ปี๋ใหม่เมืองล้านนา_รหัส17095_2564

วันที่เริ่มต้น 08/04/2564 เวลา 7:30 วันที่สิ้นสุด 24/04/2564 เวลา 14:30
สถานที่จัด บริเวณอาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก คณะผลิตกรรมการเกษตร สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
ไม่มีข้อมูล

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
วัฒนธรรมของไทย เป็นวิถีชีวิตของคนไทย ในสังคมไทย เป็นแบบแผนของการประพฤติปฏิบัติที่ดีงาน และการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด
ในสถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมไทยสามารถรู้ เข้าใจ ซาบซึ้ง ยอมรับ และใช้ปฏิบัติร่วมกันในสังคมไทย
หนึ่งในวัฒนธรรมไทย คือ ประเพณีและพิธีทางศาสนาต่าง ๆ อันได้แก่ วิถีชีวิตที่ปฏิบัติในวันสำคัญต่าง ๆ
โดยคณะผลิตกรรมการเกษตร ได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของวัฒนธรรม จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้บุคลากรในหน่วยงาน และนักศึกษา
ได้ร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย โดยกำหนดกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการปี๋ใหม่เมืองล้านนา รู้คุณค่าเรื่องวัฒนธรรมไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 จำนวน 2 กิจกรรม ได้แก่
กิจกรรม 1) วันที่ 9 เมษายน 2564 "จัดขบวนเครื่องดำหัวอธิการบดี ร่วมโครงการสืบสานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง" บริเวณหน้าอาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทยและสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

กิจกรรม 2) วันที่ 23 เมษายน 2564 "ประเพณีดำหัวปี๋ใหม่ รวมใจชาวคณะผลิตกรรมการเกษตร" บริเวณหน้าอาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร

"การดำหัว" ในความหมายทั่วไปของชาวล้านนาไทยนั้น หมายถึง การ"สระผม" แต่ในพิธีกรรมโดยเฉพาะในประเพณีปี๋ใหม่เมือง (เทศกาลสงกรานต์) ของทุก ๆ ปี หมายถึง การชำระสะสางสิ่งอันเป็นอัปมงคลในชีวิตให้หมดไป ด้วยการใช้น้ำส้มป่อยเป็นเครื่องชำระ

พิธีกรรมดำหัวในประเพณีปี๋ใหม่เมืองล้านนา มี 3 กรณี คือ

กรณีแรก ดำหัวตนเอง คือทำพิธีเสกน้ำส้มป่อยด้วยคำที่เป็นสิริมงคล เช่น "สัพพทุกขา สัพพภยา สัพพโรคาวินาสันตุ" แล้วใช้น้ำส้มป่อยลูบศีรษะ

กรณีที่สอง ดำหัวผู้น้อย เช่น ภรรยา บุตร หลาน อันเป็นพิธีกรรมต่อเนื่องจากกรณีแรก คือ ใช้น้ำส้มป่อยลูบศีรษะ ภรรยา บุตร หลาน หลังจากดำหัวตนเอง หรือการที่ตนเองรับน้ำส้มป่อย (ในกรณีที่สาม) มาลูบศีรษะตนเอง เสร็จแล้วสลัดใส่ศีรษะหรือลูบศีรษะผู้ที่มาดำหัวตนเอง

กรณีที่สาม ดำหัวผู้ใหญ่ อาจไปดำหัวด้วยตนเอง พาญาติสนิทมิตรสหายไปเป็นหมู่คณะ ดำหัวผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ เช่น ผู้อาวุโส บิดามารดา ครูบา อาจารย์ พระเถระ ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นต้น

การดำหัวในกรณีที่สามนี้ถือเป็นพิธีกรรมที่สำคัญยิ่ง ถือได้ว่าเป็นพิธีกรรมที่สามารถจรรโลงความสันติสุขให้กับสังคมไทยได้เป็นอย่างดี โดยวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมา เมื่อทุกคนไปรวมกลุ่มกันตามที่นัดหมายแล้ว จึงเคลื่อนขบวน ซึ่งมีการแห่แหนด้วยฆ้องกลองให้ครึกครื้นตามแต่เครื่องดนตรีท้องถิ่น บางกลุ่มจะมีการแสดงร่วมขบวนด้วย เช่น การฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบ ตีกลองสะบัดชัย ดนตรีประเภท สะล้อ ซึง ฯลฯ ระหว่างทางมีการรดน้ำกันอย่างสนุกสนาน เครื่องที่นำไปดำหัวที่ถือได้ก็ช่วยกันถือไป เช่น สลุงน้ำส้มป่อย ต้นดอก ต้นเทียน พานข้าวตอกดอกไม้ เครื่องที่หนักก็จะใส่แคร่ที่ภาษาล้านนาเรียก "จองอ้อย" หามกันไป

เครื่องดำหัว จะมีสิ่งของต่าง ๆ นอกจากน้ำส้มป่อย พานข้าวตอกดอกไม้แล้ว ยังมีเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นเครื่องสักการะ ที่นิยมกันส่วนใหญ่จะเป็นผ้า เช่น ผ้าขะม้า เสื้อ ผ้าถุง ผ้าเช็ดหน้า ส่วนเครื่องบริโภคมักจะเป็นพืชผลทางการเกษตร เช่น ฟัก แฟง แตงโม กระเทียม หัวหอม มะเขือ สิ่งของประเภทผลไม้ตามฤดูกาล เช่น มะปราง มะม่วง มะพร้าว เป็นต้น เครื่องดำหัวต่าง ๆ ดังกล่าวนิยมใส่รวมกันใน "ชองอ้อย" (อ่าน-จองอ้อย) ปัจจุบันนิยมใส่ตระกร้าสานสวยงาม

เครื่องสักการะดำหัวที่มีมาแต่โบราณ ได้แก่ ต้นดอก คือ พุ่มดอกไม้ที่ประกอบด้วยดอกไม้นานาชนิด, ต้นเทียน คือ พุ่มเทียน, ต้นผึ้ง คือ พุ่มขี้ผึ้ง, หมากสุ่ม คือ พุ่มหมากแห้งที่ประดับด้วยหมากแห้งผ่าซึก และหมากเบ็ง คือพุ่มหมากดิบที่ประดับด้วยหมากดิบเป็นลูก ๆ

เมื่อตั้งขบวนแห่เครื่องสักการะไปถึงแล้ว ทุกคนนั่งลงแสดงความนอบน้อมโดยสงบและเริ่มพิธีกรรมตามขั้นตอน ดังนี้

1) ให้มีผู้ถือพานข้าวตอกดอกไม้ สลุงน้ำส้มป่อย และเครื่องสักการะดำหัว แล้วนั่งคุกเข่า ต่อหน้าผู้ใหญ่ที่จะดำหัวท่าน

2) หัวหน้าในกลุ่มประนมมือกล่าวคำขอขมา และคำขอพร
ตัวอย่างคำขอขมาคำเมือง "ในโอกาสที่ปี๋เก๋าได้ล่วงพ้นไปแล้ว ปี๋ใหม่แก้วก็มารอดมาเถิง ผู้ข้าตังหลายก็มาร่ำเปิงเถิงยังอดีตป๋าเวณีอันดีงามมาแต่ก่อน
บ่ห่อนละเสียยังศรัทธา จึ่งพากั๋นน้อมนำมายัง ข้าวตอกดอกไม้ ไทยวัตถุบริวาร ทานและน้ำส้มป่อย เพื่อจักมาขอสุมาคารวะ หากได้ล่วงล้ำด้วยก๋าย วาจ๋า ใจ๋ ด้วยเจตนาหรือ บ่เจตนาก็ดี ขอท่านจุ่งมีเมตต๋าลดโทษ และขอท่านจุ่งโปรด ปั๋นศีลพรชัยหื้อเป๋นมังคละ แก่ผู้ข้าตังหลายแต่เต๊อะ"

งานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ในปีนี้ ก็ยังคงมีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น พิธีตานตุงไชย 725 ปี เมืองเชียงใหม่ และตกแต่งตุงไชยรอบคูเมือง ระหว่างวันที่ 1 – 19 เมษายน 2564 กิจกรรมยอสวย ไหว้สา พญามังราย ณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ วันที่ 11 – 12 เมษายน 2564 การอัญเชิญ “น้ำติ๊บปี๋ใหม่เมือง” จำนวน 9,725 ขวด ฉลองเมืองเชียงใหม่ครบ 725 ปี แจกจ่ายให้นักท่องเที่ยวและประชาชน ซึ่งเป็นน้ำทิพย์จากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ วัดบุพพาราม อ่างกาหลวงอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ และขุนน้ำปิง อุทยานแห่งชาติผาแดง การแข่งกลองหลวง ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ในวันที่ 12 เมษายน 2564 ตลอดจนกิจกรรม สืบฮีต สานฮอย ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง ซึ่งเป็นการสาธิตภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การตัดตุง การก่อเจดีย์ทราย ข่วงกาดหมั้วอาหารและขนมพื้นเมือง ตลอดจนการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง ระหว่างวันที่ 13-15เมษายน 2564 ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา และในส่วนของเทศบาลนครเชียงใหม่เอง ก็จะจัดพิธีขอขมาและบวงสรวงเศียรท้าวกบิลพรหมองค์มหาสงกรานต์ขึ้น
ในวันที่ 12 เมษายน 2564 เวลา 10.09 น. ณ สำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่

คณะผลิตกรรมการเกษตร ต้องการสืบทอดและรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีตามแบบล้านนาไทยที่ผู้เยาว์ควรแสดงออก ต่อผู้อาวุโสที่เคารพนับถือ ในวันที่ 25 เมษายน 2562 คณะผลิตฯ จึงได้เรียนเชิญศิษย์เก่าและบุคลากรอาวุโสของคณะผลิตกรรมการเกษตรมาเยี่ยมบุคลากรปัจจุบัน และให้นักศึกษาและบุคลากรปัจจุบันได้รดน้ำดำหัวตามประเพณีปี๋ใหม่เมืองล้านนา ซึ่งเป็นการแสดงความกตัญญูเสริมสร้างความรักสามัคคีในหมู่คณะ มีกิจกรรมทำบุญถวายสังฆทานแด่พระสงฆ์ จำนวน 9 รูป โดยได้นิมนต์พระสงฆ์จากวัดในชุมชนใกล้เคียงมหาวิทยาลัยแม่โจ้มาให้พร เสริมสิริมงคล รับของถวาย ให้ชาวคณะผลิตฯได้ทำบุญร่วมกัน และส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากร แต่งกายชุดพื้นเมืองล้านนาเข้าร่วมงาน แข่งขันทำอาหารพื้นบ้านล้านนาต่างๆ เพื่อให้ได้เรียนรู้วิธีทำอาหารจากเครื่องแกง พืชพันธุ์ธัญญาหารที่หาได้ในท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ อาทิ พริกคัวลาบ ผักกาด ผักป้อมใบหอม ถั่วเน่า น้ำอ้อย ใบเตย ใบตอง ผักกับลาบพื้นบ้าน ฯลฯ ส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากร ได้สืบสานประเพณีวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมการเกษตร วันที่ 26 เมษายน 2562 ร่วมกิจกรรมดำหัวผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทย
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ ในสถาบัน
ปริมาณงานทั้งหมด 6  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 200 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   50 คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
กิจกรรม 1) วันที่ 9 เมษายน 2564 "จัดขบวนเครื่องดำหัวอธิการบดี ร่วมโครงการสืบสานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง" บริเวณหน้าอาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทยและสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล