การเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ECTI-CON 2019 พร้อมนำเสนอผลงาน
วันที่เขียน 17/7/2562 16:47:31     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 15:27:34
เปิดอ่าน: 3304 ครั้ง

เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 16th International Conference on Electrical Engineering/Electronics, Computer, Telecommunications and Information Technology or ECTI-CON 2019 (IEEE Conference Record) (ECTI-CON 2019) ซึ่งได้นำเสนอผลงานวิชาการจากผลงานวิจัย ที่เกิดจาการวิจัยและพัฒนาสู่การนำไปใช้ประโยชน์กับการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนตำบลโป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ด้วย www.pongyeangtravel.com และ www.facebook.com/ReviewPongyeang/

จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 16th International Conference on Electrical  Engineering/Electronics, Computer, Telecommunications and Information Technology or ECTI-CON 2019 (IEEE Conference Record) (ECTI-CON 2019) ประจำปี 2019 และเสนอผลงานวิชาการ  ในวันที่ 10 กรกฏาคม 2562 ถึงวันที่ 13 กรกฏาคม 2562 ณ โรงแรมดี วารี จอมเทียน บีช พัทยา จังหวัดชลบุรี  โดยมีเนื้อหาความรู้และหัวข้อการนำเสนอผลงานประชุมวิชาการดังนี้

ได้นำเสนอผลงานภาคบรรยายเรื่อง Implementing Information Technology and Social Media for Promoting Tourism Pongyeang Subdistrict, Chiang Mai, Thailand (First author) และอ้างอิงผลงานในECTI-CON 2019 Proceedings , 10-13 July 2019 , Pattaya Thailand  เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีเนื้อหาสำคัญคือ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานักท่องเที่ยวมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลออนไลน์สำหรับการวางแผนและการจัดการทริปของพวกเขา ชุมชนการท่องเที่ยวในท้องถิ่นมีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเหล่านี้ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและโซเชียลมีเดียสำหรับเชื่อมต่อกับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น หน่วยงานการท่องเที่ยวใช้หลายช่องทางออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชั่นโซเชียลมีเดียและจัดการเนื้อหาต่างๆ ของตนเอง สำหรับผู้ประกอบการไทยในท้องที่ วิธีนี้อาจมีราคาค่อนข้างแพงมากและใช้เวลานานสำหรับการพัฒนา ในกรณีตัวอย่างของชุมชนการท่องเที่ยวโป่งแยง เป็นตำบลที่มีชุมชนหมู่บ้าน 10 หมู่บ้านสำคัญในตำบล ตั้งอยู่ในพื้นที่ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตรของ อ.แม่ริม ทางเหนือจังหวัดเชียงใหม่ เป็นจุดพื้นที่สำคัญที่มีความหลากหลายทางด้านการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ  การท่องเที่ยวเชิงเกษตร  การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  การท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต ฯลฯ นั้น ในกลุ่มผู้ประกอบการมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านสถานที่ท่องเที่ยว  ที่พักโรงแรม ร้านค้าร้านอาหาร และรวมถึงด้านการเกษตร มีความต้องการเว็บไซต์ของชุมชนและเฟสบุ๊คโซเชียลมีเดียเพจ สำหรับผู้มีส่วนได้เสียและผู้ประกอบการเพื่อแบ่งปันและจัดการข้อมูลของพวกเขาในที่เดียวด้วยหลักการของ Web Service Center ของชุมชน โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง และกลุ่มคณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวโป่งแยงทำหน้าที่ในการบริหารจัดการหลักร่วมกัน  ในการวิจัยและพัฒนาพวกเราใช้วิธีการของ Agile methodology ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในกระบวนการทั้งหมดของการพัฒนาเว็บไซต์ผลปรากฏว่าเนื่องจากเว็บไซต์ชุมชนของเราคือ www.pongyeangtravel.com ได้เปิดตัวและมีผู้ใช้งาน 50 หน่วยงานการท่องเที่ยวที่ลงทะเบียนที่เข้ามาสร้างเนื้อหา และอัพเดจเนื้อหาให้ทันสมัย ซึ่งในช่วงไฮซีซั่นแรกเว็บไซต์ มีจำนวนหน้าที่มีการเปิดถึงห้าพันครั้ง และหน้าเฟสบุ๊คแฟนเพจรีวิวโป่งแยง ReviewPongyeang บน Facebookมีจำนวนกดถูกใจเพจประมาณเจ็ดร้อยกว่ายอดไลท์ www.facebook.com/ReviewPongyeang/ 

ทุกท่านสามารถเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์และเฟสบุ๊คแฟนเพจได้ตามลิงค์ที่ให้นี้ได้  ในอนาคตทีมนักวิจัยมีแผนในการที่จะพัฒนาและปรับปรุงฟังก์ชันการทำงานเพื่อรองรับกับความต้องการของผู้ใช้ที่มีเพิ่มมากขึ้นและรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ทันสมัย  หากท่านสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลงานวิจัย หรือระบบเว็บไซต์แอพพลิเคชัน เพื่อนำไปใช้กับชุมชนตำบลของท่าน  สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 053-873900

Acknowledgement

- The 2017 grant support from National Research Council of Thailand through Maejo University contract MJ.1-60-101.
-The Pongyeang Subdistrict Administrative Organization
-The Pongyeang tourist committees

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=972
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 119 ปี เรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Bio-Circular-Green Economy”
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาติให้ข้าพเจ้า นางอัจฉรา แกล้วกล้า ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อัจฉรา แกล้วกล้า  วันที่เขียน 31/3/2567 11:09:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 15:22:41   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง