรอง แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผลผลิต ผลงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมหลัก ส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม แผนงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กองทุนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป โครงการภารกิจพัฒนางานเดิม (ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2) (รหัส 17095 โครงการปี๋ใหม่เมืองล้านนา รู้คุณค่าเรื่องวัฒนธรรมไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564) 2564 14,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. วงค์พันธ์  พรหมวงศ์
นาง กนกพร  นันทดี
น.ส. กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. กอบลาภ  อารีศรีสม
อาจารย์ ดร. รัชชานนท์  สมบูรณ์ชัย
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.4 เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.24 จำนวนกิจกรรมด้านการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมแก่หน่วยงานภายนอก
กลยุทธ์ 64 MJU 2.4.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา การเรียน การสอน และการวิจัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ64 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 AP 2.4 เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 64AP2.4.2 ระดับของวัฒนธรรม ประเพณี ในการอนุรักษ์ สืบสานอันเป็นอัตลักษณ์ของส่วนงาน
กลยุทธ์ 64 AP 2.4.1.24 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา การเรียน การสอน และการวิจัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

วัฒนธรรมของไทย เป็นวิถีชีวิตของคนไทย ในสังคมไทย เป็นแบบแผนของการประพฤติปฏิบัติที่ดีงาน และการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ในสถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมไทยสามารถรู้ เข้าใจ ซาบซึ้ง ยอมรับ และใช้ปฏิบัติร่วมกันในสังคมไทย หนึ่งในวัฒนธรรมไทย คือ ประเพณีและพิธีทางศาสนาต่าง ๆ อันได้แก่ วิถีชีวิตที่ปฏิบัติในวันสำคัญต่าง ๆ โดยคณะผลิตกรรมการเกษตร ได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของวัฒนธรรม จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้บุคลากรในหน่วยงาน และนักศึกษา ได้ร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย โดยกำหนดกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการปี๋ใหม่เมืองล้านนา รู้คุณค่าเรื่องวัฒนธรรมไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 จำนวน 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม 1) วันที่ 9 เมษายน 2564 "จัดขบวนเครื่องดำหัวอธิการบดี ร่วมโครงการสืบสานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง" บริเวณหน้าอาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทยและสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กิจกรรม 2) วันที่ 23 เมษายน 2564 "ประเพณีดำหัวปี๋ใหม่ รวมใจชาวคณะผลิตกรรมการเกษตร" บริเวณหน้าอาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร "การดำหัว" ในความหมายทั่วไปของชาวล้านนาไทยนั้น หมายถึง การ"สระผม" แต่ในพิธีกรรมโดยเฉพาะในประเพณีปี๋ใหม่เมือง (เทศกาลสงกรานต์) ของทุก ๆ ปี หมายถึง การชำระสะสางสิ่งอันเป็นอัปมงคลในชีวิตให้หมดไป ด้วยการใช้น้ำส้มป่อยเป็นเครื่องชำระ พิธีกรรมดำหัวในประเพณีปี๋ใหม่เมืองล้านนา มี 3 กรณี คือ กรณี 1 ดำหัวตนเอง คือทำพิธีเสกน้ำส้มป่อยด้วยคำที่เป็นสิริมงคล เช่น "สัพพทุกขา สัพพภยา สัพพโรคาวินาสันตุ" แล้วใช้น้ำส้มป่อยลูบศีรษะ กรณีที่ 2 ดำหัวผู้น้อย เช่น ภรรยา บุตร หลาน อันเป็นพิธีกรรมต่อเนื่องจากกรณีแรก คือ ใช้น้ำส้มป่อยลูบศีรษะ ภรรยา บุตร หลาน หลังจากดำหัวตนเอง หรือการที่ตนเองรับน้ำส้มป่อย (ในกรณีที่สาม) มาลูบศีรษะตนเอง เสร็จแล้วสลัดใส่ศีรษะหรือลูบศีรษะผู้ที่มาดำหัวตนเอง กรณีที่ 3 ดำหัวผู้ใหญ่ อาจไปดำหัวด้วยตนเอง พาญาติสนิทมิตรสหายไปเป็นหมู่คณะ ดำหัวผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ เช่น ผู้อาวุโส บิดามารดา ครูบา อาจารย์ พระเถระ ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นต้น การดำหัวในกรณีที่สามนี้ถือเป็นพิธีกรรมที่สำคัญยิ่ง ถือได้ว่าเป็นพิธีกรรมที่สามารถจรรโลงความสันติสุขให้กับสังคมไทยได้เป็นอย่างดี โดยวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมา เมื่อทุกคนไปรวมกลุ่มกันตามที่นัดหมายแล้ว จึงเคลื่อนขบวน ซึ่งมีการแห่แหนด้วยฆ้องกลองให้ครึกครื้นตามแต่เครื่องดนตรีท้องถิ่น บางกลุ่มจะมีการแสดงร่วมขบวนด้วย เช่น การฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบ ตีกลองสะบัดชัย ดนตรีประเภท สะล้อ ซึง ฯลฯ ระหว่างทางมีการรดน้ำกันอย่างสนุกสนาน เครื่องที่นำไปดำหัวที่ถือได้ก็ช่วยกันถือไป เช่น สลุงน้ำส้มป่อย ต้นดอก ต้นเทียน พานข้าวตอกดอกไม้ เครื่องที่หนักก็จะใส่แคร่ที่ภาษาล้านนาเรียก "จองอ้อย" หามกันไป เครื่องดำหัว จะมีสิ่งของต่าง ๆ นอกจากน้ำส้มป่อย พานข้าวตอกดอกไม้แล้ว ยังมีเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นเครื่องสักการะ ที่นิยมกันส่วนใหญ่จะเป็นผ้า เช่น ผ้าขะม้า เสื้อ ผ้าถุง ผ้าเช็ดหน้า ส่วนเครื่องบริโภคมักจะเป็นพืชผลทางการเกษตร เช่น ฟัก แฟง แตงโม กระเทียม หัวหอม มะเขือ สิ่งของประเภทผลไม้ตามฤดูกาล เช่น มะปราง มะม่วง มะพร้าว เป็นต้น เครื่องดำหัวต่าง ๆ ดังกล่าวนิยมใส่รวมกันใน "ชองอ้อย" (อ่าน-จองอ้อย) ปัจจุบันนิยมใส่ตระกร้าสานสวยงาม เครื่องสักการะดำหัวที่มีมาแต่โบราณ ได้แก่ ต้นดอก คือ พุ่มดอกไม้ที่ประกอบด้วยดอกไม้นานาชนิด, ต้นเทียน คือ พุ่มเทียน, ต้นผึ้ง คือ พุ่มขี้ผึ้ง, หมากสุ่ม คือ พุ่มหมากแห้งที่ประดับด้วยหมากแห้งผ่าซึก และหมากเบ็ง คือพุ่มหมากดิบที่ประดับด้วยหมากดิบเป็นลูก ๆ เมื่อตั้งขบวนแห่เครื่องสักการะไปถึงแล้ว ทุกคนนั่งลงแสดงความนอบน้อมโดยสงบและเริ่มพิธีกรรมตามขั้นตอน ดังนี้ 1) ให้มีผู้ถือพานข้าวตอกดอกไม้ สลุงน้ำส้มป่อย และเครื่องสักการะดำหัว แล้วนั่งคุกเข่า ต่อหน้าผู้ใหญ่ที่จะดำหัวท่าน 2) หัวหน้าในกลุ่มประนมมือกล่าวคำขอขมา และคำขอพร ตัวอย่างคำขอขมาคำเมือง "ในโอกาสที่ปี๋เก๋าได้ล่วงพ้นไปแล้ว ปี๋ใหม่แก้วก็มารอดมาเถิง ผู้ข้าตังหลายก็มาร่ำเปิงเถิงยังอดีตป๋าเวณีอันดีงามมาแต่ก่อน บ่ห่อนละเสียยังศรัทธา จึ่งพากั๋นน้อมนำมายัง ข้าวตอกดอกไม้ ไทยวัตถุบริวาร ทานและน้ำส้มป่อย เพื่อจักมาขอสุมาคารวะ หากได้ล่วงล้ำด้วยก๋าย วาจ๋า ใจ๋ ด้วยเจตนาหรือ บ่เจตนาก็ดี ขอท่านจุ่งมีเมตต๋าลดโทษ และขอท่านจุ่งโปรด ปั๋นศีลพรชัยหื้อเป๋นมังคละ แก่ผู้ข้าตังหลายแต่เต๊อะ" งานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ในปีนี้ ก็ยังคงมีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น พิธีตานตุงไชย 725 ปี เมืองเชียงใหม่ และตกแต่งตุงไชยรอบคูเมือง ระหว่างวันที่ 1 – 19 เมษายน 2564 กิจกรรมยอสวย ไหว้สา พญามังราย ณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ วันที่ 11 – 12 เมษายน 2564 การอัญเชิญ “น้ำติ๊บปี๋ใหม่เมือง” จำนวน 9,725 ขวด ฉลองเมืองเชียงใหม่ครบ 725 ปี แจกจ่ายให้นักท่องเที่ยวและประชาชน ซึ่งเป็นน้ำทิพย์จากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ วัดบุพพาราม อ่างกาหลวงอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ และขุนน้ำปิง อุทยานแห่งชาติผาแดง การแข่งกลองหลวง ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ในวันที่ 12 เมษายน 2564 ตลอดจนกิจกรรม สืบฮีต สานฮอย ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง ซึ่งเป็นการสาธิตภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การตัดตุง การก่อเจดีย์ทราย ข่วงกาดหมั้วอาหารและขนมพื้นเมือง ตลอดจนการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง ระหว่างวันที่ 13-15เมษายน 2564 ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา และในส่วนของเทศบาลนครเชียงใหม่เอง ก็จะจัดพิธีขอขมาและบวงสรวงเศียรท้าวกบิลพรหมองค์มหาสงกรานต์ขึ้น ในวันที่ 12 เมษายน 2564 เวลา 10.09 น. ณ สำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ --------------------------------------------------------------------------------------------------------------- คณะผลิตกรรมการเกษตร ได้ปรับรูปแบบการจัดโครงการปี๋ใหม่เมืองล้านนา ให้เป็นไปตามบันทึกข้อความที่ อว 69.2.9.1/ว248 ลงวันที่ 8 เมษายน 2564 เรื่อง แจ้งเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินกิจกรรมพิธีดำหัวผู้อาวุโสและอธิการบดีแม่โจ้ ประจำปี 2564 ขอความร่วมมือทุกหน่วยงาน ส่งผู้แทนเข้าร่วมขบวนหน่วยงานละ 10 คน คณะผลิตกรรมการเกษตร จึงจัดเครื่องสักการะตามประเพณีและของดำหัวอธิการบดี จำนวน 1 ชุด บริเวณหน้าอาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี และได้จัดตั้งผู้แทนคณะผลิตกรรมการเกษตร จำนวน 10 คน เข้าร่วมพิธีรดน้ำดำหัวอธิการบดี ณ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทยและสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมจัดทำภาพข่าวเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ https://ap.mju.ac.th/ เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากร ได้เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาท้องถิ่น ที่บูรณาการโครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเข้ากับพันธกิจกิจกรรมพัฒนานักศึกษา และการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพด้วยความรักสามัคคี แทนการจัดขบวนแห่เครื่องดำหัวจากนักศึกษาและบุคลากร 100 คน เนื่องจากมีประกาศจากรัฐบาลและมหาวิทยาลัยแม่โจ้คณะผู้จัดงาน ปรับรูปแบบการทำพิธีให้ลดความเสี่ยงจากสถานการณ์โรคระบาด โควิต-19 และยกเลิกกิจกรรม 2 ศุกร์ที่ 23 เมษายน 2564 "ประเพณีดำหัวปี๋ใหม่ รวมใจชาวคณะผลิตกรรมการเกษตร" ซึ่งจะเป็นการประดับตกแต่งสถานที่จัดกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส ศิษย์เก่า ทำพิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 เลี้ยงเจ้าที่ตามความเชื่อ จัดประกวดทำขนมล้านนาไทย เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของวัฒนธรรม ได้ทำกิจกรรมวัฒนธรรมร่วมกันเพื่อสานสัมพันธ์สร้างไมตรีจิตส่งผลดีต่อการบริหารงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพด้วยความรักสามัคคี แต่เนื่องด้วยมีประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่องมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโรคโควิด-19 (COVID-19) ฉบับที่ 5 จึงมีความจำเป็นต้องยกเลิกการจัดกิจกรรมที่มีการรวมตัวของคนหมู่มาก เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากร ได้รับการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาท้องถิ่น
เพื่อบูรณาการโครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเข้ากับพันธกิจกิจกรรมพัฒนานักศึกษาและการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพด้วยความรักสามัคคี
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษาและบุคลากรคณะผลิตกรรมการเกษตร ได้จัดพิธีดำหัวผู้อาวุโส ตามประเพณีปี๋ใหม่เมืองล้านนา ท้องถิ่น จ.เชียงใหม่ เพื่อสืบสานอนุรักษ์วิถีวัฒนธรรมอันดีงามให้คงอยู่ สร้างเสริมความเมตตาก่อเกิดความสามัคคีในหมู่คณะเพื่อการทำกิจการงานต่างๆให้ราบรื่น เจริญรุ่งเรืองต่อไป ตามความเชื่อและกุศโลบายของพิธีกรรม
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 คน 10
KPI 2 : จัดทำภาพข่าวประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์คณะผลิตกรรมการเกษตร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ข่าว 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษาและบุคลากรคณะผลิตกรรมการเกษตร ได้จัดพิธีดำหัวผู้อาวุโส ตามประเพณีปี๋ใหม่เมืองล้านนา ท้องถิ่น จ.เชียงใหม่ เพื่อสืบสานอนุรักษ์วิถีวัฒนธรรมอันดีงามให้คงอยู่ สร้างเสริมความเมตตาก่อเกิดความสามัคคีในหมู่คณะเพื่อการทำกิจการงานต่างๆให้ราบรื่น เจริญรุ่งเรืองต่อไป ตามความเชื่อและกุศโลบายของพิธีกรรม
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม 1 "จัดขบวนเครื่องดำหัวอธิการบดี ร่วมโครงการสืบสานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง"
สถานที่ : บริเวณหน้าอาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร
พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทยและสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันที่จัด : ศุกร์ที่ 9 เมษายน 2564

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 29/03/2564 - 09/04/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์  พรหมวงศ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางกนกพร  นันทดี (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางอารีย์  นามเมือง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ปรมินทร์  นาระทะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายสุรัตน์  เสาร์คำ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จ้างเหมาทำเครื่องดำหัว : มอบให้แก่อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 1 ชุด = 2,000 บาท (เงินรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จ้างเหมาทำเครื่องสักการะล้านนา (หมากสุ่ม หมากเบ็ง ต้นดอก ต้นผึ้ง ต้นเทียน) จำนวน 5 ต้น x ต้นละ 600 บาท = 3,000 บาท (เงินรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5000.00
ชื่อกิจกรรม :
- ยกเลิกกิจกรรม 2 - "ประเพณีดำหัวปี๋ใหม่ รวมใจชาวคณะผลิตกรรมการเกษตร"
สถานที่ : บริเวณหน้าอาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร
วันที่จัด : ศุกร์ที่ 23 เมษายน 2564
รายละเอียดกิจกรรม : การประดับตกแต่งสถานที่จัดกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส ศิษย์เก่า ทำพิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 เลี้ยงเจ้าที่ตามความเชื่อ จัดประกวดทำขนมล้านนาไทย เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของวัฒนธรรม ได้ทำกิจกรรมวัฒนธรรมร่วมกันเพื่อสานสัมพันธ์สร้างไมตรีจิตส่งผลดีต่อการบริหารงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพด้วยความรักสามัคคี
แต่เนื่องด้วยมีประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่องมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโรคโควิด-19 (COVID-19) ฉบับที่ 5 จึงมีความจำเป็นตกยกเลิกการจัดกิจกรรม และขอเบิกเพียงค่าจ้างเหมาทำเครื่องดำหัว (มอบให้แก่ผู้อาวุโส ศิษย์เก่า ที่เชิญมาทำพิธีรดน้ำดำหัว) เพราะได้มีการจ้างเหมาจัดทำก่อนมีมาตรการฯ ฉบับ 5

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 29/03/2564 - 23/04/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์  พรหมวงศ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ปรมินทร์  นาระทะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางกนกพร  นันทดี (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายสุรัตน์  เสาร์คำ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางอารีย์  นามเมือง (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.กมลลักษณ์  มณีเกี๋ยง (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จ้างเหมาทำเครื่องดำหัว จำนวน 18 ชุด ชุดละ 500 บาท = 9,000 บาท (เงินรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
9,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จ้างเหมาทำเครื่องดำหัว จำนวน 12 ชุด ชุดละ 500 บาท = 6,000 บาท (เงินดอกผลกองทุนคณะผลิตกรรมการเกษตร)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
6,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 15000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
วันที่ 8 เม.ย.64- เพจ ประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ รายงานสถานการณ์การระบาดไวรัสโควิด-19 ว่าพบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวน 36 และมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
หากสถานการณ์โรคระบาดโควิต-19 แย่ลงจนไม่สามารถควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อให้ลดน้อยลงได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร จำเป็นต้องยกเลิก หรือ ปรับเปลี่ยนรูปแบบในการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่มีคนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ให้เป็นไปตามมาตรการการจัดกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมากของคณะกรรมการโรคติดต่อ จ.เชียงใหม่
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล