17086 : โครงการสัมมนาเกณฑ์คุณภาพระดับหลักสูตร AUN-QA On Tour : Criteria / GAP Analysis / Writing SAR สัญจร (26-28 เมษายน 2564)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางวันทินี ปิ่นแก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 1/4/2564 11:48:11
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
26/04/2564  ถึง  28/04/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  340  คน
รายละเอียด  จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 340 คน คณะกรรมการขับเคลื่อน AUN-QA มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 14 คน อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกหลักสูตรในมหาวิทยาลัย จำนวน 326 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ กองพัฒนาคุณภาพ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน 2564 16,800.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาง จุดารัตน์  ชิดทอง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
นาง วราภรณ์  ฟูกุล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
กองพัฒนาคุณภาพ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริหารจัดการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.6 ผลการประกันคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 64 MJU 2.1.9 สนับสนุนให้มีการพัฒนา ผลักดันการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในที่เน้นการจัดการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการบริหารจัดการด้วยเกณฑ์มาตรฐานระดัยอาเซียน อย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้นำระบบการประเมินคุณภาพภายใน ASEAN University Network Quality Assurance (AUN-QA) มาใช้ในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งในระดับหลักสูตร ระดับคณะ และระดับสถาบันตามแผนการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษานั้น และจากการดำเนินงานในปีที่ผ่าน ๆ มาพบว่า บุคลากรสายวิชาการ โดยเฉพาะอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรยังไม่มีความเข้าใจในเจตนารมณ์ตาม Criteria ของเกณฑ์ AUN-QA อย่างถ่องแท้ การเข้าใจที่คลาดเคลื่อนหรือ ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงการเขียนรายงานการประเมินตนเองของหลักสูตรที่ยังไม่ครอบคลุมขอบเขตและสิ่งที่เกณฑ์หรือตัวชี้วัดกำหนด ยังขาดความครบถ้วนของการเขียนตามวงจรคุณภาพ P-D-C-A ยังคงมีช่องว่างหรือสิ่งที่ขาดหายไป (GAPs) ระหว่างเป้าหมายที่วางไว้กับผลการดำเนินงานที่มีอยู่ ทำให้รายงานการประเมินตนเองยังไม่สมบูรณ์และไม่ตอบต่อสิ่งที่เกณฑ์หรือตัวชี้วัดกำหนด มหาวิทยาลัยเล็งเห็นว่า การทำความเข้าใจในเกณฑ์การประกันคุณภาพ AUN-QA เป็นสิ่งที่ ท้าทายต่อบุคลากรสายวิชาโดยเฉพาะผู้ที่ดำรงตำแหน่งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ในการทำความเข้าใจ เรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี มีการวิเคราะห์สิ่งที่ยังทำให้เป้าหมายยังไม่บรรลุ เพื่อให้มองเห็นสิ่งที่ยังเป็นช่องว่างหรืออุปสรรคในการดำเนินงาน ทำให้ทราบถึงจุดที่ต้องพัฒนาเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมาย รวมถึงแนวทางการเขียนและการประเมินตามเกณฑ์ AUN-QA ซึ่งนับเป็น การเตรียมความพร้อมกับการประเมินคุณภาพการศึกษาทั้งของหลักสูตร คณะ และรวมถึงมหาวิทยาลัยด้วย มหาวิทยาลัยจึงได้จัดโครงการสัมมนาเกณฑ์คุณภาพ AUN-QA โดยจะทำการสัญจรไปยังหน่วยงานที่มีการเรียนการสอนทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง และทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจในเกณฑ์ AUN-QA สามารถวิเคราะห์ถึงช่องว่างที่ยังไม่ได้ดำเนินการหรือพัฒนา และนำสิ่งที่วิเคราะห์ได้มาจัดทำรายงานการประเมินตนเองเพื่อให้มีความสมบูรณ์และรองรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เข้าใจในเกณฑ์คุณภาพ AUN-QA และได้แนวทางในการนำเกณฑ์ประกันคุณภาพ AUN-QA ไปใช้ในการดำเนินงานของหลักสูตร/ส่วนที่เกี่ยวข้องได้
2) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถวิเคราะห์ช่องว่างที่ยังไม่ได้ดำเนินการหรือพัฒนา (GAP Analysis) และนำสิ่งที่วิเคราะห์ได้มาจัดทำรายงานการประเมินตนเองตามแนวทางของเกณฑ์ AUN-QA
3) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อแนวทางการดำเนินงานของเกณฑ์ ประกันคุณภาพ AUN-QA
4) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในด้วยเกณฑ์คุณภาพ AUN-QA ในระดับหลักสูตร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจในเกณฑ์คุณภาพ AUN-QA และได้แนวทางในการนำเกณฑ์ประกันคุณภาพ AUN-QA ไปใช้ในการดำเนินงานของหลักสูตร/ส่วนที่เกี่ยวข้องได้
KPI 1 : 1) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจในระบบประกันคุณภาพ AUN-QA ในระดับมาก
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4 ระดับ 4
ผลผลิต : 2) ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถวิเคราะห์ช่องว่างที่ยังไม่ได้ดำเนินการหรือพัฒนา (GAP Analysis) และนำสิ่งที่วิเคราะห์ได้มาจัดทำรายงานการประเมินตนเองตามแนวทางของเกณฑ์ AUN-QA
KPI 1 : 2) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความมั่นใจในการวิเคราะห์ช่องว่างที่ยังไม่ได้ดำเนินการหรือพัฒนา (GAP Analysis) และนำสิ่งที่วิเคราะห์ได้มาจัดทำรายงานการประเมินตนเองตามแนวทางของเกณฑ์ AUN-QA ในระดับมาก
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4 ระดับ 4
ผลผลิต : 3) ผู้เข้าร่วมโครงการได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อแนวทางการดำเนินงานของเกณฑ์ ประกันคุณภาพ AUN-QA
ผลผลิต : 4) ผู้เข้าร่วมโครงการได้แนวทางในการนำเกณฑ์ประกันคุณภาพ AUN-QA ไปใช้ในการดำเนินงานของหลักสูตร/ส่วนที่เกี่ยวข้องได้
KPI 1 : 3) ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการดำเนินงานประกันคุณภาพของหลักสูตร/ส่วนที่เกี่ยวข้อง ในระดับมาก
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4 ระดับ 4
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจในเกณฑ์คุณภาพ AUN-QA และได้แนวทางในการนำเกณฑ์ประกันคุณภาพ AUN-QA ไปใช้ในการดำเนินงานของหลักสูตร/ส่วนที่เกี่ยวข้องได้
ชื่อกิจกรรม :
โครงการสัมมนาเกณฑ์คุณภาพระดับหลักสูตร AUN-QA On Tour : Criteria / GAP Analysis / Writing SAR สัญจร (26-28 เมษายน 2564)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 26/04/2564 - 28/04/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นางจุดารัตน์  ชิดทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 10 คนๆละ 100 บาท 6 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 30 บาท 6 มื้อ เป็นเงิน 10,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 16,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 16800.00
ผลผลิต : 2) ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถวิเคราะห์ช่องว่างที่ยังไม่ได้ดำเนินการหรือพัฒนา (GAP Analysis) และนำสิ่งที่วิเคราะห์ได้มาจัดทำรายงานการประเมินตนเองตามแนวทางของเกณฑ์ AUN-QA
ผลผลิต : 3) ผู้เข้าร่วมโครงการได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อแนวทางการดำเนินงานของเกณฑ์ ประกันคุณภาพ AUN-QA
ผลผลิต : 4) ผู้เข้าร่วมโครงการได้แนวทางในการนำเกณฑ์ประกันคุณภาพ AUN-QA ไปใช้ในการดำเนินงานของหลักสูตร/ส่วนที่เกี่ยวข้องได้
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล