#แนวทางยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันที่เขียน 18/8/2562 12:57:51     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 6:15:40
เปิดอ่าน: 3572 ครั้ง

จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ 7 – 8 สิงหาคม 2562 ณ ห้องประชุมทองกวาว สำนักบริหารวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ได้อบรมเรื่องแนวปฏิบัติของมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัย ซึ่งห้องปฏิบัติการต้องมีมาตรฐานการวิจัยต่างๆ ใช้เป็นกลไกในการกำกับ ตรวจสอบและรับรอง ดำเนินการรักษามาตรฐานในกระบวนการดำเนินงานวิจัย ได้แก่ 1. มาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ประเมินโครงการวิจัย ผลงานวิชาการและผลงานวิจัย 2. มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ 3. จริยธรรมนักวิจัย 4. มาตรฐานการวิจัยในมนุษย์ 5. มาตรฐานการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ 6. มาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพ 7. มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ## โปรดคลิกที่นี่เพื่อเข้าไปอ่านต่อ

แนวทางยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยแม่โจ้

                                                                                                                         โดย นางสาวรุ่งทิพย์ กาวารี 

                                                                                                                               นักวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

                                                                                                                               คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

 

จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ 7 – 8 สิงหาคม 2562 ณ ห้องประชุมทองกวาว สำนักบริหารวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ได้อบรมเรื่องแนวปฏิบัติของมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัย ซึ่งห้องปฏิบัติการต้องมีมาตรฐานการวิจัยต่างๆ ใช้เป็นกลไกในการกำกับ ตรวจสอบและรับรอง ดำเนินการรักษามาตรฐานในกระบวนการดำเนินงานวิจัย ได้แก่ 1. มาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ประเมินโครงการวิจัย ผลงานวิชาการและผลงานวิจัย 2. มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ 3. จริยธรรมนักวิจัย 4. มาตรฐานการวิจัยในมนุษย์ 5. มาตรฐานการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ 6. มาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพ 7. มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ

ในฐานะที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นมหาวิทยาลัยลูกข่ายภาคเหนือ เพื่อรักษาสุขภาวะที่ดีของบุคลากร นักศึกษา บุคคลที่เกี่ยวข้อง และชุมชน เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการบังคับใช้กฎหมายด้านความปลอดภัย เพื่อดำเนินตามข้อกำหนดทางมาตรฐานการวิจัยและความปลอดภัย ภายใต้เงื่อนไขการรับทุนวิจัย วช. สามารถดำเนินงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการโดยมีแผนยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมีแห่งชาติ แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน มีการอบรมด้านความปลอดภัยของคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัย มีการดำเนินงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพ แต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ มีการอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางชีวภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพวิทยากรประจำหลักสูตรอบรม เป็นต้น

          การจัดการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการตามแนวทางของ วช. ในโครงการ ESPReL เป็นเครื่องมือสำหรับห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ในการสำรวจและประเมินสภาพห้องปฏิบัติการด้วยตนเอง 7 องค์ประกอบ ปัจจุบันมีทั้งหมด 162 ข้อ ซึ่งมี 137 ข้อ เป็นข้อที่บังคับ ได้แก่

 

องค์ประกอบที่ 1 การบริหารระบบจัดการความปลอดภัย

  • นโยบายและแผน > หน่วยงานควรมีนโยบายในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยที่ครอบคลุมทั้งมหาวิทยาลัย คณะ สาขาวิชา และห้องปฏิบัติการ โดยสนับสนุนให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในระดับหน่วยงาน เพื่อการดำเนินการและกำกับดูแลความปลอดภัย การบริหารระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการจะมีความชัดเจน ควรกำหนดแผนงานด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ เช่น แผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ กำหนดเวลาการจัดอบรม เป็นต้น ควรมีการปฏิบัติไปในทางเดียวกันอย่างจริงจัง ในเรื่องของกลยุทธ์ในการจัดการ/บริหาร ที่รวมถึง ระบบบริหารจัดการ ระบบรายงานและระบบการตรวจติดตาม แผนปฏิบัติการที่ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ด้านความปลอดภัย ระบบกำกับดูแลที่เป็นรูปธรรม และต่อเนื่อง การสื่อสารให้บุคคลที่เกี่ยวข้องรับทราบ  การเพิ่มพูนความรู้ และฝึกทักษะด้วยการฝึกอบรมสม่ำเสมอ
  • โครงสร้างการบริหาร > ลักษณะโครงสร้างการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการต้องมีองค์ประกอบ3 ส่วน คือ ส่วนอำนวยการ ส่วนบริหารจัดการ และส่วนปฏิบัติการ 
  • ผู้รับผิดชอบระดับต่างๆ > หน่วยงานควรกำหนดผู้รับผิดชอบที่ดูแลด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ ระบุบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบให้ชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้ และต้องมีรายงานการปฏิบัติการ เพื่อการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งโดยภาพรวม และในแต่ละองค์ประกอบ รวมทั้งกำหนดผู้ประสานงานความปลอดภัยกับหน่วยงานภายในและภายนอก และผู้ตรวจประเมินจากภายในและภายนอกหน่วยงาน ทั้งนี้ การกำหนดผู้รับผิดชอบนั้นครอบคลุมองค์ประกอบต่อไปนี้ การจัดการสารเคมี การจัดการของเสีย ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ การป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ การจัดการข้อมูลและเอกสาร

 

การบริหารระบบจัดการความปลอดภัย องค์กร/หน่วยงาน ควรระบุบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบให้ชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้ ต้องมีรายงานการปฏิบัติการ เพื่อการปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง เป็นลายลักษณ์อักษร

 

แนวทางที่หน่วยงานจะดำเนินการได้

  • แต่งตั้งผู้รับผิดชอบที่ดูแลด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ

 

องค์ประกอบที่ 2 ระบบการจัดการสารเคมี

ระบบการจัดการสารเคมี ประกอบด้วย 1. การจัดการข้อมูลสารเคมี ระบบบันทึกข้อมูล (สารบบสารเคมี, การใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ, การจัดการสารที่ไม่ใช้แล้ว) ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการใช้ในการบันทึกและติดตามสารเคมี โดยมีการบันทึกข้อมูลสารเคมี มีรูปแบบเป็นเอกสาร และอิเล็กทรอนิกส์ 2. การจัดเก็บสารเคมี ต้องคำนึงถึงความเป็นอันตรายของสารเคมีเป็นหลัก และความเข้ากันได้และไม่ได้ของสารเคมีต่างๆ ที่จัดเก็บ 3. การเคลื่อนย้ายสารเคมี เกณฑ์การแยกประเภทสารเคมีเพื่อการจัดเก็บ ประเภทและสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายของสารเคมีระบบ GHS

  1. การจัดการสารเคมี
    • การจัดการข้อมูลสารเคมี

ระบบบันทึกข้อมูล หมายถึง ระบบบันทึกข้อมูลสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ/หน่วยงาน/องค์กร เพื่อใช้ในการบันทึกและติดตามความเคลื่อนไหวของสารเคมีทั้งหมด เก็บในรูปเอกสารและดิจิตอลเพื่อสำรองข้อมูล 2 ระบบ

  • การเก็บสารเคมี

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงหลัก คือ ความเป็นอันตรายของสารเคมี และความเข้ากันไม่ได้ สื่อสารแสดงเป็นฉลากข้างขวด เอกสาร SDS หรือสื่ออื่นๆ ต้องมีทุกสารที่อยู่ในห้องปฏิบัติการ จัดทำ safety corner ที่อยู่ใกล้กับทางออก ซึ่งต้องมี คู่มือความปลอดภัย ประกาศ โทรศัพท์ฉุกเฉิน ชุดปฐมพยาบาล ถังดับเพลิง เอกสาร SDS ใส่แฟ้มที่สามารถหาได้ใน 10 วินาที เป็นต้น ความเข้ากันไม่ได้ต้องแยกกลุ่มของสารเคมีก่อน มีถาด secondary container ที่มีความสูงสามารถรองรับปริมาตรของสารเคมีในถาด มีป้ายรายการสารเคมีติดไว้หน้าตู้ ติดป้ายกลุ่มสารเคมีที่เข้ากันไม่ได้ติดที่ตู้เพื่อเช็คก่อนเก็บสาร สารเคมีที่มีความเป็นอันตรายสูงต้องเก็บในตู้ที่มีกุญแจล็อค ห้ามเก็บสารเคมีไว้ในตู้ดูดควันอย่างถาวร ห้ามวางสารเคมี รวมไปถึงถังแก๊สบริเวณระเบียงทางเดิน ไม่วางสารเคมีใกล้ท่อระบายน้ำ หากจำเป็นต้องมีภาชนะรองรับ การเก็บสารเคมีที่เป็นของเหลวในตู้เย็นและตู้แช่แข็งขวดสารต้องมีภาชนะรองรับ ห้องปฏิบัติการควรกำหนดเงื่อนไขการวางขวดสารเคมีที่โต๊ะการทดลอง ถ้าจำเป็นที่จะวางภาชนะบรรจุสารเคมีบนพื้นห้องต้องมีภาชนะรองรับ ตู้เก็บสารเคมีส่วนกลางต้องระบุชื่อเจ้าของและติดสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายอย่างชัดเจน

  • การเคลื่อนย้ายสารเคมี

การเคลื่อนย้ายสารเคมีภายในห้องปฏิบัติการ ผู้เคลื่อนย้ายสารเคมีต้องสวมถุงมือ แว่นตานิรภัย เสื้อคลุมปฏิบัติการ ใส่ถุงมือข้างเดียวอีกข้างเอาใส่กระเป๋าเสื้อไว้ มืออีกข้างที่ไม่ได้ใส่เอาไว้กดลิฟต์ และเปิดประตู หากเคลื่อนย้ายไปไกลเกิน 10 ก้าว ต้องมีภาชนะรองรับ เช่น ถังหิ้ว รถเข็นที่ใช้เคลื่อนย้ายสารประเภทกรดและตัวทำละลาย ต้องใช้ยางที่ทนต่อการกัดกร่อนหรือละลาย ต้องมีแนวกันที่สูงเพื่อกันขวดสารเคมี มี second container รองรับแต่ละชั้น หากมี 3 ชั้น ชั้นล่างสุดจัดให้มี spill kit ด้วย การเคลื่อนย้ายสารเคมีต้องมีภาชนะรองรับขวดบรรจุสาร การเคลื่อนย้ายสารเคมีประเภทของเหลวไวไฟต้องใช้ภาชนะที่ทนต่อแรงดันได้ การขนส่ง Liquid nitrogen ไม่ควรใช้ลิฟต์

 

แนวทางที่หน่วยงานจะดำเนินการได้

  • จัดให้มีห้องปฏิบัติการตัวอย่างเพื่อเป็นแนวทางสำหรับห้องปฏิบัติการอื่นในด้านการจัดการสารเคมี
  • แยกกลุ่มของสารเคมีเป็น 14 หมวด
  • ให้มีการจัดการและจัดเก็บสารเคมีที่ถูกต้องตามความเป็นอันตรายของสารเคมีเป็นหลัก และความเข้ากันได้และไม่ได้ของสารเคมีต่างๆ ที่จัดเก็บ ในทุกห้องปฏิบัติการ
  • มีรายการสารเคมีในตู้แจ้งที่หน้าตู้ และการแยกเก็บสารที่ไม่ควรจัดเก็บไว้ในที่เดียวกัน ห้ามเก็บไว้ใกล้กัน
  • จัดทำ Lab Safety corner
  • มีการเก็บ SDS เป็นเอกสาร ใส่แฟ้มสีที่มองเห็นชัดเจน
  • มีการเก็บ SDS เป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเก็บไว้ใน drive หรือใน cloud
  • ห้ามเก็บสารเคมีไว้ในตู้ดูดควันอย่างถาวร
  • การเก็บสารเคมีที่เป็นของเหลวในตู้เย็นและคู้แช่แข็งขวดสารต้องมีภาชนะรองรับ

 

ตัวอย่าง

เกณฑ์ที่ 2 : Chemical Segregation (Hazard class) ของ Lawrence Berkeley National Laboratory (Berkeley Lab), U.S. Department of Energy

ที่มา Chemical segregation (Hazard class,) Lawrence Berkeley National Laboratory (Berkeley Lab), U.S. Department of Energy [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.lbl.gov/ehs/chsp/html/storage.shtml สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2555

 

Acids, 
inorganic

Acids, 
oxidizing

Acids, 
organic

Alkalis 
(bases)

Oxidizers

Poisons, 
inorganic

Poisons, 
organic

Water- 
reactives

Organic 
solvents

Acids, inorganic

 

 

 x  x

 

 x  x  x  x

Acids, oxidizing

 

 

 x  x

 

 x  x  x  x

Acids, organic

 x  x

 

 x  x  x  x  x

 

Alkalis (bases)

 x  x  x

 

 

 

 x  x  x

Oxidizers

 

 

 x

 

 

 

 x  x  x

Poisons, inorganic

 x  x  x

 

 

 

 x  x  x

Poisons, organic

 x  x  x  x  x  x

 

 

 

Water-reactives

 x  x  x  x  x  x

 

 

 

Organic solvents

 x  x

 

 x  x  x

 

 

 

หมายเหตุ  x = เข้ากันไม่ได้

 

Acids, inorganic เช่น Acetic acid

Acids, organic เช่น Hydrochloric acid

 

ตัวอย่าง ห้ามเก็บไว้ใกล้กัน

          Potassium permanganate      กับ glycerine

          Potassium permanganate      กับ sulfuric acid

          sulfuric acid                         กับ potassium chlotate

 

องค์ประกอบที่ 3 ระบบการจัดการของเสียสารเคมี

ระบบการจัดการของเสียสารเคมี ประกอบด้วย 1. การจัดการข้อมูลของเสีย มีระบบบันทึกข้อมูลของเสีย  การรายงานข้อมูล และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลของเสียเพื่อการบริหารจัดการ 2. การเก็บของเสีย ตามเกณฑ์ของระบบมาตรฐานสากล ต้องจำแนกประเภทของเสียแล้วจึงเก็บของเสีย 3. การลดการเกิดของเสีย 4. การบำบัดและกำจัดของเสีย

  1. การจัดการของเสียสารเคมี
    • การจัดการข้อมูลของเสีย

ระบบบันทึกข้อมูล หมายถึง ระบบบันทึกข้อมูลของเสียสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ/หน่วยงาน/องค์กร เพื่อใช้ในการบันทึกและติดตามความเคลื่อนไหวของเสียสารเคมีทั้งหมด ระบบรายงานข้อมูลของเสีย และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ

  • การเก็บของเสีย

เหมือนการจำแนกของดีตามระบบ ESPReL

  • การกำจัดของเสีย

การบำบัดของเสียก่อนทิ้ง การบำบัดของเสียก่อนส่งกำจัด และการส่งกำจัด

  • การลดการเกิดของเสีย

Reduce คือ การลดการใช้สารตั้งต้น ลดปริมาณการซื้อสารที่ไม่จำเป็น สารที่หมดอายุไว สารที่เป็นพิษสูง ลดปริมาณการใช้สารเคมีลง เช่น การทำ small scale แต่ยังคง ชั่ง ตวง วัด ด้วยเครื่องมือแม่นยำ อาทิ การใช้ micropipette แทนปิเปตแก้ว การลดปริมาณก่อนทิ้ง เช่น การระเหยน้ำหรือ solvent ออกในช่วงฤดูร้อน, ระเหย EtBr gels

Replace คือ การใช้สารทดแทน เปลี่ยนการใช้สารเคมีในกระบวนวิธีทดลอง จากสารที่เป็นพิษ เป็นสารที่เป็นมิตรต่อคนและสิ่งแวดล้อม, เปลี่ยนวิถีกระบวนการทดลองที่ก่อให้เกิดสารพิษ เป็นกระบวนการใหม่ที่ไม่ผ่านวิธีเดิม พยายามหลีกเลี่ยง metals: barium, arsenic, cadmium, chromium, lead, mercury, selenium และ silver เพราะสารละลายของ metals เหล่านี้ถือว่าเป็นพิษอย่างมาก, พยายามหลีกเลี่ยง solvents: chloroform, cresol, pyridine, trichloroethylene, trichlorophenol และ vinyl chloride ด้วยเหตุผลเดียวกันกับข้างต้นหากเป็นไปได้ พยายามใช้ EtOH แทน MeOH (หมายเหตุ: ถ้า [EtOH] < 24% w/w in H2O จะไม่ถือว่าเป็นสารลุกติดไฟได้)

Reuse คือ การนำวัสดุที่เป็นของเสียกลับมาใช้ใหม่โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือกระทำการใดๆ ยกเว้นทำความสะอาดและการบำรุงรักษาตามวัตถุประสงค์เดิม การ Reuse เช่น นำขวดแก้วมาล้างใช้ใหม่, ใช้ solvent ต่างๆ เพื่อล้างของ, เก็บสารบางประเภท หรือสารเก่าเกือบหมดอายุเพื่อทำเป็น Spill Kits, ใช้สารเก่าในการ neutralize กรด-เบส ฯลฯ

Recovery คือ การแยกและการรวบรวมวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ได้จากวัสดุของเสียที่ทิ้ง เช่น พวกแร่ธาตุ พลังงาน น้ำ นำมาใช้ได้อีกโดยผ่านกระบวนการและการสกัด ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ตามวัตถุประสงค์เดิม

Recycling คือ การนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่โดยที่มีสมบัติทางกายภาพเปลี่ยนไป โดยจะมีองค์ประกอบทางเคมีเดียวกันหลังจากผ่านกระบวนการต่าง ๆ (เช่น แก้ว, โลหะมาหลอมใหม่)

 

การจัดการของเสียสารเคมีจากห้องปฏิบัติการ ได้แก่ จำแนกประเภท --> รวบรวมและจัดเก็บ --> บำบัด (4R) --> ส่งกำจัดที่เหลือ

การรวบรวมและจัดเก็บของเสีย

  1. จำแนกของเสียให้ถูกตามเกณฑ์ จัดเก็บในภาชนะที่เหมาะสม
  2. ตรวจสอบสภาพภาชนะบรรจุของอย่างสม่ำเสมอ
  3. ภาชนะทุกชนิดที่บรรจุของเสียต้องมีฉลากที่ถูกต้อง
  4. ข้อความบนฉลากมีความชัดเจน ไม่จาง ไม่เลือน ควรแปะสติ๊กเกอร์ใสทับ
  5. ตรวจสอบสภาพของฉลากบนภาชนะอย่างสม่ำเสมอ
  6. ห้ามบรรจุของเสียเกินกว่า 80% ของความจุ หรือปริมาณของเสียต้องอยู่ต่ำกว่าปากภาชนะอย่างน้อย 1 นิ้ว
  7. มีการกำหนดพื้นที่ / บริเวณจัดเก็บของเสียอย่างชัดเจน
  8. จัดเก็บ/จัดวางของเสียที่เข้ากันไม่ได้โดยอิงตามเกณฑ์การเข้ากันไม่ได้ของสารเคมี
  9. มีภาชนะรองรับภาชนะบรรจุของเสียที่เหมาะสม
  10. ห้ามวางภาชนะบรรจุของเสียใกล้ท่อระบายน้ำ ใต้ หรือในอ่างน้ำ หากจำเป็น ต้องมีภาชนะรองรับ
  11. ห้ามวางภาชนะบรรจุของเสียใกล้บริเวณอุปกรณ์ฉุกเฉิน
  12. ห้ามวางภาชนะบรรจุของเสียปิดหรือขวางทางเข้า-ออก
  13. วางภาชนะบรรจุของเสียให้ห่างจากความร้อน แหล่งกำเนิดไฟ และเปลวไฟ
  14. ห้ามเก็บของเสียประเภทไวไฟมากกว่า 38 ลิตร (10 แกลลอน) หากจำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้สำหรับเก็บสารไวไฟโดยเฉพาะ
  15. ห้ามเก็บของเสียไว้ในตู้ควันอย่างถาวร ทำให้ไปกีดขวางทางลมไม่ให้ Flow บางครั้งอาจทำให้มีการ leak สารออกมา
  16. การกำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บของเสียในห้องปฏิบัติการ กรณีของเสียพร้อมส่งกำจัด (ปริมาตร 80% ของภาชนะ) ไม่ควรเก็บไว้นานกว่า 90 วัน กรณีที่ของเสียไม่เต็มภาชนะ (ปริมาตรน้อยกว่า 80% ของภาชนะ) ไม่ควรเก็บของเสียไว้นานกว่า 1 ปี

ตามกฎหมายสากลได้กำหนดไว้ว่าของเสียปริมาณไม่เกิน 200 ลิตร อนุญาตให้เก็บในห้องปฏิบัติการได้ไม่เกิน 90 วัน ถ้ามากกว่า 200 ลิตร ไม่เกิน 3 วัน หากเป็นของเสียอันตรายสูงเฉียบพลัน ไม่ควรเก็บมากกว่า 1 ลิตร

 

แนวทางที่หน่วยงานจะดำเนินการได้

  • จัดให้มีการอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการของเสีย บำบัดและลดปริมาณสารของเสีย
  • จัดให้ใช้ระบบติดตามของเสียเคมี CMUWaste Track
  • ให้มีการจัดเก็บสารของเสีย ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการในทุกห้องปฏิบัติการ
  • ให้มีการบำบัดและลดปริมาณสารของเสีย โดยอาศัยหลักการ 4R (Reduce, Reuse, Replace, Recycle)
  • ให้มีการวิเคราะห์การเกิดของเสียและปรับเปลี่ยนการใช้งานเพื่อลดปริมาณลง

 

องค์ประกอบที่ 4 ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการอุปกรณ์และเครื่องมือ ได้แก่ งานสถาปัตยกรรม งานสถาปัตยกรรมภายใน: ครุภัณฑ์/เฟอร์นิเจอร์/เครื่องมือและอุปกรณ์ งานวิศวกรรมโครงสร้าง งานวิศวกรรมไฟฟ้า

งานวิศวกรรมสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม งานวิศวกรรมระบบระบายอากาศและปรับอากาศ งานระบบฉุกเฉินและระบบติดต่อสื่อสาร

 

  • มีการแยกส่วนที่เป็นพื้นที่ห้องปฏิบัติการ (Lab) ออกจากพื้นที่อื่นๆ (Non–lab)
  • สายไฟถูกยึดอยู่กับพื้นผนังหรือเพดานไม่ควรมีสายไฟที่อยู่ในสภาพการเดินสายไม่เรียบร้อย
  • ห้ามใช้ปลั๊กพ่วงต่อเนื่องเกิน 24 ชั่วโมง ถ้าต้องใช้เกิน 24 ชั่วโมง ต้องเปลี่ยนเป็นต่อปลั๊กไฟถาวร
  • ควรใช้ปลั๊กพ่วงที่มีฟิวส์
  • ห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมีไม่เหมาะกับการใช้เครื่องปรับอากาศ

 

แนวทางที่หน่วยงานจะดำเนินการได้

  • มีการตรวจสอบและประเมินสถาปัตยกรรมภายใน อุปกรณ์เครื่องมือ และระบบวิศวกรรมสำหรับห้องปฏิบัติการทุกห้อง
  • จัดให้มีสารบบกลางในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญด้านกายภาพของทุกห้องปฏิบัติการ
  • จัดให้มีการสร้างแผนพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยด้านกายภาพ
  • จัดให้มีการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยด้านกายภาพ
  • มีระบบประสานงานสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน

 

องค์ประกอบที่ 5 ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย ได้แก่ การบริหารความเสี่ยง การเตรียมความพร้อม/ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยโดยทั่วไป

 

แนวทางที่หน่วยงานจะดำเนินการได้

  • มีการอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) ระดับหัวหน้างาน
  • จัดให้มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับต่าง ๆ ของทุกส่วนงาน
  • มีการอบรมให้ความรู้พื้นฐานด้านการตอบโต้อัคคีภัยและภาวะฉุกเฉิน
  • มีเกณฑ์และแนวทางการประเมินความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการ พร้อมวิทยากรอบรม
  • จัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) ระดับบริหาร หัวหน้างาน ปฏิบัติการ และระดับวิชาชีพครบทุกส่วนงานและทุกระดับ
  • จัดให้มีการประเมินความเสี่ยงของการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการทุกห้อง
  • ให้มีการจัดการความเสี่ยงและการสื่อสารความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการ
  • จัดให้มีแผนการและฝึกซ้อมแผนการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นทุกปี
  • สร้างข้อปฏิบัติร่วมกันเพื่อความปลอดภัย และมีข้อปฏิบัติเฉพาะหน่วยงาน/ห้องปฏิบัติการ

 

องค์ประกอบที่ 6 การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

การสร้างความปลอดภัยต้องมีการพัฒนาบุคลากรทุกระดับที่เกี่ยวข้อง  โดยให้ความรู้พื้นฐานที่เหมาะสม จำเป็น และอย่างต่อเนื่องต่อกลุ่มเป้าหมายที่มีบทบาทต่างกัน ถึงแม้องค์กร/หน่วยงานมีระบบการบริหารจัดการอย่างดี หากบุคคลในองค์กร/หน่วยงานขาดความรู้และทักษะ ขาดความตระหนัก และเพิกเฉยแล้ว จะก่อให้เกิดอันตรายและความเสียหายต่างๆ ได้ การให้ความรู้ด้วยการฝึกอบรมจะช่วยให้ทุกคนเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ หรือทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีได้อย่างปลอดภัย และลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติภัยได้

       ในการให้ความรู้พื้นฐานนั้น ควรครอบคลุมตามกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้าห้องปฏิบัติการ ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ พนักงานทำความสะอาด ตามหัวข้อความรู้ในตาราง

       “ผู้บริหาร” ในที่นี้หมายถึง หัวหน้าหน่วยงานหรือองค์กร เช่น ผู้บริหารระดับคณะที่เกี่ยวข้อง คือ คณบดี หัวหน้าภาควิชา หัวหน้าศูนย์ หัวหน้าหน่วยงาน เป็นต้น

 

ถึงแม้องค์กร/หน่วยงานมีระบบการบริหารจัดการอย่างดี หากบุคคลในองค์กร/หน่วยงานขาดความรู้และทักษะ ขาดความตระหนัก และเพิกเฉยแล้ว จะก่อให้เกิดอันตรายและความเสียหายต่างๆ ได้ การให้ความรู้ด้วยการฝึกอบรม จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ หรือทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีได้อย่างปลอดภัยและลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติภัยได้ หัวหน้าโครงการต้องได้รับความรู้ครบที่สุด ส่วนผู้บริหารต้องรู้เรื่องกฎหมาย

 

แนวทางที่หน่วยงานจะดำเนินการได้

  • ให้ความรู้พื้นฐานแก่ผู้บริหารทุกระดับในด้านการจัดการความปลอดภัยและการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย
  • ให้ความรู้พื้นฐานแก่หัวหน้าห้องปฏิบัติการนำร่องยกระดับและผู้ปฏิบัติการ ในด้านการจัดการความปลอดภัยและการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย
  • จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานทุกคน 100%
  • ให้บุคลากรอบรมหลักสูตร จป.หัวหน้างาน ชีวนิรภัย และการจัดการสารเคมีและของเสียอันตราย
  • สร้างคณะวิทยากรที่ผ่านการอบรมและรับรองจาก วช.
  • มีระบบการสอบวัดความรู้ด้านความปลอดภัยด้วยระบบออนไลน์สำหรับบางหน่วยงาน
  • สร้างหลักสูตรอบรมและสอบประเมินออนไลน์

 

องค์ประกอบที่ 7 การจัดการข้อมูลและเอกสาร ควรมีองค์ประกอบ ดังนี้

ระบบการจัดกลุ่ม หมายถึง การจัดกลุ่มของข้อมูลและเอกสารทั้งหมดที่มีในห้องปฏิบัติการ แบ่งออกเป็นกลุ่มชัดเจน ไม่ปะปนกันเพื่อให้การเข้าถึงหรือค้นหาเอกสารได้รวดเร็ว เช่น กลุ่มเอกสารข้อมูลความปลอดภัย กลุ่มเอกสารคู่มือการใช้เครื่องมือ กลุ่มเอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน เป็นต้น

          ระบบการจัดเก็บ หมายถึง วิธีในการจัดเก็บข้อมูลและเอกสาร ซึ่งอาจจะเป็นในรูปแบบเอกสาร และ/หรือ อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงการเข้าถึงข้อมูลที่ง่าย สะดวก รับรู้ร่วมกันแม้เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน หรือขณะไฟฟ้าดับด้วย เช่น มีตู้เก็บเอกสารหรือคอมพิวเตอร์ที่จัดไฟล์เป็นหมวดอย่างชัดเจน การสำรอง (back up) ข้อมูล การให้รหัสเอกสาร เป็นต้น

          ระบบการนำเข้า-ออก และติดตาม หมายถึง วิธีการนำเข้า-ออกของข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นระบบ และสามารถตรวจติดตามได้ว่า มีการนำเข้า-ออกข้อมูลหรือเอกสารในช่วงเวลาใด และใครเป็นผู้ดำเนินการเรื่องนั้น ๆ โดยข้อมูลหรือเอกสารต้องมีที่มา ที่ไป ไม่สูญหายโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น มีบันทึกหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใน การยืม-คืนเอกสาร การบันทึกแก้ไขและการปรับปรุงข้อมูล โดยลงชื่อและระบุวัน เวลา กำกับไว้ เป็นต้น

ระบบการทบทวนและปรับปรุงให้ทันสมัย (update) หมายถึง การทบทวนและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยบนพื้นฐานความคิดในเชิงพัฒนา ให้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และถูกต้องมากขึ้น เช่น มีการกำหนดผู้รับผิดชอบในการทบทวน ระบุคะแนนในการทบทวน เป็นต้น หลังการทบทวนข้อมูลหรือเอกสารไม่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงเสมอไปหากข้อมูลหรือเอกสารนั้นยังทันสมัยอยู่

 

แนวทางที่หน่วยงานจะดำเนินการได้

  • จัดให้มีระบบการเก็บข้อมูลแบบออนไลน์ สำหรับการจัดการสารเคมี (Chem Invent) และการจัดการของเสียอันตราย (Waste Track)
  • จัดให้มีห้องปฏิบัติการตัวอย่าง (ผ่านเกณฑ์ มอก.2677-2558) ความปลอดภัยห้องปฏิบัติการเคมี ที่สามารถเป็นต้นแบบการจัดการเอกสารของมหาวิทยาลัยได้
  • จัดให้ความรู้เรื่องการสร้างและจัดการเอกสารที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยโดยให้ทุกระดับของทุกส่วนงานมีครบถ้วนในทุกด้าน
  • สร้างสารบบกลางของมหาวิทยาลัยเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและติดตามเอกสารที่สำคัญ
  • สร้างสารบบที่เอื้อต่อการสร้างและพัฒนาหรือปรับเอกสารที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ที่สะดวกต่อการใช้งานและยั่งยืนต่อการดำเนินการ
  • สร้างระบบแอพลิเคชั่นและสื่อสารสนเทศที่จำเป็นต่อการดำเนินงานด้านความปลอดภัย

 

ข้อคิด: รายงานอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ดี จะได้เรียนรู้ ระมัดระวัง หาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุนั้นๆ อีก

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สรุปรายงานจากการอบรม » การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการอ่านลำดับสายยาวด้วย oxford nanopore sequencing
ทคโนโลยี nanopore เป็นเทคโนโลยีการหาลำดับ DNA และ RNA แบบสายยาวต่อเนื่อง โดยไม่ต้องใช้กระบวนการสังเคราะห์ DNA ต้นแบบ ไม่ทำต้องปฏิกิริยา PCR จึงทำให้การวิเคราะห์ลำเบสต่างๆมีความแม่นยำ รวดเร็ว และประ...
DNA sequencing, nanopore technology     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 17/4/2567 14:00:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 4:46:38   เปิดอ่าน 8  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
พัฒนาตนเอง-นงคราญ » “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร"
จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร “อุดมคติ On Tour" เรื่องหัวข้อ “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตคราฟต์เบียร์ ...
กลุ่มงานช่วยวิชาการ  การผลิตคราฟต์เบียร์  เบียร์ (ฺBeer)  พัฒนาตนเอง  อบรม  อบรมเชิงปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน นงคราญ พงศ์ตระกุล  วันที่เขียน 9/1/2567 14:47:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 15:37:54   เปิดอ่าน 660  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การประชุมวิชาการระดับชาติ » งานประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2566 เรื่อง นวัตกรรมเกษตรอาหาร และสุขภาพ
จากการได้เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติซึ่งการจัดการประชุมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 4/1/2567 14:54:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/4/2567 7:46:27   เปิดอ่าน 126  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง