12509 : โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อประเมินความเสี่ยงระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางวันทินี ปิ่นแก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 17/5/2561 16:26:19
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/06/2561  ถึง  31/12/2562
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  80  คน
รายละเอียด  จำนวน 80 คน 1. ผู้บริหารมหาวิทยาลัย 2. ผู้ปฏิบัติงานทั่วไป 3. ผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภายใน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ สำนักงานมหาวิทยาลัย หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2561 6,600,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กชพร  ศิริโภคากิจ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กชพร  ศิริโภคากิจ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
กองพัฒนาคุณภาพ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริหารจัดการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 6 การบริหารจัดการสู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 6.1 มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 61 MJU 6.2 ผลการประเมินผู้บริหารมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 6.1.2 พัฒนาแผนยุทธศาสตร์อันนำไปสู่วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยและขับเคลื่อนถ่ายทอดแผนสู่ระดับบริหารและระดับปฏิบัติเชื่อมโยงกับ TOR โดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ด้วยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ การดำเนินงานตามกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งมีความไม่แน่นอนที่อาจมีผลกระทบในเชิงลบหรือเป็นความเสี่ยงต่อการบรรลุเป้าหมายได้เสมอ ดังนั้น บุคลากรทุกระดับจำเป็นจะต้องตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ และสร้างวัฒนธรรมการบริหารและปฏิบัติงานที่คำนึงถึงความเสี่ยงอย่างทั่วถึงทั้งองค์กร มีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดีตามแนวทางและมาตรฐานที่เป็นสากล ประเมินระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อหาช่องว่าง (GAP ANALYSIS) ของระบบการบริหารความเสี่ยงขององค์กรที่มีอยู่ในปัจจุบันกับการบริหารความเสี่ยงตามแนวทางและมาตรฐานที่ดีเพื่อการพัฒนาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นระบุและทบทวนปัจจัยเสี่ยง ความเสี่ยงระดับองค์กร ที่ส่งผลให้องค์กร ไม่บรรลุวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ รวมทั้งความเสี่ยงที่จะทำให้สูญเสียโอกาสต่างทางธุรกิจ รวมทั้ง การประเมินคุณภาพระบบควบคุมภายในเพื่อฐานข้อมูลที่สำคัญที่เป็นประโยชน์ทำให้องค์กรทราบตำแหน่งของตนทั้งในด้านผลการดำเนินงาน และด้านระบบการบริหารที่สำคัญ การควบคุมภายใน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยควบคุมกระบวนการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และลดข้อผิดพลาดในกระบวนการทำงาน และยังเป็นเครื่องมือที่สะท้อนถึงความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ดังนั้น องค์กรจึงต้องจัดทำและประเมินการควบคุมภายในเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่ามีการดำเนินงานตามกระบวนการทำงานนั้นๆ หากมหาวิทยาลัยสามารถประเมินความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร และปรับปรุงการควบคุมภายในของมหาวิทยาลัย ได้นั้น จะทำให้ การดำเนินงานของมหาวิทยาลัย สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ ปรับตัวได้ทันตามบริบท และตามสถานการณ์เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ และหากกระบวนการการดำเนินงานต่างๆ ไม่มีความเสี่ยงป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้น สร้างความเชื่อมั่น ส่งผลต่อข้อมูลในการรายงานโดยเฉพาะรายงานทางการเงิน น่าเชื่อถือ และเป้นประโยชน่าต่อผู้ใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ จากความจำเป็นดังกล่าว มหาวิทยาลัยจึงได้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องจ้างที่ปรึกษาเพื่อจะทำการประเมินระบบการควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงทั่งทั้งองค์กร โดยต้องเป็นที่ปรึกษาที่เป็นบุคคลภายนอก (Second Opinion) ซึ่งเสนอ ความเห็นได้อย่างอิสระและปราศจากอคติ เพื่อพิจารณาประกอบกับข้อคิดเห็นของบุคคลภายใน ในเรื่องการเงินการบัญชีที่ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในระดับสูง หรือสามารถเพื่อให้การวิเคราะห์ปัญหามีแนวคิด ที่ต่างจากแนวคิดในกรอบราชการสอดคล้องกับสถานะของมหาวิทยาลัยที่เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ สามารถแนะนำในการวางระบบการควบคุมในที่ดี และการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมทั้ง ทั้งนี้ที่ปรึกษาต้องสามารถให้วิเคราะห์ ประเมินความเสี่ยงในระบบบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน ลดขั้นตอนการทำงาน และการดำเนินงาน ที่อาจจะมีการซ้ำซ้อน ศึกษาการดำเนินงานตามบริบทของมหาวิทยาลัย และสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย เพื่อเสนอระดับการควบคุมภายในที่ดี และ การบริหารความเสี่ยงให้กับมหาวิทยาลัย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 1 เพื่อวิเคราะห์การปฎิบัติของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน เพื่อประเมินความเสี่ยงและสามารถนำข้อมูล เพื่อป้องกันความเสี่ยงทางการเงินการบัญชี และการดำเนินงานในทุกด้าน
1.2 จัดวางระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดีตามแนวทางและมาตรฐานที่เป็นสากล ประเมินระบบการบริหารความเสี่ยง เพื่อหาช่องว่าง (GAP ANALYSIS) ของระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่ในปัจจุบันกับการบริหารความเสี่ยงตามแนวทาง และมาตรฐานที่ดีเพื่อการพัฒนาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ระบุและทบทวนปัจจัยเสี่ยงRISK IDENTIFICATION AND REVISION) ความเสี่ยงระดับองค์กร ที่ส่งผลให้องค์กร ไม่บรรลุวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1.3 เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีระบบการควบคุมภายในที่ดี และการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร
1.4 เพื่อพัฒนาบุคลากรดำเนิงานตามระบบการควบคุมภายในที่ดี และเข้าใจในการบริหารความเสี่ยง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลผลิตที่ 1 ระบบการควบคุมภายในที่ดี และการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร
KPI 1 : ประเมินระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อหาช่องว่าง ของระบบการบริหาร ความเสี่ยงขององค์กรที่มีอยู่ในปัจจุบันกับการบริหารความเสี่ยงตามแนวทางและมาตรฐานที่ดีเพื่อ การพัฒนาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ระบุและทบทวนปัจจัยเสี่ยง (RISK IDENTIFICATION AND REVISION) ความเสี่ยงระดับองค์กรที่ส่งผลให้องค์กร ไม่บรรลุวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ รวมทั้งความเสี่ยงที่จะทำให้องค์กรสูญเสียโอกาสในการดำเนินงาน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : บุคลากรดำเนินงานตามระบบการควบคุมภายในที่ดี และเข้าใจในการบริหารความเสี่ยง
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : รายงานการวิเคราะห์ผลสำรวจข้อมูลการดำเนินงาน การประเมินความเสี่ยงจากการควบคุมภายใน การจัดทำรายงานทางการเงินในปัจจุบัน พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทาง และการปรับปรุงระบบการดำเนินงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ระบบ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลผลิตที่ 1 ระบบการควบคุมภายในที่ดี และการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร
ชื่อกิจกรรม :
โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อประเมินความเสี่ยงระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/06/2561 - 31/12/2562
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กชพร  ศิริโภคากิจ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
การจ้างที่ปรึกษาจากบุคคลภายนอกที่เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนเป็นศูนย์ที่ปรึกษากระทรวงการคลัง นิคิบุคคลดังกล่าวต้องมีผู้สอบบัญชีที่ทำงานเต็มเวลา และได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1. ตำแหน่งหัวหน้า จำนวน 1 คน วุฒิการศึกษา ป.โท (บัญชีการเงิน) ประสบการณ์ 16-20 ปี อัตราเงินเดือน 200,000 บาท(รวมค่าสวัสดิการสังคม+ค่าวิชาชีพ) ค่าตอบแทนต่อเดือน 528,000 บาท (อ้างอิงตามแนวทางการใช้อัตราที่ปรึกษาไทยอัตราใหม่ 20 พย 2546 หน้าสุดท้าย)
2. คณะที่ปรึกษา โดยมีรายละเอียดดังนี้
-ที่ปรึกษา ป.โท (บัญชี-การเงิน) จำนวน 1 คน ประสบการณ์ 11-15 ปี อัตราเงินเดือน 120,000 บาทต่อคน (รวมค่าสวัสดิการสังคม+ค่าวิชาชีพ) จำนวน 316,800 บาทต่อเดือน จำนวน 6 เดือน เป็นเงิน 1,900,800 บาท (อ้างอิงตามแนวทางการใช้อัตราที่ปรึกษาไทยอัตราใหม่ 20 พย 2546 หน้าสุดท้าย)
-ที่ปรึกษา ป.ตรี (บัญชีการเงิน) จำนวน 3 คน ประสบการณ์ 11-15 ปี อัตราเงินเดือน 40,000 บาทต่อคน (รวมค่าสวัสดิการสังคม+ค่าวิชาชีพ) จำนวน 105,600 บาท จำนวน 6 เดือน เป็นเงิน 1,900,800 บาท (อ้างอิงตามแนวทางการใช้อัตราที่ปรึกษาไทยอัตราใหม่ 20 พย 2546 หน้าสุดท้าย)
-ที่ปรึกษา ป.โท (it) จำนวน 1 คน ประสบการณ์ 11-15 ปี อัตราเงินเดือน 80,000 บาทต่อคน (รวมค่าสวัสดิการสังคม+ค่าวิชาชีพ)จำนวน 211,200 บาท จำนวน 6 เดือน เป็นเงิน 1,267,200 บาท (อ้างอิงตามแนวทางการใช้อัตราที่ปรึกษาไทยอัตราใหม่ 20 พย 2546 หน้าสุดท้าย)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,596,800.00 บาท 5,596,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าตั๋วเครื่องบิน (ที่ปรึกษา) 6 คนๆละ 6,000 บาท จำนวน 6 ครั้ง เป็นเงิน 216,000 บาท
2. ค่าจ้างเหมารถยนต์ตู้พร้อมคนขับ 35,000 บาท/เดือน จำนวน 6 เดือน เป็นเงิน 210,000 บาท
3. ค่าที่พัก (ที่ปรึกษา) จำนวน 6 คนๆละ 6 เดือนๆละ 9 คืนๆละ 1,200 บาท เป็นเงิน 388,800 บาท
4. ค่าติดต่อสื่อสาร (ที่ปรึกษา) จำนวน 10,000 บาท/เดือน จำนวน 6 เดือน เป็นเงิน 60,000 บาท
5. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมสัมมนา) จำนวน 100 คนๆละ 100 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 10,000 บาท
6. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมสัมมนา) จำนวน 100 คน ๆละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท
7. ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสารและเข้าเล่มรายงานผลและจัดทำซีดี (รูปเล่มและซีดี) จำนวน 50 เล่มๆละ 2,168 บาท เป็นเงิน 108,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 983,200.00 บาท 983,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าถ่ายเอกสารประกอบโครงการสำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 100 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท 20,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 6600000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล