14442 : โครงการเตรียมความพร้อมการเป็นเจ้าภาพงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 37
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 15/8/2562 9:43:54
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
13/08/2562  ถึง  30/09/2562
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  200  คน
รายละเอียด  คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาของคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินเหลือจ่าย (เงินพัฒนานักศึกษา) ปี พ.ศ. 2561 จำนวน 100,000 บาท 2562 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย ประเสริฐ  ประสงค์ผล
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาตรี  วิระสิทธิ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 1 การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
เป้าประสงค์ 61-64 MJU 1.5 พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 61MJU1.5.1 ร้อยละของโครงการพัฒนานักศึกษาที่ใช้เพื่อพัฒนาทักษะของนักศึกษา เช่น ภาษาอังกฤษ IT/ ทักษะวิชาชีพ และทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 61-64MJU 1.5.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านภาษา IT และทักษะวิชาชีพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT.62-2.บัณฑิตมีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ดี เก่ง และมีความสุข
เป้าประสงค์ FT.62-2.1 นักศึกษาและศิษย์เก่ามีศักยภาพและทักษะในการดำเนินชีวิตตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์
ตัวชี้วัด FT.62-2-2 ระดับความสำเร็จของกิจกรรมนักศึกษาตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
กลยุทธ์ FT.62-2.2.2 พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำให้กับนักศึกษา
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

งานประเพณี 4 จอบ ได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2526 มีสถาบันการศึกษาทางด้านการเกษตร 4 สถาบันคือ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะ เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการประชุมร่วมกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี เชื่อมความสามัคคี รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตร รวมไปถึงการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แต่ละสถาบันที่ตั้งอยู่ให้แก่เพื่อนต่างสถาบัน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและการเกษตรที่ยั่งยืน อันเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบูรณาการการเรียนการสอน จึงเป็นที่มาของงาน “กีฬา 4 จอบ” ซึ่งสถาบันแรกที่ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ คือ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมีการสับเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพเรื่อยมา รูปแบบของกิจกรรมเป็นการแข่งขันกีฬาสากล กีฬาทักษะทางการเกษตร และกีฬาพื้นบ้าน เพื่อสร้างความสนุกสนานหลากหลายรูปแบบ ต่อมาได้มีการ พัฒนารูปแบบเพื่อความเหมาะสมโดยการลดกีฬาบางประเภทลง และได้มีการเพิ่มกีฬาทักษะทางการเกษตรให้มากขึ้นแทน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการจัดกีฬาทักษะทางการเกษตรอาทิเช่น การแข่งขันจัดดอกไม้ การแข่งขันขยายพันธุ์พืช ติดตา – ต่อกิ่ง – ทาบกิ่ง การแข่งขันวินิจฉัยโรคพืช การแข่งขันรีดเต้านมเทียม การแข่งการตอนสุกร การแข่งขันทักษะการคล้องโคและล้มโค การแข่งขันบรรจุลูกพันธุ์ปลา เป็นต้น ซึ่งเป็นการนำเอาความรู้ทางด้านการเกษตรที่ได้ศึกษามาปฏิบัติจริง นอกจากนี้ยังมีการเสริมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ และจัดกิจกรรมทัศนศึกษาดูงานในสถาบันที่เป็นเจ้าภาพ ซึ่งนอกจากจะสร้างความสัมพันธ์อันดีให้แก่เพื่อนพ้องทางการเกษตรด้วยกันเองเท่านั้น ยังเป็นการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ไปยังสังคมอีกด้วย ดังนั้นต่อมาจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก “กีฬา 4 จอบ” เป็น “ประเพณี 4 จอบ” เนื่องจากไม่เน้นการแข่งขันกีฬาเพื่อการแพ้ หรือชนะ ความหมายของคำว่า “ 4 จอบ ” ในครั้งแรกนั้นหมายถึง คณะเกษตร 4 สถาบันที่ร่วมกันก่อตั้ง แต่ต่อมาได้มีการประชุมตกลงให้คำว่า 4 จอบ นั้นหมายถึง 4 ภูมิภาคของประเทศไทย คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เพื่อจะได้หมายรวมถึงการจัดงานร่วมกันของนิสิตนักศึกษาจากสถาบันเกษตรทั่วประเทศไทยอย่างแท้จริง ซึ่งต่อมาสถาบันการศึกษาทางด้านการเกษตรได้มาเข้าร่วมการจัดกิจกรรม งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ เพิ่มมากขึ้น ซึ่ง ณ ปัจจุบันมีภาคีรวมแล้ว 12 สถาบัน งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ได้กำหนดให้จัดงานขึ้นทุกปี โดยแต่ละสถาบันเป็นเจ้าภาพหมุนเวียนกันเรื่อยมา งานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 37 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยคณะผลิตกรรมการเกษตร คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะเทคโนโลยีการ ประมงและทรัพยากรทางน้ำ ร่วมเป็นเจ้าภาพ นั้น ซึ่งมีกำหนดการระหว่างวันที่ 21-26 ธันวาคม 2562 โดยมีการแข่งขันทักษะทางการเกษตร จำนวน 20 ทักษะ ได้แก่ 1) การกรอกวัสดุปลูกใส่ถุง 2) การผลิตแผ่นประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเกษตร 3) การแข่งขันเซทแมลง 4) การตอบปัญหาทางการเกษตร 5) การรีดเต้านมเทียม 6) การจัดสวนถาด 7) การวิเคราะห์อาหารสัตว์ 8) การเข้าด้ามจอบเตรียมแปลง 9) การตัดแต่งซากสัตว์ปีก 10) การประเมินเนื้อดินโดยวิธีภาคสนามและการวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน 11) การพูดส่งเสริมการเกษตร 12) การวินิจฉัยโรคพืช 13) การตอนสุกร 14) การขยายพันธุ์พืช ติดตา-ต่อกิ่ง-ทาบกิ่ง 15) โครงงานทางการเกษตร 16) การคำนวณอัตราการใช้และการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืช 17) การคล้องโคและล้มโค 18) การแข่งขันบรรจุพันธุ์ลูกปลา ทักษะสาธิต 2 ทักษะ คือ 1) การประกวดโมเดลธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร 2) การแข่งขันทอดแห การแข่งขันกีฬาสากล จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ 1) ฟุตบอล 7 คน (ชาย) 2) วอลเลย์บอล (หญิง) 3) เซปักตะกร้อ (ชาย) 4) บาสเก็ตบอล (หญิง ) และการประกวด Miss-Mister 4 จอบ ดังนั้นคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ คณะผลิตกรรมการเกษตร และคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นคณะในกลุ่มของเกษตรและสิ่งแวดล้อม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้รับเป็นเจ้าภาพในการจัดงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 37 และคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ได้บรรจุโครงการเตรียมความพร้อมการเป็นเจ้าภาพงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 37 ไว้ในแผนปฏิบัติราชการของคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ประจำปีงบประมาณ 2562 โดยกำหนดให้มีการคัดเลือกนักศึกษาที่เข้าร่วมแข่งขันทักษะเกษตร ในงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 37 ผ่านโครงการทักษะเกษตรแม่โจ้ ประจำปี 2562

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 37
เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีและสร้างความสามัคคีระหว่างคณาจารย์ นักศึกษา ต่างสถาบัน
เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความสามารถด้านวิชาการเกษตร ของแต่ละสถาบัน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : บัณฑิตมีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ดี เก่ง และมีความสุข
KPI 1 : จำนวนทักษะที่จัดให้มีการแข่งขัน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 ทักษะ 20
KPI 2 : จำนวนสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
12 สถาบัน 12
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : บัณฑิตมีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ดี เก่ง และมีความสุข
ชื่อกิจกรรม :
เตรียมความพร้อมการเป็นเจ้าภาพงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 37

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 13/08/2562 - 30/09/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายประเสริฐ  ประสงค์ผล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจัดทำสูจิบัตรงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 37 จำนวน 1,500 เล่ม ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 45,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 45,000.00 บาท 45,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 55,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 55,000.00 บาท 55,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 100000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล