โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การขับเคลื่อนนวัตกรรมสำหรับนักประดิษฐ์ (Innovative Driven for Inventor)”
วันที่เขียน 7/6/2561 10:37:45     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 9:27:43
เปิดอ่าน: 2078 ครั้ง

รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ "การขับเคลื่อนนวัตกรรมสำหรับนักประดิษฐ์ (Innovative Driven for Inventor)” ระหว่างวันที่ 4-5 มิถุนายน 2561 ณ ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อนำงานวิจัยมาวิเคราะห์ในมุมมองต่างๆ และค้นหาแนวคิดใหม่ๆในการผลิตผลงานนวัตกรรม รวมถึงการสร้างประโยชน์จากผลงานวิจัยให้เกิดศักยภาพสูงสุด ดำเนินงานโดยทีมวิทยาการจาก Bold Group (Thailand) ที่มีความเชียวชาญในการเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมมากว่า 15 ปี มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับ 46 อุตสาหกรรม มากกว่า 250 projects ครอบคลุมกว่า 30 ประเทศทั่วโลก

สรุปเนื้อหาจากการเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การขับเคลื่อนนวัตกรรมสำหรับนักประดิษฐ์ (Innovative Driven for Inventor)” ระหว่างวันที่ 4-5 มิถุนายน 2561 ณ ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

ปกติเวลา คนเราเวลาต้องการที่หา innovation หรือ idea ใหม่ๆ คนเรามักจะทำอะไร?

ออกไปหาอะไรใหม่? ออกไปพูดคุยกับผู้คน? หรือ อ่านหนังสือ?

แต่กว่าจะหา idea สักอันเจอ อาจจะต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน หรือไม่เจอเลยก็ได้

โชคดีที่มีคนอีกกลุ่มหนึ่งได้ศึกษาการเกิดนวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก แล้วพบว่า การเกิดนวัตกรรมมี "รูปแบบ" ที่สามารถศึกษาและถ่ายทอดได้ และเมื่อนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาอีกมากมาย

 อย่างแรกมาทำความเข้าใจถึงคำว่า "นวัตกรรม" กันก่อน

 นวัตกรรม คือ สิ่งอะไรก็ตาม อาจจะเป็น ผลิตภัณฑ์ หรือ กระบวนการ หรือ การให้บิรการ ก็ได้ ที่เป็นสิ่งที่ "ใหม่" และ "เป็นประโยชน์" ตอบโจทย์ในการแก้ปัญหา

 นั่นหมายถึงว่า นวัตกรรมต้องไม่ใช่แค่สิ่งที่สร้างขึ้นมาเท่านั้น แต่ต้องเป็นสิ่งที่สามารถนำไปใช้ได้จริงด้วย

 ดังนั้นการคิดนวัตกรรม จึงเป็นการคิดหา solution ที่ ง่ายที่สุดและใช้ต้นทุนที่ถูกที่สุด

นวัตกรรม = ประโยชน์ / ต้นทุน

อันแรก มาดูกันก่อนว่า ทำไมการคิดนวัตกรรม จึงเป็นสิ่งที่ยาก

สาม สิ่งที่ ทำให้เราคิดนวัตกรรมไม่ได้
1. คนมักจะคิดว่า "innovation =  cool and technology" คิดว่านวัตกรรมต้องเป็นสิ่งที่เจ๋งๆ และไฮเทคล้ำๆ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ (กลับไปดูนิยามของคำว่า นวัตกรรม)

2. "the more expert you are, the less innovator you become" การที่คนเรามีความเชี่ยวชาญในสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาก ก็จะทำให้เรายึดติดกับการแก้ปัญหาในแบบเดิมๆ จากประสบการณ์ที่เคยทำมา [จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ แต่จินตนาการที่ต่อยอดจากความรู้สำคัญที่สุด]

3. ในบางครั้งคนเราจะเลือกข้อมูลที่เราพิสูจน์ไม่ได้ทิ้ง เพราะคิดว่าไม่ตรงกับโจทย์ที่เราต้องการหา

 

ต่อมา เรามาดูขั้นตอนของการหานวัตกรรม
1. Existing situation: เขียนวิธีวิจัย การทำงาน การบริการ ที่มีอยู่ออกมาให้ละเอียดที่สุด

2. Sit Tools: เอาเครื่องมือต่อไปนี้มาทำการวิเคราะห์วิธีวิจัยฯ

2.1 Subtraction การตัดส่วนที่สำคัญออก

2.2 Multiplication: เอาของเดิมที่มีอยู่แล้วมาปรับ เพื่อเพิ่มความหลากหลาย

2.3 Unification: เพิ่มบทบาทหน้าที่ของสิ่งที่มีอยู่ รวมถึงการจ่ายงานใหม่ให้กับ resource ตัวเดิม โดยที่ resource ไม่รู้สึกว่าเป็นภาระงานจากเดิม (ส่วนใหญ่นำมาใช้ในเรื่อง กระบวนการ)

2.4 Division: การแบ่งส่วน, สลับ, ลับเปลี่ยนตำแหน่ง เช่น ของอะไรที่เคยมีอยู่ 1 ชิ้น ทำให้เกิดเป็นสองชิ้น หรือ การสลับตำแหน่งของกระบวนการต่างๆ (ส่วนใหญ่นำมาใช้ในเรื่อง กระบวนการ)

2.5 Relation: เชี่ยมโยงตัวแปร 2 ตัว ที่ไม่เคยเกี่ยวข้องกัน ให้มาเกี่ยวกัน

3. สมมติเหตุการณ์ว่า เมื่อใช้ tool นั้นๆ แล้วจะเป็นอย่างไร

4. วิเคราะห์ประโยชน์ของเหตุการณ์นั้นๆ

5. วิเคราะห์สิ่งที่จะต้องทำ (challenges) เพื่อที่จะทำให้เหตุการณ์นั้นๆ เป็นไปได้จริง

6. วิเคราะห์ในการนำไปใช้จริง

7. เกิดเป็นนวัตกรรม

 

การพัฒนานวัตกรรม น่าจะต้องรู้ 2 เรื่องคือ
1. รู้ว่าจะพัฒนาไปสู่อะไร

2. รู้ว่าจะต้องเก็บอะไรไว้สำหรับผู้ใช้เดิม (นวัตกรรมที่ดีต้องเป็น user-friendly: ผู้ใช้เดิมมักไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง)

 

สรุป

"นวัตกรรม คือ คือการแก้ปัญหา และ แข่งกันที่ใครใช้เงินน้อยกว่า"

"นวัตกรรมเกิดจากการลงมือทดลองทำเพื่อเรียนรู้"

"นวัตกรรมเกิดจากการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่รอบตัว"

 

การนำไปใช้ประโยชน์

จากความรู้ที่ได้รับและการได้ลงมือทำจริงจากงานวิจัยตัวอย่างในการอบรม ทำให้เข้าใจและเห็นภาพการปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ได้เรียน ที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการหานวัตกรรมใหม่ๆ ในงานวิจัยได้ง่ายขึ้น

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=800
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 1:29:15   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ
โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ ในวันที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 08.30 - 15.00 น. ณ ห้องประชุม 2 อาค...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 23/2/2567 23:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/3/2567 22:32:54   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง