13454 : โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนวัดบวกครกหลวง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐาปกรณ์ เครือระยา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 15/11/2561 15:29:20
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/11/2561  ถึง  31/08/2562
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด   ด้วยชุมชนวัดบวกครกหลวง นำโดยพระครูสุมงคลรัต เจ้าอาวาสวัดบวกครกหลวง และคุณลัดดา ศิรินันท์ ศรัทธาวัดบวกครกหลวง มอบหมายให้คณะกรรมการวัดบวกครกหลวง ติดต่อกับอาจารย์ฐาปกรณ์ เครือระยา เพื่อดำเนินการจัดสร้างตุงค่าวธรรมเพื่อใช้ในประเพณีตั้งธรรมหลวงของวัดบวกครกหลวง และให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนต่อไปนั้น ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายคือคนในชุมชนบวกครงหลวง ที่จะได้รับประโยชน์จากการทำโครงการในครั้งนี้
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น คณะศิลปศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่มีค่าใช้จ่าย 2562 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ฐาปกรณ์  เครือระยา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 4 การบริการวิชาการเพื่อสังคมและชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 61MJU4.1.3 จำนวนองค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (Vision KPI)
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.1.4 พัฒนาองค์ความรู้/ ฐาานเรียนรู้ที่มีศักยภาพของมหาวิทยาลัย และผลักดันสู่การยอมรับ (ดูงาน ฝึกอบรม เชิญเป็นวิทยากร นำไปใช้ประโยชน์ฯลฯ) ในระดับนานาชาติ
[ 2562 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 5 การเป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
เป้าประสงค์ 61-64MJU 5.1 การดำรงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมการเกษตร
ตัวชี้วัด 61MJU5.1.1 ระดับความสำเร็จของแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
กลยุทธ์ 61-64MJU 5.1.1 พัฒนาแผนและกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA62-4 การบริการวิชาการที่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นชุมชนและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ LA62-4.1 การบริการวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่พัฒนาและตอบสนองความต้องการของชุมชน
ตัวชี้วัด LA62-4.2 .จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่บูรณาการการบริการวิชาการกับการวิจัยหรือการเรียนการสอน
กลยุทธ์ LA62-4.2 ส่งเสริมให้การบริการวิชาการมีการบูรณาการด้านการเรียน การวิจัย และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
[2562] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA62-5การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น และหรือสิ่งแวดล้อมโดยมุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนและสังคมอุดมปัญญา
เป้าประสงค์ LA62-5.2 มีกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และหรือสิ่งแวดล้อมโดยเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัด LA62-5.1 จำนวนกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อมโดยเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน
กลยุทธ์ LA62-5.1ส่งเสริมการจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อมโดยเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน (ปรับ)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พระครูสุมงคลรัต เจ้าอาวาสวัดบวกครกหลวง คุณลัดดา ศิรินันท์ ศรัทธาวัดบวกครกหลวงและคณะกรรมการวัดบวกครกหลวง ได้ติดต่อสอบถามถึงการดำเนินการจัดสร้างตุงค่าวธรรมเพื่อใช้ในประเพณีตั้งธรรมหลวงของวัดบวกครกหลวง และให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย จึงได้มีการติดต่อ อ.ฐาปกรณ์ เครือระยา ในการอนุเคราะห์ข้อมูลและร่วมจัดสร้างตุงค่าวธรรมชุดนี้ จากการสำรวจชุมชนบวกครกหลวง พบว่าในอดีตเคยปรากฏภาพตุงค่าวธรรม ไว้ใช้ในประเพณีตั้งธรรมหลวง แต่เมื่อประมาณ 40 ที่ผ่านมา ภาพตุงค่าวธรรมชุดดังกล่าวได้หายไปจากวัด จึงทำให้องค์ประกอบของพิธีกรรมนี้ขาดหายไป ซึ่งคิดว่าภาพตุงค่าวธรรมของวัดชุดที่หายไปดังกล่าว ก็คงจะมีความคล้ายกับจิตกรรมฝาผนังในวิหารวัดบวกครกหลวงในยุคปัจจุบัน กรอปกับคนในชุมชนโดยเฉพาะเจ้าศรัทธามีความประสงค์ที่จะต้องการจัดสร้างภาพตุงค่าวธรรมชุดใหม่ขึ้นมาทดแทนชุดเดิมที่หายไป ด้วยเหตุนี้จึงมีแนวคิดที่จะเก็บรวบรวมข้อมูล ศึกษาตัวภาพจากงานจิตรกรรมฝาผนังในรูปแบบของงานวิจัย ควบคู่กันไป เพื่อจะได้นำข้อมูลจากงานวิจัยนั้น มาทำงานศิลปะเชิงสร้างสรรค์บนงานภาพพระบฎให้กับวัดบวกครกหลวง ให้ได้เห็นถึงคุณค่าความสำคัญพร้อมนำเสนอให้กับชุมชน การสร้างภาพพระบฎขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทนของเดิมให้เข้ากับสังคมยุคปัจจุบันแต่ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของชุมชน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสร้างภาพตุงค่าวธรรมจำนวน 1 ชุด ให้กับชุมชนบวกครกหลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ภาพตุงค่าวธรรม เรื่องเวสสันดรชาดก
KPI 1 : ภาพตุงค่าวธรรม เวสสันดรชาดก จำนวน 15
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 5 3 2 ผืน 15
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ภาพตุงค่าวธรรม เรื่องเวสสันดรชาดก
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ช่วงระยะเวลาที่จำกัด และประเพณีที่มีเพียงปีละหนึ่งครั้ง เป็นตัวแปรในการทำงานครั้งนี้
ช่วงระยะเวลาที่จำกัด และประเพณีที่มีเพียงปีละหนึ่งครั้ง เป็นตัวแปรในการทำงานครั้งนี้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
จัดทำชิ้นงานเพื่อใช้ให้ทันงานในระยะเวลา 1 เดือน หลังจากงานประเพณีเสร็จ จึงนำภาพมาเพิ่มรายละเอียดตามข้อมูลที่ได้จากงานวิจัย แล้วเก็บชิ้นงานให้เรียบร้อย
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
หนังสือขอความอนุเคราะห์
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
การศึกษาและรวบรวมข้อมูลภาพจิตรกรรมฝาผนังเพื่อการสร้างสรรค์ ภาพตุงค่าวธรรม วัดบวกครกหลวง จังหวัดเชียงใหม่
ช่วงเวลา : 01/12/2561 - 30/09/2562
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล