12290 : โครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2561
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2561
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 15/2/2561 14:59:25
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
21/02/2561  ถึง  30/09/2561
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  3200  คน
รายละเอียด  คณะครูนักเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาในจังหวัดแพร่ และบุคลากรนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน 2561 120,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. วาศิณี  ปานจันทร์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2561 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 61-64MJU 1 การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
เป้าประสงค์ 61-64 MJU 1.5 พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 61MJU1.5.1 ร้อยละของโครงการพัฒนานักศึกษาที่ใช้เพื่อพัฒนาทักษะของนักศึกษา เช่น ภาษาอังกฤษ IT/ ทักษะวิชาชีพ และทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 61-64MJU 1.5.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านภาษา IT และทักษะวิชาชีพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2561] ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. การเสริมสร้างวิชาการและทักษะวิชาชีพทางด้านเกษตรปลอดภัย โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
เป้าประสงค์ 1.1.2 บัณฑิตมีความอดทน สู้งาน และสามารถทำงานเป็นทีมได้
ตัวชี้วัด 1.3 ร้อยละโครงการ/กิจกรรมพัฒนานักศึกษา/ศิษย์เก่าที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยฯ
กลยุทธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียน ตามแผนพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ให้ครบทั้ง 5 ด้าน ครบทุกชั้นปี ในระดับปริญญาตรี ทั้งภายในและภายนอก โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกระบวนการต่างๆ ที่มุ่งสู่วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

รัฐบาลได้เห็นถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ จึงได้มีมติคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 เห็นชอบให้วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย โดยได้มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย โดยได้ขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ในการจัดกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นประชาชน เยาวชนไทยให้มีความตื่นตัวเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ และเห็นความสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้จัดโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์ต่อเนื่องกันมา เริ่มต้นในปี 2549 ซึ่งได้รับการตอบรับของโรงเรียนในจังหวัดแพร่และจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างดี ผลของการจัดงานอย่างต่อเนื่องส่งผลให้มหาวิทยาลัยเป็นที่รู้จักมากขึ้น ท้องถิ่นทราบถึงความสามารถและศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัย รวมทั้งช่วยกระตุ้นความสนใจและความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาได้อย่างมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าการจัดโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์นั้นส่งผลดีต่อมหาวิทยาลัย ดังนั้นเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และแสดงถึงศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งแสดงให้ท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียงได้เล็งเห็นว่าทางมหาวิทยาลัยเป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงได้จัดทำโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2561 ขึ้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"
2 เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นประชาชน เยาวชนไทยให้มีความตื่นตัวเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ และเห็นความสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2561
KPI 1 : ระยะเวลาในการจัดโครงการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 คน 3200
KPI 3 : ร้อยละมหาวิทยาลัยมีศักยภาพและความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 0 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2561
ชื่อกิจกรรม :
สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2561

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 20/02/2561 - 30/09/2561
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.วาศิณี  ปานจันทร์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำหรับกิจกรรมสาธิตและปฏิบัติการ จำนวน 10 หน่วย ๆ ละ 7,000 บาท เป็นเงิน 70,000 บาท
2. ค่าวัสดุสำหรับการแสดงทางวิทยาศาสตร์ “ระบบหุ่นยนต์เพื่อการเกษตร” จำนวน 3 หน่วย ๆ ละ 3,000 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
3. ค่าวัสดุสำหรับการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระดับ ม.ปลาย เป็นเงิน 2,000 บาท
4. ค่าวัสดุสำหรับการแข่งขันนักบินน้อย ระดับ ประถม ม.ต้น และ ม.ปลาย เป็นเงิน 3,000 บาท
5. ค่าวัสดุสำหรับกิจกรรมแนะนำสาขาวิชา จำนวน 13 หน่วย ๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 19,500 บาท
6. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการเตรียมงานและดำเนินกิจกรรม เป็นเงิน 16,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 120,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 120000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล