การเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “The 18th International Symposium on Novel Aromatic Compounds (ISNA-18)” เมื่อวันที่ 20-28 กรกฎาคม 2562 ณ Sapporo Convention Center, Sapporo, Hokkaido ประเทศญี่ปุ่น
วันที่เขียน 8/9/2562 18:49:30     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 14/5/2567 23:55:05
เปิดอ่าน: 1532 ครั้ง

Polycalicenes encompass a region of chemical space generated by varying the bonding motifs between calicene monomers. Even though calicene 1 has never been synthesized, a few polycalicenes have been synthesized and verified to be aromatic.

ข้าพเจ้า นางสาวธวัลรัตน์  รัตนเดชานาคินทร์ ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ สังกัด สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์  ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “The 18th International Symposium on Novel Aromatic Compounds (ISNA-18)” เมื่อวันที่ 20-28 กรกฎาคม 2562 ณ Sapporo Convention Center, Sapporo, Hokkaido ประเทศญี่ปุ่น ตามหนังสือขออนุมัติเดินทางไปปฏิบัติงาน ณ ต่างประเทศ เลขที่ ศธ 0523.4.3/244 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2562  ดังนั้น จึงขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการประชุมวิชาการดังต่อไปนี้

ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้รับฟังการบรรยายดังต่อไปนี้

Professor Rainer Herges จากมหาวิทยาลัย Christian-Albrechts-Universität zu Kiel ประเทศ Germany ปาฐกถา Nozoe Lecture ในหัวข้อเรื่อง “Molecular Spin Switching” ได้บรรยายเกี่ยวกับ การสลับกลับไปกลับมาของคุณสมบัติแม่เหล็กเป็นสมบัติของของแข็งทั่วไปในขณะที่การมีความเสถียรของแม่เหล็กที่เป็น bistability ของโมเลกุลที่แยกได้ภายใต้สภาวะ ambient conditions ได้รับความสำเร็จจนกระทั่งหลายปีที่ผ่านมา  จำนวนของการใช้งานแอพริเคชันที่เกิดขึ้นใหม่กับระบบ solid state ทั่วไป หนึ่งในเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในหลาย ๆ พื้นที่ เช่น เอเจนต์คอนทราสต์ เพื่อบันทึก 3D เทอร์โมแกรม โดย MRI  การสลับการหมุนระดับโมเลกุลมีศักยภาพที่จะกระตุ้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพิ่มเติมในด้านต่าง ๆ เช่น การถ่ายภาพทางการแพทย์และการสปินทรอนิกส์

Professor Nazario Martín จากมหาวิทยาลัย Universidad Complutense de Madrid, ประเทศ Spain ปาฐกถา Plenary Lecturer ในหัวข้อเรื่อง "Synthetic Chiral Nanographenes"

กราฟีนหรือแกรฟีน เป็นสารที่มีคุณสมบัติการสั่น การนำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี กราฟีนมีความโปร่งแสงมากถึง 98 เปอร์เซ็นต์ นักวิจัยแขนงต่างๆ เช่น ทางด้านเคมี ทางด้านฟิสิกส์ และทางด้านวัสดุศาสตร์ จึงให้ความสนใจสารดังกล่าวเพื่อนำมาพัฒนาเป็นวัสดุคาร์บอนชนิดใหม่และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ เช่น จอภาพ แผง solar cell ที่โค้งงอได้ และ เซ็นเซอร์ เป็นต้น  กราฟีนนาโนริบบอน มีโครงสร้างคล้ายรังผึ้ง มีขอบอยู่ 2 แบบ คือ ซิกแซก (Zigzag) กับ อาร์มแชร์ (Armchair) สมบัติทางไฟฟ้า คือ เป็นตัวนำหรือสารกึ่งตัวนำ ขึ้นอยู่กับลักษณะขอบของกราฟีน ซึ่งขอบแบบอาร์มแชร์ ทำให้เกิดการกรองกระแสสปินให้เหลือกระแสสปินแบบเดียว

Mattias Wagner และคณะ ได้รายงานเกี่ยวกับสารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนที่มีโบรอนที่เจือปน (B-PAHs) มีคุณสมบัติเป็นตัวรับอิเล็กตรอนที่ดีเยี่ยมและเป็นตัวปล่อยแสงที่มองเห็นได้ และคณะของ Holger F. Bettinger ได้มีการรายงานการสังเคราะห์สารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนที่มีธาตุโบรอนและไนโตรเจนเจือปนได้สำเร็จ Jean-Francois Morin มีการรายงานการสังเคราะห์โมเลกุลนาโนกราฟีน (NGs) ด้วยปฏิกิริยา Photochemical reactions โดยมี activator คือ Lewis acid, Lewis base, alkali metal

Masayoshi Takase และคณะ รายงานผลงานวิจัยเรื่อง โครงสร้างของสาร Pyrrole ต่อ กับสาร Azacoronene  ทำให้คุณสมบัติอะโรมาติกเกิดการเปลี่ยนแปลง (Switching) ได้

Rik R. Tykwinski และคณะ มีการรายงานการสังเคราะห์สาร Graphyne nanoribbons (GyNRs) ซึ่งมีการทำนายว่าสารดังกล่าวจะมีคุณสมบัติที่เรียกว่า “Wonder material” graphene

Michel Rickhaus และคณะ มีการรายงานเกี่ยวกับ Hückel Rules ของสารระดับ Nanoscale ของสารกลุ่ม Giant Porphyrin-Macrocycles นักเคมีมักใช้แนวคิดของความเป็นอะโรมาติกเพื่อวิเคราะห์ความเสถียรของโมเลกุลขนาดเล็ก ระนาบที่มีคุณสมบัติ [4n + 2] คอนจูเกต ไพ-อิเล็กตรอน ความเสถียรของความเป็นอะโรมาติกจางหายไปอย่างรวดเร็วเมื่อขนาดของระบบเพิ่มขึ้นและได้รับการตั้งสมมติฐานว่าระบบที่มี 22 π-อิเล็กตรอนเข้าใกล้ขีดจำกัดของความเป็นอะโรมาติก ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานักเคมีอินทรีย์ได้ออกแบบระบบที่ท้าทายมุมมองนี้ คุณลักษณะที่ยืดหยุ่นได้มากที่สุดของสารประกอบอะโรมาติกมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของพวกมันในสนามแม่เหล็กซึ่งทำให้เกิดกระแสวงแหวนของไดอะตอมโทรปิก จากการทดลองสามารถสังเกตได้จากการลดลงของลักษณะทางเคมีของเสียงสะท้อนที่อยู่ภายในวงแหวน ตรงกันข้ามในสารแอนตี้-อะโรมาติกที่มี [4n] π-อิเล็กตรอนในกระแสวงแหวนและ Paratropic จะถูกเหนี่ยวนำให้เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลง chemical shift จะมีค่าสูงขึ้น มีการรายงานการการคงอยู่ของกฎ Hückel สำหรับวงแหวนขนาดใหญ่ porphyrin-based macrocycles ซึ่งมี 160 π-electrons

จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “The 18th International Symposium on Novel Aromatic Compounds (ISNA-18)” ในครั้งนี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาแนวคิดงานวิจัยใหม่ๆ และมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างนักวิจัย ข้าพเจ้าสามารถนำผลงานวิจัยไปนำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักวิจัยชาวต่างชาติ เพิ่มพูนแนวคิดที่หลากหลาย แล้วสามารถนำความรู้จากการเข้าร่วมประชุมมาประยุกต์ทำงานวิจัยในอนาคตและนำความรู้มาประกอบการสอนต่อไปในอนาคต

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=999
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 119 ปี เรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Bio-Circular-Green Economy”
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาติให้ข้าพเจ้า นางอัจฉรา แกล้วกล้า ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อัจฉรา แกล้วกล้า  วันที่เขียน 31/3/2567 11:09:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 10/5/2567 23:17:27   เปิดอ่าน 65  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง